รายงานการวิจัย  ฉบับที่  70                                           การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจภายใน                                                       ผศ.ดร.อรพินทร์  ชูขม                                                      รศ.อัจฉรา  สุขารมณ์                                                      ดร.  วิลาสลักษณ์  ชัววัลลี                    การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจ ภายในให้มีคุณภาพเที่ยงตรงและเชื่อถือได้  วิเคราะห์องค์ประกอบของแรงจูงใจภายใน เปรียบเทียบแรงจูงใจภายในของบุคคลจำแนกตามเพศและอายุ และสร้างเกณฑ์ปกติของ แรงจูงใจภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์  จำนวน  573  คน  และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  จำนวน  685  คน  มัธยมศึกษาปีที่  3  จำนวน  438  คน  และมัธยมศึกษาตอนปลาย  ( ม. 5และ  ม.  6)  จำนวน  510  คน  จากโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา  2540 -2541  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาหลักประกอบด้วย  แบบวัดแรงจูงใจภายในฉบับนักเรียน และฉบับ ผู้ใหญ่ที่มีเนื้อหาแบบเดียวกัน แต่มีบริบทบางอย่างที่ต่างกันที่สร้างและพัฒนาขึ้นมาใช้ในการ วิจัยครั้งนี้  มีจำนวน  45  ข้อ  เป็นมาตราส่วนประเมินค่า  5  ระดับ  คือ ระดับ  1-5 โดย 1  คือ  ไม่จริง  สำหรับผู้ตอบ  จนถึง  5  คือ  จริงสำหรับ ผู้ตอบ  นอกจากนี้การวิจัยครั้งนี้ยัง ใช้การวัดแบบอื่นๆ ที่มีลักษณะโครงสร้างที่คล้ายคลึงและแตกต่างจากแบบวัดแรงจูงใจ ภายในประกอบเพื่อใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดแรงจูงใจ ภายใน  โดยการวัดเหล่านี้มีคุณภาพยอมรับได้ทั้งความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ ทำการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและแบบวัดต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม  SPSS  ในการคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน  วิเคราะห์ความเชื่อมั่น การทดสอบ ค่าทีความสัมพันธ์  การวิเคราะห์องค์ประกอบ  และการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุตัวแปร  และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  AMOS  เพื่อการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน                    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้                     1. แบบวัดแรงจูงใจภายในสามารถจำแนกคนที่ได้คะแนนแรงจูงใจภายในสูง ออกจากคนที่ได้คะแนนแรงจูงใจภายในต่ำได้  แบบวัดแรงจูงใจภายในรายข้อ มีอำนาจ จำแนกที่พอเพียงจนถึงอำนาจจำแนกสูง  นอกจากนี้ยังพบว่า แรงจูงใจภายในวัดในโครงสร้าง เดียวกัน                     2.  แบบวัดแรงจูงใจภายในควรประกอบด้วยองค์ประกอบ  5    องค์ประกอบ ได้แก่  แรง   จูงใจภายในด้านความต้องการสิ่งที่ท้าทาย  ด้านความสนใจ-เพลิดเพลิน  ด้านความเป็นตัวของตัวเอง ด้านความต้องการมีความสามรถ  และด้านความมุ่งมั่น  โดยทั้ง  5 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดของแบบวัดแรงจูงใจภายในได้ร้อยละ 33.14   สำหรับกลุ่มนักเรียน และได้ร้อยละ  42.81  สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่                      3.  โมเดลการวัดแรงจูงใจภายในห้าองค์ประกอบหรือห้ามิติ  ได้แก่   แรงจูงใจ ภายในด้านความต้องการสิ่งที่ท้าทาย  ความสนใจ-เพลิดเพลิน  ความเป็นตัวของตัวเอง ความ ต้องการมีความสามารถ  และความมุ่งมั่น  มีความสอดคล้องเหมาะสมกับข้อมูลได้อย่างเพียงพอทั้งกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ใหญ่ แสดงว่าแบบวัดแรงจูงใจภายในวัดได้สอดคล้องกับ กรอบแนวคิดทฤษฎี  หรือมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง                     4.  แบบวัดแรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการวัดแรงจูงใจด้วยภาพ ความเชื่ออำนาจในตน  คุณค่าในตนเอง  ความคิดสร้างสรรค์  และบุคลิกภาพทางการคิด แสดงว่าแบบวัดแรงจูงใจภายในมีความเที่ยงตรงเชิงเอกนัย  นอกจากนี้แบบวัดแรงจูงใจ ภายในยังมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเศร้าหดหู่   และความวิตกกังวล  และพบว่า แบบวัดแรงจูงใจภายในไม่มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพเก็บตน-แสดงตน  และบุคลิกภาพ มีเหตุมีผล-รับรู้  แสดงว่าแบบวัดแรงจูงใจภายในมีความเที่ยงตรงเชิงจำแนก และแบบวัด แรงจูงใจภายในปราศจากอคติ  เนื่องจากเป็นอิสระจากการตอบตามความต้องการของสังคม                     5. ความเชื่อมั่นของแบบวัดแรงจูงใจภายในชนิดความสอดคล้องภายในโดยใช้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟามีค่าเท่ากับ  .83  สำหรับฉบับนักเรียน  และ  .93  สำหรับฉบับผู้ใหญ่ และ มีค่าความเชื่อมั่นชนิดความคงที่  ใช้วิธีการสอบซ้ำโดยทิ้งระยะเวลาห่างกัน  1  เดือน มีค่า เท่ากับ  .76  สำหรับฉบับนักเรียน  และ  .71  สำหรับฉบับผู้ใหญ่                     6.  นักเรียนที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน  มีแรงจูงใจภายในแตกต่างกัน โดยนักเรียนหญิงมีแรงจูงใจภายในรวม  แรงจูงใจภายในด้านความต้องการมีความสามารถ  และด้านความ     มุ่งมั่นสูงกว่านักเรียนชาย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.1  ผลการ วิจัยยังพบว่า  แรงจูงใจภายในของนักเรียนยังเพิ่มขึ้นตามระดับอายุหรือระดับการศึกษา ในกลุ่ม ผู้ใหญ่พบว่า  ผู้ใหญ่ตอนกลาง  (41-49 ปี)  มีแรงจูงใจภายในด้านความมุ่งมั่นสูงกว่าผู้ใหญ่ที่ อายุน้อยกว่า  (น้อยกว่า  41  ปี)                     7.  มีเกณฑ์ปกติเปอร์เซนไทล์  คะแนนมาตรฐานซี  และคะแนนที  ของแรงจูงใจ ภายในไว้ให้  จำแนกตามกลุ่มและเพศ โดยมีพิสัยของคะแนนแบบวัดแรงจูงใจภายในอยู่ในช่วง 45  ถึง  225  คะแนน  มีค่ามัธยฐานเท่ากับ  161  สำหรับกลุ่มนักเรียน  (ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานของกลุ่มนักเรียนเท่ากับ  16.03)  และมีค่ามัธยฐานเท่ากับ  176  สำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ (ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มผู้ใหญ่เท่ากับ  18.96)  คะแนนแรงจูงใจภายในโดยรวม มีการกระจายเป็นรูปโค้งปกติโดยประมาณทั้งกลุ่มนักเรียน  และกลุ่มผู้ใหญ่                       ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติและการวิจัยสรุปได้ดังนี้                     1.  แบบวัดแรงจูงใจภายในมีจำนวน  45  ข้อ  สำหรับชุดเต็ม  และ  30  ข้อ  สำหรับชุดสั้น  ที่ใช้ประเมินองค์ประกอบแรงจูงใจภายในห้าด้าน โดยทั้ง  2  ชุดนั้นมีทั้งฉบับ นักเรียนและฉบับผู้ใหญ่  ที่มีคุณสมบัติทางการวัดทางจิตคล้ายคลึงกันผู้ใช้ควรจะเลือกชุด หรือฉบับให้เหมาะสมกับการศึกษาของตนเอง                     2.  การวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาแบบวัดแรงจูงใจในลักษณะที่เป็นการ ศึกษาซ้ำ  ปรับปรุง  และตรวจสอบแบบวัดแรงจูงใจภายในต่อไป เพื่อให้มีคุณสมบัติทางการวัด ทางจิตที่ดียิ่งขึ้น  และจะเป็นแนวทางนำไปสู่เครื่องมือวัดที่ถูกต้องยิ่งขึ้น                     3.  ควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างในลักษณะที่ศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดและผลของแรงจูงใจภายในในลักษณะที่เป็นการวิจัย เชิงทดลองหรือการวิจัยเชิงสาเหตุและผลเพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องแรงจูงใจ