รายงานการวิจัย ฉบับที่  71                        "ผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์"                                                                       โดย                                                    สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์                                                                        และ                                  ฝ่ายกิจการนิสิต  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ                 การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 3  ประการคือ   (1)  เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงของ การจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ปีการศึกษา  2541  (2)  เพื่อศึกษาผลกระทบ ในด้านต่างๆ  ของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ที่พึงประสงค์  (3) เพื่อสำรวจ ความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะกิจกรรมการรับน้องใหม่  และประชุมเชียร์ที่ พึงประสงค์                   กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่  1  จำนวน  253  คน  ชั้นปีที่  2  จำนวน  280  ในคณะต่างๆ  ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ทั้งที่ประสานมิตรและองครักษ์  ประจำปีการศึกษา  2541  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น  4  ตอน  ได้แก่  1)  สถานภาพของผู้ตอบ  2)  สภาพกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ที่เป็น อยู่จริง  3)  ผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์  4)  รูปแบบและ ลักษณะกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ที่พึงประสงค์  สถิติที่ใช้คือ การแจกแจง ความถี่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                      ผลการวิจัยพบว่า                      1. ลักษณะการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ตามสภาพที่เป็นอยู่จริง พบว่า  นิสิตชั้นปีที่  1  ส่วนใหญ่  (กว่า  96%)  เข้าร่วมการประชุมเชียร์ของสโมสรคณะ  รองลงมาคือ  งานเฟรซี่ไนท์ ส่วนกิจกรรมที่เข้าร่วมน้อยที่สุดคือการรับน้องใหม่ที่ป้าย ประกาศผลการสอบคัดเลือก  (28 %)  ในขณะที่นิสิตชั้นปีที่  2  ส่วนใหญ่  (73  %) เข้าร่วม กิจกรรมการประชุมเชียร์ของสโมสรคณะ  และกิจกรรมที่เข้าร่วมน้อยที่สุดคือ การรับน้องใหม่ ที่ป้ายประกาศผลการสอบคัดเลือก  (41%)  เช่นเดียวกัน                     กิจกรรมที่นิสิตทั้งสองชั้นปีชอบมากเป็นอันดับหนึ่งคือ  การแข่งขันกีฬาน้องใหม่  รองลงมาคือ   งานเฟรซี่ไนท์  อันดับสุดท้ายคือ  การประชุมเชียร์ของสโมสรคณะ                     ลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ  ของนิสิตทั้งสองชั้นปี  รายงานตรงกันว่า  ส่วนใหญ่ เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองในกิจกรรมการรับน้องใหม่ของสโมสรคณะ (นิสิตชั้นปีหนึ่ง  57% และชั้นปีที่สอง  67  %)  รองลงมาคือ กิจกรรมการประชุมเชียร์ของ สโมสรคณะ (นิสิตชั้นปีหนึ่ง  47  %  และชั้นปีสอง  61  %)  เฉพาะนิสิตชั้นปีที่  1  เพียงส่วน น้อยที่เห็นว่าไปร่วมกิจกรรมเพราะถูกบังคับ  ได้แก่  การรับน้องใหม่ของสโมสรคณะ และการ ประชุมเชียร์ของสโมสรคณะ                     นิสิตทั้งสองชั้นปีส่วนใหญ่เห็นว่าช่วงเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ควรจัดอยู่ในระหว่างเวลา  16.30-19.00  น.  (82 %) ส่วนที่เหลือเห็นว่าควร จัดในช่วงเวลาอื่น                     สิ่งที่นิสิตทั้งสองชั้นปีไม่ต้องการให้เกิดขึ้นในคณะซึ่งส่วนใหญ่รายงานตรงกันว่า ไม่มีการรับน้องใหม่ด้วยการเลี้ยงสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  (93%) ไม่มีการเลี้ยงเครื่อง ดื่มมึนเมา  (77%)และไม่มีการรับน้องใหม่ภายนอกมหาวิทยาลัย  (57%)                     นิสิตทั้งสองชั้นปีส่วนใหญ่รายงานถึงกิจกรรมการรับน้องใหม่ของคณะว่ามี กิจกรรมที่สนุกสนานบันเทิง  บายศรีสู่ขวัญ  รุ่นพี่และรุ่นน้องรับประทานอาหารร่วมกัน  และกิจกรรมที่   สร้างสรรค์และบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน                     สำหรับกิจกรรมการประชุมเชียร์ในคณะนั้น นิสิตทั้งสองชั้นปีส่วนใหญ่รายงาน ตรงกันว่ามีการจัดกิจกรรมที่รุ่นพี่สอนให้น้องใหม่ร้องเพลงประจำมหาวิทยาลัย/คณะ  การฝึกกฎระเบียบที่เป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้อง และแนะนำเกี่ยวกับการเรียน  นิสิตทั้งสองชั้น ปีส่วนน้อยรายงานว่า  มีการว้ากด้วยวาจาที่ไม่สุภาพและข่มขู่  และฝึกกฎระเบียบที่ไม่เป็น ประโยชน์                      กรณีรุ่นพี่กระทำด้วยความรุนแรงและลืมตัวบ้างเป็น บางครั้ง  นิสิตชั้นปีที่  1  รายงานว่ามีการกระทำเช่นนั้นอยู่  (51%)  เช่นเดียวกับนิสิตชั้นปีที่  2 (34%)  ซึ่งรายงานตรงกัน                     2.  ผลกระทบของการจัดกิจกรรมรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ มีทั้งผลที่ดีและ ไม่ดีต่อนิสิต  ดังนี้  ทางด้านผลกระทบในทางที่ดี  พบว่า  ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ  การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม  มีความอดทนอดกลั้น มีความต้องการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกันและมีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ  ส่วนผลกระทบในทางที่ไม่ดี  พบว่า  ก่อให้เกิดการอ่อนเพลียทางร่างกาย  ผู้ปกครองเป็นห่วงและวิตกกังวล  กดดันจิตใจ และ มีผลเสียต่อการเรียน                     3.  รูปแบบและลักษณะกิจกรรมการรับน้องใหม่และการประชุมเชียร์ที่ พึงประสงค์  นิสิตทั้งสองชั้นปีส่วนใหญ่  (มากกว่า  90  %)  มีความเห็นว่ากิจกรรมการ รับน้องที่ต้องการ  ได้แก่  พิธีบายศรีสู่ขวัญ  การให้คำแนะนำและช่วยเหลือน้องใหม่ กิจกรรม สร้างสรรค์และบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน  กิจกรรมที่ดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม  กิจกรรมสันทนาการและบันเทิงกำหนด  บทบาททั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องในการทำกิจกรรม ให้ชัดเจน  มีการวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง การทำบุญตักบาตร ร่วมกัน  กิจกรรมที่จัดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์  (80 %) และควรจัดกิจกรรมการ รับน้องใหม่ภายในเดือนมิถุนายน  (80%)                     ส่วนรูปแบบกิจกรรมประชุมเชียร์ที่นิสิตทั้งสองชั้นปีต้องการส่วนใหญ่  (มากกว่า  90%)  มีความต้องการตัดเรียงลำดับได้ดังนี้การแนะนำเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการ ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย  การสอนให้น้องใหม่ร้องเพลงประจำคณะ/มหาวิทยาลัย การอบรม ด้วยถ้อยคำสุภาพ  มีเหตุมีผล  มีสันทนาการและบันเทิงสลับการเชียร์  มีการวางแผนร่วมกัน  กำหนดกรอบและขอบเขตของกิจกรรม  ประกาศรูปแบบการประชุมเชียร์ที่ชัดเจน และกำหนด บทบาททั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องให้ชัดเจนในการทำกิจกรรม                     ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ  นิสิตชั้นปีที่  1  ส่วนใหญ่  (35.2%) ต้องการ ให้จัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ภายในเวลา  2  สัปดาห์  ส่วนนิสิตชั้นปีที่  2 (45 %)  ต้องการให้จัดภายใน  1  เดือน  นิสิตทั้งสองชั้นปี  (50%)   เห็นว่าแต่ละครั้งของการ ประชุมเชียร์ควรใช้เวลา  2  ชั่วโมง  และนิสิตส่วนใหญ่  (90%) เห็นว่าช่วงเวลาเย็นเหมาะสม แก่การจัดประชุมเชียร์  ประการสุดท้ายนิสิตทั้งสองชั้นปี  (58%)  เห็นว่าไม่ควรเปลี่ยนชื่องาน  "การรับน้องใหม่"  เป็น "การต้อนรับน้องใหม่"   ในขณะที่อีกส่วนหนึ่ง  (38%) คิดว่าควรเปลี่ยน ชื่องานดังกล่าว | SWU |   | BSRI |