รายงานการวิจัย ฉบับที่ 74 การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทย ประทีป จินงี่ ดุษฎี โยเหลา อุษา ศรีจินดารัตน์ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปความก้าวหน้าและพัฒนาการของการ วิจัยในเรื่องการทำงานและค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานโดยคำนวณและรวมค่าขนาด อิทธิพลตามวิธีการของการวิเคราะห์เมต้า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับ เรื่องการทำงานที่ทำการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2530 - 2538 จำนวน 222 เรื่อง ซึ่งรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบเก็บข้อมูลงานวิจัยที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น การสังเคราะห์งานวิจัยทำใน 2 ลักษณะ คือ 1. สังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเป็นร้อยละ 2. สังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิเคราะห์เมต้า แบบ Vote Counting ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรตามที่เกี่ยวกับการทำงาน มีการศึกษากันใน 3 ลักษณะ คือ การ ปฏิบัติงานพฤติกรรมการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงาน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ (ร้อยละ 81.47) และเอกชน (ร้อยละ 18.53) 3. แนวทางที่ผู้วิจัยใช้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานมีอยู่ด้วยกัน 5 แนวทาง คือ 3.1 การศึกษาปัญหาและระดับของการทำงาน (ร้อยละ 54.06) 3.2 การเปรียบเทียบการทำงานตามตัวแปรต่าง ๆ (ร้อยละ 22.52) 3.3 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับตัวแปรอื่น ๆ (ร้อยละ 3.60) 3.4 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงาน (ร้อยละ 18.02) 3.5 การพัฒนาการทำงาน (ร้อยละ 1.80) 4. ข้อมูลสำคัญ ๆ เกี่ยวกับการทำงานในประเทศไทยที่ได้จากการสังเคราะห์ งานวิจัยมีดังนี้ 4.1 การศึกษาปัญหาการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลางโดยมีปัญหาที่สำคัญ ๆ คือ การขาดความรู้ความสามารถในการทำงาน (ร้อยละ 23.91) ขาดแคลนบุคลากร (ร้อยละ 19.56) ขาดการประสานงานที่ดี (ร้อยละ 17.39) บุคลากรไม่เอาใจใส่ในการทำงาน (ร้อยละ 13.04) ขาดความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 10.87)ขาดการติดตามประเมินผลการทำงาน (ร้อยละ 10.87) ขาดความเข้าใจบทบาทหน้าที่ (ร้อยละ 8.69) ขาดการประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 8.69) และปัญหาอื่น ๆ 4.2 การศึกษาระดับการทำงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่ มีการทำงานอยู่ในระดับสูง 4.3 การศึกษาเปรียบเทียบปัญหาการทำงาน พบว่า ผู้วิจัยส่วนใหญ่ทำ การเปรียบเทียบการทำงานกับตัวแปร สถานภาพของผู้ตอบที่มีตำแหน่งต่างกัน ระดับ การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน อายุ สถานภาพสมรส เพศ เงินเดือน ฯลฯ และตัวแปรสำคัญที่ทำการศึกษาแล้วมักจะพบผลการวิจัยที่แตกต่างกัน ได้แก่ สถานภาพของผู้ตอบ 4.4 การเปรียบเทียบระดับการทำงาน พบว่า ผู้วิจัยส่วนใหญ่ทำการ เปรียบเทียบระดับการทำงานกับตัวแปร สถานภาพการทำงาน ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ในการทำงาน อายุ เพศ การได้รับการฝึกอบรม ฯลฯ และตัวแปรที่ศึกษานี้เมื่อนำมา เปรียบเทียบแล้วส่วนใหญ่จะพบผลไม่แตกต่างกัน 4.5 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับตัวแปรอื่น ๆ พบว่า มีการ ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับการทำงานโดยจำแนกตัวแปรต้นออกเป็นตัวแปร ภายนอกบุคคล ตัวแปรภายในบุคคล และตัวแปรชีวสังคม ซึ่งผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า - ตัวแปรภายนอกบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ พฤติกรรมผู้นำ สัมพันธภาพในกลุ่มทำงาน ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน การได้รับการสนับสนุน ระยะเวลาการทำงาน จำนวนบุคลากร ความร่วมมือของผู้ร่วมงาน การติดต่อประสานงาน ที่พักอาศัย บุคลิกภาพของผู้ร่วมงานและสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพ - ตัวแปรภายในบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับ งาน ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ทัศนคติต่องาน คุณธรรม - ตัวแปรชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการทำงาน ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ทำงาน