รายงานการวิจัยฉบับที่ 77 ความคิดเห็นและเจตคติของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร. มนัส บุญประกอบ ผศ. ฉันทนา ภาคบงกช งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) สำรวจความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ การใช้เวลาในการทำกิจกรรม การรับน้องและประชุมเชียร์ เจตคติต่อคณาจารย์และมหาวิทยาลัย ความคาดหวังในอนาคต และ(2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตต่อสภาพหอพัก การใช้ชีวิตในหอพัก การรับน้องและประชุมเชียร์ เจตคติต่อคณาจารย์และมหาวิทยาลัย และความคาดหวังในอนาคตโดยจำแนกตามตัวแปรเพศ ชั้นปี สาขาวิชา และภูมิลำเนา ประชากร ได้แก่นิสิตปริญญาตรีภาคปกติชั้นปีที่ 1-4 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2542 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำแนกเป็นชั้นปี 1 และ 2 ชั้นปีละ 100 คน ชั้นปีที่ 3 และ 4 ชั้นปีละ 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ในการคำนวณค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่า t-test และค่า F-test สรุปผลการวิจัย 1. ลักษณะชีวิตความเป็นอยู่และการใช้เวลาว่างทำกิจกรรมพบว่านิสิตเลือกทำกิจกรรมหลายประเภท และทำกิจกรรมมากกว่าหนึ่งอย่างมีกิจกรรมที่ทำเมื่อยามว่างจากการเรียน กิจกรรมส่วนตัวและกิจกรรมอิสระเป็นกลุ่ม ความคิดเห็นของนิสิตในภาพรวมต่อสภาพบริเวณหอพัก สภาพหอพักและการใช้บริการของหอพักอยู่ในระดับปานกลาง สภาพหอพักอยู่ในระดับดีส่วนสภาพบริเวณหอพักและการใช้บริการหอพักอยู่ในระดับปานกลาง 2. ความคิดเห็นที่มีต่อการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ ทั้งในภาพรวมและในรายละเอียดอยู่ในระดับเห็นด้วยเช่น การรับน้องและประชุมเชียร์ควรก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ การรับน้องใหม่ซึ่งทำให้น้องใหม่มีความรู้สึกที่ดีและะอบอุ่น 3. เจตคติต่อคณาจารย์และมหาวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เจตคติต่อคณาจารย์มีทั้งที่อยู่ในระดับดีและระดับปานกลาง เจตคติต่อคณาจารย์มีทั้งที่อยู่ในระดับดีและระดับปานกลาง ส่วนเจตตติต่อมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง 4. ความคาดหวังในอนาคตของนิสิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก บางด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เช่น มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตน ด้านที่คาดหวังในระดับมากเช่น มีรถบริการรับ-ส่งประจำในมหาวิทยาลัย 5. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตต่อสภาพหอพักและการใช้ชีวิตในหอพัก การรับน้องและประชุมเชียร์ เจตคติต่อคณาจารย์และมหาวิทยาลัย ตลอดจนความหวังในอนาคตของนิสิตโดยจำแนกตามเพศ ชั้นปี สาขาวิชา และภูมิลำเนาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชั้นปี พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ต่อทุกประเด็น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสาขาวิชา พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เฉพาะความคิดเห็นต่อสภาพหอพักและการใช้ชีวิตในหอพัก และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะเจตคติต่อคณาจารย์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูมิลำเนา พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำ0คัญที่ระดับ .05 เฉพาะความคาดหวังในอนาคตของนิสิต | SWU | | BSRI |