รายละเอียดเครื่องมือวัด
รหัสเครื่องมือวัด251
ชื่อเครื่องมือวัดความผูกพันในอาชีพ
งานวิจัยอ้างอิงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารสตรีในธนาคารพาณิชย์ไทย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. . กรุงเทพฯ: มศว.
ที่เก็บงานวิจัยหอสมุดกลาง มศว.
หมายเลขเรียกหนังสือ331. 4816584 น. 316 ป. ร. 2
คำสำคัญความผูกพัน อาชีพ
ที่มาของเครื่องมือวัด แปลและปรับปรุงมาจาก
รายละเอียดที่มาของเครื่องมือวัด แบบวัดความผูกพันในอาชีพที่พัฒนาขึ้นโดยCarson&Bedeian.1994
จุดประสงค์ในการสร้างเครื่องมือวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
รูปแบบการตรวจและการให้คะแนนRating Scale
รายละเอียดรูปแบบการตรวจและการให้คะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 7 ระดับ ตั้งแต่จริงมากที่สุ
คุณภาพของเครื่องมือวัดกลุ่มทดลองใช้เครื่องมือ เป็นผู้บริหารระดับกลางเป็นสตรีในธนาคารพาณิชย์ไทยที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 110 คน
ความยาก วิธีการและพิสัยไม่ได้ทำการวิเคราะห์
อำนาจจำแนก วิธีการ และพิสัยวิเคราะห์ Item total correlation โดยข้อคำถามแต้ละข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .382 ถึง .660
ความเที่ยงตรง วิธีการ ดัชนีทั้งฉบับตรวจสอบ content validity โดยอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญอีก 3 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน การบริหารธุรกิจ1 ท่าน
ความเชื่อมั่นหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคโดยมีค่าดัชนีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .8606
กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารสตรีที่เป็นผู้บริหารระดับกลางซึ่งได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน จากธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา ทหารไทย มหานคร นครหลวงไทย ศรีนคร เอเชีย นครธน สหธนาคร แหลมทอง
เวลาในการใช้เครื่องมือขอรับแบบสอบถามถืนภายหลังจากแจกแบบสอบถามไปเป็นเวลา 15 วันและทำการติดตามแบบสอบถามที่ยังไม่ได้รับคืนมาอีก เป็น 2 ระยะ ระยะละ 15 วัน รวมระยะเวลาที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 45 วัน
จุดประสงค์ของเครื่องมือวัดต้องการวัดตัวแปรความผูกพันในอาชีพ ความผูกพันในอาชีพ หมายถึง การยอมรับและให้ความสำคัญต่ออาชีพ การวางแผนอาชีพ ตลอดจนความตั้งใจที่จะทำงาน ในอาชีพโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเครื่องมือวัด1. งานธนาคารเป็นส่วนสำคัญที่แสดงว่าข้าพเจ้าคือใคร 2. โดยส่วนตัวแล้วงานธนาคารมีความหมายต่อข้าพเจ้ามาก 3. ข้าพเจ้าไม่ค่อยรู้สึกผูกพันต่องานธนาคารเท่าไรนัก 4. หลักการคิดของข้าพเจ้าสอดคล้องกับหลักการของธนาคาร 5. ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะกับการทำงานธนาคาร 6. ข้าพเจ้ามักจะพูดถึงความสำคัญของงานธนาคารให้คนอื่นฟังอยู่เสมอ 7. ข้าพเจ้ามีการวางแผนเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการทำงานธนาคาร 8. ข้าพเจ้ามักจะไม่ได้คิดถึงเรื่องการพัฒนาตนเองในงานธนาคาร 9. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงานธนาคารบางครั้งข้าพเจ้ารู้สึกว่าสุงเกินไป 10. คุณประโยชน์ของงานธนาคารนั้นมีมากเมื่อเทียบกับที่ข้าพเจ้าได้ลงทุนไป ระดับความคิดเห็น 7 6 5 4 3 2 1
[กลับหน้าค้นหางานวิจัย] [ กลับหน้าค้นหาเครื่องมือวัด] [ Back]