รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด263
ชื่อเครื่องมือวัดพฤติกรรมการบริหารด้านแรงจูงใจ
งานวิจัยอ้างอิงพฤติกรรมการบริหารที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา. ปริญญานพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ : มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ372.12012ป417พร.2
คำสำคัญพฤติกรรมการบริหาร การบริหาร การสื่อสาร
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด มาตราวัด Managerial Motivation Test ของ Robin Stuart-Kotze and Rick Roskin(1983)
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่าโดยกำหนดตัวเลขตั้งแต่0-5 หมา
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 132 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์Item total correlation พิสัยค่าอำนาจจำแนก = - .02 ถึง .62
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยคณะกรรมการควบคุมคุมปริญญานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ตน
ความเชื่อมั่นใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค โดยได้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .94
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติจำนวนรวมทั้งสิ้น 828 คนแบ่งเป็น ผู้ บริหารดีเด่นระดับจัหวัดเฉพาะปี2537-2540 และผู้บริหารไม่ดีเด่นจากการคัดเลือกจากผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด
เวลาในการใช้เครื่องมือขอรับแบบสอบถามคืนหลังส่งทางไปรษณีย์ 4 สัปดาห์และติดตามครั้งที่2พร้อมทั้งส่งแบบสอบถามฉบับใหม่ไปให้ด้วยหลังจากส่ง แบบสอบถามไปแล้ว 8 สัปดาหและหลังสัปดาห์ที่9 จะติดตามทางโทรศัพท์และออกไปติดตามด้วยตนเอง
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดวัดตัวแปรแรงจูงใจ ในที่นี้หมายถึง แรงผลักดันหรือความต้องการที่ไปกระตุ้นให้ผู้บริหารโรงเรียนแสดงพฤติกรรมการบริหาร อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำไปสู่การประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียน แรงจูงใจของผู้บริหารโรงเรียนแบ่งเป็น3แบบ 1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤิทธิ์ หมายถึง ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีได้ผล เป็นเยี่ยม หรือได้ผลดีกว่าบุคคลอื่น ๆ โดยทุ่มเทความพยายามทั้งหมดที่มีอยู่จนประสบความสำเร็จ 2. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ หมายถึง ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนที่เกี่ยวกับความต้องการให้ตนเองเป็นที่ชอบพอและเป็น ที่ยอมรับจากผู้อื่น 3. แรงจูงใจใฝ่อำนาจ หมายถึง ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นเพื่อบรรลุความสำเร็จ ตามเป้าหมายของโรงเรียน
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. ข้าพเจ้าต้องการรู้สึกว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ควบคุมความสำเร็จหรือความล้มเหลวของงานอะไรก็ตามที่ทำ 0 1 2 3 4 5 2. ข้าพเจ้าพอใจกับการตัดสินใจโดยกลุ่มมากกว่าการตัดสินใจโดยบุคคล 0 1 2 3 4 5 3. ข้าพเจ้ารู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อการสร้างให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง 4. ข้าพเจ้าเชื่อว่าส่วนของงานที่น่าพึงพอใจมากที่สุดคือความรู้สึกว่าประสบผลสำเร็จ 5. ข้าพเจ้าคึดว่าส่วนที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของงานใด ๆ คือมิตรไมตรีที่เกิดขึ้นจากงานนั้นๆ 6. ข้าพเจ้าสนุกสนานกับการทำงานหนัก 7. ข้าพเจ้าต้องการทำงานแต่ละชิ้นให้ดีขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป 8. ข้าพเจ้าต้องการเป็นทีชอบพอของคนที่ข้าพเจ้าทำงานด้วย 9. ข้าพเจ้าต้องการผลที่มองเห็นไ้จากการกระทำของข้าพเจ้า 10. ข้าพเจ้าคิดว่าการบรรลุเป้าหมายบางอย่างของโรงเรียนมีความสำคัญมากกว่าการบรรลุเป้าหมายของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ข้อ 1, 4, 7, 9 แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ข้อ 2, 5, 8 แรงจูงใจใฝ่อำนาจ ข้อ 3, 6, 10
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]