รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด264
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริหารด้านการติดสินใจ
งานวิจัยอ้างอิงพฤติกรรมการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา. ปริญญานพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ372.12012 ป417 พร.2
คำสำคัญการประเมินพฤติกรรม พฤติกรรมการบริหาร การบริหาร การตัดสินใจ
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด ไม่ได้นำเสนอแนวคิดในการสร้าง
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประเมินค่าโดยกำหนดตัวเลขตั้งแต่ 0-5 ห
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 132 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation พิสัยค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .27 ถึง .58
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยคณะกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน
ความเชื่อมั่นใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .88
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวนรวมทั้งสิ้น 828 คนเป็นผู้บริหาร ดีเด่นระดับจังหวัดเฉพาะปี 2537-2540 และผู้บริหารไม่ดีเด่นจากการคัดเลือกจากผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด
เวลาในการใช้เครื่องมือขอรับแบบสอบถามคืนภายหลังจากส่งทางไปรษณีย์ 4 สัปดาห์ และติดตามครั้งที่2 พร้อมส่งแบบสอบถามฉบับใหม่ไปให้หลังจากส่ง แบบสอบถามไปแล้ว 8 สัปดาห์และหลังสัปดาห์ที่ 9 จะติดตามทางโทรศัพท์และออกไปติดตามด้วยตนเอง
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรการตัดสินใจ ในที่นี้หมายถึง พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในการเลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและ เหมาะสม กับสถานการณ์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ของโรงเรียนโดยมีผลให้ผู้บริหารโรงเรียนมีแบบการติดสินใจ 3 แบบ คือ 1. แบบออกคำสั่ง (the command style) หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนตัดสินใจตามลำพังบนพื้นฐานของความเข้าใจสถานการณ์ ของเขาเอง หรือแสดงหาข้อมูลที่จำเป็นจากครูก่อนแล้วตัดสินใจเอง 2. แบบปรึกษาหารือ (the consoultation style) หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนแสวงหาและให้ความสนใจกับความคิดเห็นของ บุคคลอื่นทั้งรายบุคคลและกลุ่ม แต่รักษาสิทธิของการตัดสินใจขั้นสุดท้ายไว้ที่ตัวของเขาเอง 3. แบบเห็นพ้องต้องกัน (the consensus style) หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนอภิปรายปัญหากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นและให้ทุกคนร่วมกันหาทางเลือกและประเมินทางเลือกแล้วตกลงร่วมกันเป็นข้อยุติของกลุ่มและดำเนิน การตัดสินใจไปตามข้อยุติของกลุ่ม
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. เมื่อมีปัญหาสำคัญข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการด้วยตนเองจากข้อมูลที่มีอยู่ 0 1 2 3 4 5 2. เมื่อมีปัญหาสำคัญข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการโดยคำนึงถึงข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชาระดับเหนือ 0 1 2 3 4 5 3. เมื่อมีปัญหาสำคัญข้าพเจ้ายึดถือมติคณะกรรมการในการตัดสินใจสั่งการ 4. กรณีมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการโดยลำพังตนเอง 5. กรณีมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 6. กรณีมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการตามมติที่ประชุม 7. ข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการในสภาวการณ์ไม่ปกติโดยตนเอง 8. ข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการในสภาวการณ์ไม่ปกติโดยคำนึงถึงหลักการที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ 9. กรณีมีการทำผิดวินัยข้าพเจ้าตัดสินใจสั่งการโดยคำนึงถึงกฎหมายและระเบียบแบบแผน 10. กรณีมีการทำผิดวินัยข้าพเจ้าขอความคิดเห็นจากนิติกรและตัดสินใจสั่งการตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี การตัดสินใจแบบบังคับ ข้อ 1 ,4 , 7, 9 การตัดสินใจแบบปรึกษาหารือ ข้อ 2, 5, 10 การตัดสินใจแบบเห็นพ้องต้องกัน ข้อ 3, 6, 8
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]