รายงานการวิจัยฉบับที่ 75 รูปแบบการแสดงความรักของมารดาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพัฒนาการ ทางอารมณ์สังคมของเด็ก ผศ. ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร อ. ทัศนา ทองภักดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงความรักของมารดาที่มีภูมิหลังทางครอบครัวต่างกันและเปรียบเทียบบุคลิกภาพเก็บตัว- แสดงตัว ความเป็นผู้นำ การปรับตัวสุขภาพจิต ซึ่งประกอบด้วย ความซึมเศร้า ความวิตกกังวง และความก้าวร้าว ระหว่างนักเรียนที่ได้รับรูปแบบการแสดงความรักจากมารดาต่างกัน 4 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 221 คน ซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนหญิง จำนวน 113 คน นักเรียนชาย จำนวน 108 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 240 คน แบ่งเป็นนักเรียนหญิงจำนวน 10 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2539 เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งแบ่งเนื้อหาในการถามเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับลักษณะและภูมิหลังทางครอบครัวของนักเรียน ตอนที่ 2 แบบสอบถามการแสดงความรักของมารดา และตอนที่ 3 แบบสอบถามความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองในด้านบุคลิกภาพ เก็บตัว-แสดงตัว ความเป็นผู้นำ สุขภาพจิต และการปรับตัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา คือ X SD และสถิติในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ว่ามารดาของตนมีการแสดงความรักโดยการให้วัตถุสิ่งของ ซึ่งเป็นการแสดงความรักด้านวัตถุมากกว่าทางด้านจิตใจ คือ การใช้กิริยาท่าท่าง หรือคำพูด ซึ่งเมื่อมีการจัดรูปแบบการแสดงความรักของมารดาตามการแสดงออกด้วยการให้วัตถุ หรือจิตใจ พบว่า จัดได้ 4 รูปแบบคือรูปแบบที่ 1 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ในระดับน้อย รูปแบบที่ 2 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักด้านวัตถุระดับน้อย แต่ด้านจิตใจในระดับมาก รูปแบบที่ 3 คือแบบที่มารดาแสดงความรักด้านวัตถุระดับมาก แต่ด้านจิตใจระดับน้อย และรูปแบบที่ 4 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจในระดับมาก ซึ่งผลพบว่าจำนวนมารดาที่ใช้รูปแบบการแสดงความรักแบบที่ 4 มีมากใกล้เคียงกับการใช้รูปแบบที่ 1 ทั้งในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มรวม และกลุ่มย่อย แยกตามลักษณะและภูมิหลังทางครอบครัวของนักเรียน ยกเว้นในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พบว่าจำนวนมารดาที่ใช้รูปแบบการแสดงความรักแบบที่ 4 มีมากกว่าใช้รูปแบบที่ 1 2. นักเรียนในกลุ่มรวม และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับรูปแบบการแสดงความรักจากมารดารูปแบบที่ 4 และ 3 จะมีบุคลิกภาพแสดงตัว ความเป็นผู้นำ สุขภาพจิต โดยรวมและแยกด้านย่อย คือ ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความก้าวร้าวมากกว่านักเรียนที่ได้รับรูปแบบการแสดงความรักจากมารดารูปแบบที่ 1 และ 2 แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านการปรับตัว ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ไม่พบความแตกต่างด้านบุคลิกภาพเก็บตัว - แสดงตัว เพิ่มอีก 1 ด้าน | SWU | | BSRI |