รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด265
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริหารด้านภาวะความเป็นผู้นำ
งานวิจัยอ้างอิงพฤติกรรมการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา. ปริญญานพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ372.12012 ป417 พร.2
คำสำคัญรูปแบบความเป็นผู้นำ พฤติกรรมการบริหาร การบริหาร ผู้นำ ภาวะผู้นำ
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด มาตรวัด Managing Style Location Test ของ Robin Stuart-Kotze and Rick Roskin(1983)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่าโดยกำหนดตัวเลขตั้งแต่ 0-5 ห
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 132 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์Item total correlation พิสัยค่าอำนาจจำแนก= .10 ถึง .56
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยคณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน
ความเชื่อมั่นใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบาค ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .88
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวนรวมทั้งสิ้น 828 คนแบ่งเป็นผู้บริ หารดีเด่นระดับจังหวัดเฉพาะปี 2537-2540 และผู้บริหารไม่ดีเด่นจากการคัดเลือกจากผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด
เวลาในการใช้เครื่องมือขอรับแบบสอบถามคืนหลังส่งทางไปรษณีย์ 4 สัปดาห์ และทำการติดตามครั้งที่2พร้อมส่งแบบสอบถามฉบับใหม่ไปให้หลังส่งแบบ สอบถามไปแล้ว 8 สัปดาห์และหลังจากสัปดาห์ที่ 9 จะติดตามทางโทรศัพท์และออกไปติดตามด้วยตนเอง
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรภาวะผู้นำ(leadership) ในที่หมายถึง พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละคนที่ใช้ในการบริหาร หรือ จัดการงาน ของโรงเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนโดยมีผลให้ผู้บริหารโรงเรียนมีแบบของภาวะผู้นำเป็น 3 แบบคือ 1. แบบมุ่งงาน(task-oriented style) หมายถึง ผู้บริหารที่มุ่งผลสำเร็จของงานโดยไม่สนใจบุคคลปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร โรง เรียนกับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างเข้มงวดตามสายการบังคับบัญชา โดยเน้นการออกคำสั่งซึ่งมีพฤติกรรมการบริหารที่สำคัญ คือ ตำหนิ รอบรู้ ตรวจสอบ กดดัน มีเหตุผล มุ่งผล 2. แบบมุ่งความสัมพันธ์(relationship-oriented style) หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนที่ให้ความสำคัญของคนมากกว่างานมีควมเป็น กันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ค่อยเคร่งครัดกฎระเบียมากนัก โดยเน้นรับฟังปัญหาของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้คำแนะนำใช้ การบริหารแบบเปิดประตู พฤติกรรมการบริหารที่สำคัญ คือ ประนีประนอม ปรึกษา รับฟัง สนิทสนม กระตือรือร้น ฉันท์พี่น้อง 3. แบบมุ่งสถานการณ์ (situation-oriented style ) หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนที่มุ่งเน้นการประสานงานผสมผสาน เจรจาต่อรอง แก้ไขความขัดแย้ง วางแผนซึ่งพฤติกรรมการบริหารที่สำคัญ คือ เน้นรายละเอียด มีมาตรฐานสูง ประสานงาน ผสมผสาน มุ่งระเบียบแบบแผน
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ข้าพเจ้าไม่รีรอที่จะตำหนิผลการปฏิบัติงานที่ไม่ดี 2. ข้าพเจ้าพยายามหลีกเลี่ยงการโต้แย้งให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3. ข้าพเจ้าหลีกเลี่ยงการเอารัดเอาเปรียบในการทำงาน 4. ข้าพเจ้าพัฒนาตนเองให้ทันกับการพัฒนาล่าสุดในสาขาวิชาชีพของข้าพเจ้า 5. ข้าพเจ้าพยายามที่จะติดต่อกับกลุ่มที่สำคัญในโรงเรียนอยู่โดยตลอด 6. ข้าพเจ้าพอใจที่จะให้มีการแยกรายละเอียดของานอย่างเหมาะสม 7. เมื่อข้าพเจ้าเริ่มต้นทำงานอะไรลงไปแล้วข้าพเจ้าจะทำจนถึงที่สุด 8. ผู้ใต้บังคับบัญชามักจะมาหาและปรึกษาปัญหากับข้าพเจ้าอยู่เสมอ 9. ข้าพเจ้ามุ่งการประสานงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและกิจกรรม 0 1 2 3 4 5 10. เมื่อข้าพเจ้าต้องการผลงานข้าพเจ้าจะผลักดันผู้ใต้บังคับบัญชา 0 1 2 3 4 5 ภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน ข้อ 1,4,7,10 ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ ข้อ 2, 5, 8 ภาวะผู้นำแบบมุ่งสถานการณ์ ข้อ 3, 6, 9
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]