รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด256
ชื่อเครื่องมือวัดรูปแบบความเป็นผู้นำของผู้บริหารสตรี
งานวิจัยอ้างอิงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารสตรีในธนาคารพาณิชย์ไทย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ: มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ331. 4816584 น.316 ป.ร.2
คำสำคัญรูปแบบผู้นำ ความเป็นผู้นำ ผู้นำ ผู้บริหาร สตรี
ที่มาของเครื่องมือวัด สร้างเอง
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด จากแนวคิดของ Manning&Haddock.1992
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ ตั้งแต่บรรยายได้ตรง
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้บริหารระดับกลางที่เป็นสตรีในธนาคารพาณิชย์ไทยที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 110 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์Item total correlation โดยค่าอำนาจจำแนกในแต่ละข้ออยู่ระหว่าง .320 ถึง .684
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวสอบ construct validity โดยการวิเคราะห์confirmatory factor analysis โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของปรเภททำงานเป็นทีม .609 ถึง.704 การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา.546ถึง.797 ประเภทการควบคุม.273ถึง.754 ประเภทจูงใจ .544ถึง .840
ความเชื่อมั่นใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคโดยได้ค่าดัชนีทั้งฉบับ = .9103
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสตรีที่เป็นผู้บริหารระดับกลางซึ่งได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนจากธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย มหานคร นครหลวงไทย ศรีนคร เอเชีย นครธน แหลมทอง
เวลาในการใช้เครื่องมือขอรับแบบสอบถามคืนภายหลังจากแจกแบบสอบถามเป็นเป็นเวลา 15 วันและทำการติดตามแบบสอบถามที่ยังไม่ได้รับคืนมาอีก เป็น 2 ระยะ ระยะละ 15 วัน รวมระยะเวลาที่ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งสิ้น 45 วัน
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดต้องการวัดตัวแปรรูปแบบความเป็นผู้นำของผู้บริหารสตรี ในที่นี้หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของผู้บริหารสตรีในการบังคับบัญชา ประสานงานเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้รูปแบบความเป็นผู้นำของผู้บริหารสตรี แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่ แบบทำงานเป็นทีม แบบใช้การคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา แบบควบคุมสั่งการ และแบบจูงใจ
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. เมื่องานมีปัญหาข้าพเจ้าช่วยแก้ปัญหาและร่วมรับผิดชอบ 2. การทำงานเป็นทีมทำให่ข้าพเจ้าสามารถพิจารณาปัญหาได้รอบคอบมากขึ้น 3. ข้าพเจ้าสามารถให้คำปรึกษาแนะนำที่ดีแก่ผู้ร่วมงานได้ 4. ข้าพเจ้าให้ความเคารพต่อการตัดสินใจของกลุ่ม 5. ข้าพเจ้ามีความจงรักภักดีต่อกลุ่มและจริงใจต่อสมาชิกกลุ่ม 6. ข้าพเจ้าเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 7. ข้าพเจ้ามีระเบียบแบบแผนในการทำงาน 8. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นข้าพเจ้าจะหาข้อมูลอย่างรอบคอบเพื่อจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด 9. ข้าพเจ้ามีแนวทางชัดเจนในการปฏิบัติงาน 10. ข้าพเจ้าทำงานตามขั้นตอนที่วางไว้ ระดับความคิดเห็น 7 6 5 4 3 2 1
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]