รายงานการวิจัย ฉบับที่ 65 การสร้างชุดฝึกอบรมพ่อแม่เพื่อการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ ฉันทนา ภาคบงกช วันเพ็ญ พิศาลพงศ์ นพวรรณ โชติบัณฑ์ ทัศนา ทองภักดี งามตา วนินทานนท์ รัชนี ลาชโรจน์ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี อรพรรณ ฟูตระกูล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือสำหรับให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง (Parent Education Handbook) ชื่อ " คู่มือการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ" กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ปกครองเด็กอายุแรกเกิดถึง 1 ขวบที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความสามารถในการอ่านเป็นอย่างดี จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ คือคู่มือพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการคู่มือการบันทึกกิจกรรม และแบบประเมิณการใช้คู่มือ วิธีดำเนินการทดลอง ขั้นแรกเชิญผู้ปกครองมาเข้าร่วมประชุมฟังการอภิปราย เพื่อแนะนำการใช้คู่มือก่อนนำคู่มือไปทดลองใช้กับลูกที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยใช้เวลาการทดลอง3 เดือน หลังจากนั้นได้เชิญผู้ปกครองมาเข้าร่วมประชุมหลังการทดลองใช้คู่มืออีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมครั้งหลังซึ่งเป็นการฟังอภิปรายประชุมกลุ่มย่อยและสัมภาษณ์ผู้ปกครองแบบเจาะลึกโดยจำแนกตามกลุ่มอายุของเด็ก เพื่อนำมาเป็นแนวทางการปรับปรุงคู่มือทั้ง 4 เล่มโดยแบ่งกลุ่มตามช่วงอายุของเด็ก ผลการวิจัย 1. ผู้ปกครองเริ่มต้นใช้คู่มือในการพัฒนาเด็กใหล้เคียงกับอายุที่กำหนด แต่มีบางรายบล่าช้ากว่าที่กำหนด ทั้งนี้ขึ้นกับอายุของเด็กเมื่อเริ่มต้นเข้าโครงการและร้อยละ 50 เป็นผู้ปกครองลูกคนแรก 2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความเห็นว่าคู่มือมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ดังนี้ 2.1 ด้านร่างกาย ผู้ปกครองเด็กวัย 4-6 เดือน 7-9 เดือน และ 10-12 เดือน มีความเห็นว่าคู่มือมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในระดัลค่อนข้างมาก ยกเว้นผู้ปกครองเด็กแรกเกิด-3เดือน ส่วนมากมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2.2 ด้านสติปัญญา ผู้ปกครองเด็กทุกกลุ่มอายุ มีความเห็นว่าคู่มือช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในระดับมาก 2.3 ด้านเขข้าใจภาษา ผู้ปกครองกลุ่มอายุเรกเกิด- 3 เดือน มีความเห็นว่าเด็กได้รับการส่งเสริมด้านความเข้าใจภาษาในระดับมากและค่อนข้างมาก 2.4 ด้านการพูด ผู้ปกครองของเด็กทั้ง 4 กลุ่มอายุมีความเห็นว่าคู่มือช่วยส่งเสริมด้านการพูดอยู่ในระดับมากและค่อนข้างมาก 2.5 ด้านปฏิสัมพันธ์ ผู้ปกครองของเด็กทั้ง 4 กลุ่มอายุ มีความเห็นว่าคู่มือส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด้กอยู่ในระดับมากและค่อนข้างมาก นอกจากผู้ปกครองเด็กอายุ 10 -12 เดือน ที่มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ส่วนผู้ปกครองเด็กในกลุ่มอายุ 4-6 เดือน มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลางและค่อนข้างน้อยจำนวนเท่ากัน ผู้ปกครองเด็กอายุ 7-9 เดือน มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองเด็กกลุ่มอายุ 10-12 เดือกมีความเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างมากและมากที่สุด 3. ความสนใจในการทำกิจกรรม ผู้ปกครองรายงานว่าไม่มีเด็กกลุ่มใดสามารถทำกิจกรรมได้ทั้งหมดในครั้งแรกแต่มักทำได้บางส่วนในครั้งแรก ยกเว้นเด็กกลุ่มอายุ 7-9 เดือน ทำซ้ำ 1-2 ครั้งหรือมากกว่า และพบว่าเด็กอายุ 7-9 เดือกสนใจกิจกรรมในคู่มือในระดับค่อนข้างมากถึงร้อยละ 100 นอกจากนั้นมีความเห็นว่าเด็กสนใจกิจกรรมในระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก โดยสรุป ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ของคู่มือในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ อยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงระดับมาก เด็กให้ความสนใจในกิจกรรมที่ผู้ปกครองทำร่วมกันกับเด็กค่อนข้างมา จากกระบวนการศึกษาเพื่อการพัฒนาคู่มือเด็กอย่างมีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการประมวล บันทึกการทดลองใช้คู่มือของพ่อแม่ผู้ปกครอง ประกอบกับข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย ช่วยให้ได้แนวทางในการแก้ไขปรับปรุงคู่มือแต่ละตอน ให้มีความเหมาเสม คู่มือจึงได้รับการปรับปรุงให้มีสาระที่ชัดเจนและกระชับมากขึ้น มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน มีภาพประกอบที่ชัดเจนขึ้น จึงเหมาะสมและสามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในวงกว้างต่อไป | SWU | | BSRI |