ตำแหน่ง ระยะเลาการดำรงตำแหน่ง ระดับการศึกษา 4.6 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงาน พบว่า ปัจจัยที่นำมาศึกษานั้นได้ มีการจำแนกปัจจัยออกเป็นปัจจัยภายในบุคคล ปัจจัยภายนอกบุคคล และปัจจัยชีวสังคม ซึ่งผลการวิจัยที่พบปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหา พบผลดังนี้ ตัวแปรปัจจัยภายในบุคคล ที่นำมาศึกษาและพบผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เจตคติต่องาน ความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ แรงจูงใจในการทำงาน ความเชื่ออำนาจในตน ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ บุคลิกภาพ ลักษณะทางพุทธ ลักษณะมุ่งอนาคต ความคาดหวังผลประโยชน์ ขวัญและกำลังใจ ความมีมนุษยสัมพันธ์ ข้อจำกัดด้านความรู้ ความรับผิดชอบ การควบคุม ตนเอง ความกระตือรือร้นในงานที่ทำ เหตุผลเชิงจริยธรรม สุขภาพจิต และวัฒนธรรมองค์การ ตัวแปรปัจจัยภายนอกบุคคล ที่นำมาศึกษา และพบผลที่มีนัยสำคัญทาง สถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ภาวะผู้นำ การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับงาน พลังอำนาจ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร การได้รับการนิเทศงาน นโยบายการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วมในโครงการ โอกาสในการ แสดงความสามารถ ขอบข่ายการจัดการ บรรยากาศในการทำงาน ลักษณะของงาน ความ ร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการบริหาร การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับงาน ทรัพยากรที่มีอยู่ คุณภาพการนิเทศงาน การเข้าถึงระบบข้อมูล การมีเวลาทำงานเพียงพอ วิธีการทำงาน การให้ ความเป็นธรรม การเตรียมบุคลากร การใช้ความรู้ด้านจิตวิทยา การวัดและการประเมินผล สภาพสังคมและเศรษฐกิจ การคมนาคม สมรรถนะของหน่วยงาน ความมั่นคงในการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน ความขัดแย้งในการทำงาน โครงสร้างของทีมงาน รางวัลในการ ทำงาน ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ กฎระเบียบการทำงาน ความ ชำนาญเฉพาะอย่าง การปฏิบัติตามบทบาท การบริหารงานสนเทศ การกระจายอำนาจ ปัญหาการเมืองในพื้นที่ บุคลากรในพื้นที่และสังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่ ตัวแปรปัจจัยชีวสังคม ที่นำมาศึกษาและพบผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา เพศประสบการณ์ในการทำงาน รายได้ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตำแหน่งการงาน สถานภาพสมรส อาชีพ เงินเดือน ความสามารถพิเศษ ภาระการเลี้ยงดู ปริมาณงานที่รับผิดชอบ สถานที่ตั้งที่อยู่อาศัย 4.7 การพัฒนาการทำงาน พบว่า มีการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการ พัฒนาการทำงานของบุคคลในลักษณะที่เป็นการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงาน อย่างกว้าง ๆ เช่น การใช้วิธีการจัดฝึกอบรมทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรม มีการใช้ตัวแบบเพื่อ เสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานของบุคคล 4.8 การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประมาณค่าขนาดอิทธิพลของตัวแปร กลุ่มชีวสังคม ตัวแปรภายในบุคคล และตัวแปรภายนอกบุคคล พบว่า ตัวแปรกลุ่มชีวสังคม ที่มีงานวิจัยหลายเรื่องพบผลว่ามีความสัมพันธ์เป็นบวก กับการทำงานคือ รายได้ โดยมีขนาดอิทธิพล 0.01 ตัวแปรภายในบุคคล ที่พบว่ามีผลงานวิจัยหลายเรื่องสอดคล้องกันว่ามีความ สัมพันธ์เป็นบวกกับการทำงานคือ ความรู้ความสามารถในงานที่ทำ ความพอใจในงาน เจตคติต่องาน แรงจูงใจในการทำงาน ความรู้สึกความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ความเชื่อ อำนาจในตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยมีขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.02-0.05นอกจากนี้ ยังพบว่า ความรู้สึกต่อหน่วยงาน บุคลิกภาพและบุคลิกภาพด้านคุณธรรม และลักษณะ มุ่งอนาคต เป็นตัวแปรที่มีขนาดอิทธิพลเป็นบวกต่อการทำงาน และมีผู้นำมาศึกษาไม่มากนัก สุดท้ายพบว่า ตัวแปรภายนอกบุคคลที่มีขนาดอิทธิพลเป็นบวก คือ การสนับสนุน ทางสังคม พฤติกรรมผู้นำ ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน การติดต่อสื่อสาร สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ นโยบายและการบริหารจัดการองค์การ และบรรยากาศในการทำงาน โดยมี ขนาดอิทธิพลอยู่ระหว่าง 0.01 - 0.10