รายงานการวิจัย ฉบับที่ 64 การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินในทางการศึกษา-อาชีพ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผศ.ดร. อรพินทร์ ชูชม รศ.อัจฉรา สุขารมณ์ อ. ทัศนา ทองภักดี การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่ออธิบายการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพจากปัจจัย ภูมิหลัง ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสภาพแวดล้อม และเปรียบเทียบอำนาจในการอธิบายการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ตลอดจนวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการศึกษา-ของนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาได้แก่นักเรียนนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1167 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและแบบวัดต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปแกรม SPSS/PC ในกาคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณชนิดเป็นกลุ่มตามลำดับชั้น และใช้โปรแกรม AMOS เพื่อ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่รายงานว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ในการสอบเทียบชั้น ม.6 จำนวนร้อยละ 52.1 และส่วนใหญ่สอบเทียบผ่านชั้น ม.6 จำนวนร้อยละ 70 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่รายงานว่าจะ ขอคำปรึกษาหรือแนะนำจากบิดามารดาในการเลือกการศึกษา-อาชีพ จำนวนร้อยละ 43 จากครูอาจารย์ ร้อยละ 13 จากญาติพี่น้องร้อยละ 7 และจากเพื่อนร้อยละ 6 นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.4 คำนึงถึง ความรู้ความสามารถความสนใจ และความต้องการของตนเองเป็นอันดับแรก ในการตัดสินใจเลือกการศึกษา-อาชีพ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ จำนวนร้อยละ 51 ยังมีความไม่แน่ใจในการตัดสอนใจเลือกสาขาที่ศึกษาต่อ และจำนวนร้อยละ 66 ยังไม่แน่ใจในการตัดสินใจเลือกอาชีพ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 9 รายงานว่าจะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 48 รายงานว่า วางแผนที่จะทำงานในหน่วยงานเอกชน 2. ปัจจัยภูมิหลัง ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมสามารถร่วมกันอธิบายการตัดสินใจทางการ ศึกษา-อาชีพของนักเรียนชายได้ร้อยละ 37 และนักเรียนหญิง ได้ร้อยละ 34 โดยที่ปัจจัยส่วนบุคคลสามารถอธิบายการตัดสินใจ ทางการศึกษา-อาชีพได้มากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยภูมิหลัง และปัจจัยสภาพแวดล้อม อธิบายการตัดสินใจทางการ ศึกษา-อาชีพได้น้อยที่สุด 3. รูปแบบการวิเคราะห์การตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพที่เสนอไว้นั้นสอดคล้องกับข้อมูลโดยพบว่าการตัดสินใจ ทางการศึกาษา-อาชีพของนักเรียน เป็นผลมาจาก พื้นความรู้เดิม ความเป็นตัวของตัวเอง ความสามารถในการแก้ปัญหา การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนจากเพื่อนโดยตัวแปรเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจทางการ ศึกษา-อาชีพของนักเรียนชาย โดยรูปแบบการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพของนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงมี ความคล้ายคลึงกัน นอกจากพื้นความรู้เดิมเพียงตัวแปรเดียวที่ไม่มีอิทธิพลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการตัดสินใจทาง การศึกษา-อาชีพของนักเรียนหญิง จากการวิเคราะห์รูปแบบที่เสนอไว้นั้นการรับรู้ความสามารถของตนเอง (เป็นตัวแปร หนึ่งจากปัจจัยส่วนบุคคล) มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพของนักเรียนชายแะนักเรียนหญิง จากการเปรียบเทียบองค์ประกอบย่อย 3 ด้านของการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพเอกลักษณ์ของตนเอง การรู้ข้อมูลทางการศึกษา-อาชีพ ความพร้อมในการตัดสินใจ พบว่า รูปแบบที่เสนอในกลุ่มนักเรียนชายสามารถอธิบายความ แปรปรวนของการรู้ข้อมูลทางการศึกษา-อาชีพได้มากกว่าเอกลักษณ์ของตนเอง และความพร้อมการตัดสินใจ และรูปแบบที่เสนอในกลุ่มนักเรียนหญิงสามารถอธิบายความแปรปรวนความพร้อมในการตัดสินใจได้มากกว่า เอกลักษณ์ของตนเองและการรู้ข้อมูลทางการศึกษา-อาชีพ ข้อมเสนอแนะในทางปฏิบัติและการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ข้อค้นพบที่ได้อาจใช้เป็นแนวทางให้ครู-อาจารย์ และนักแนะแนวให้บริการการแนะแนวทางการศึกษา-อาชีพ ที่เหมาะสม นอกจากนี้แบบวัดการตัดสินใจทางอาชีพยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยนักเรียนที่มีปัญหาในการ ตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพ แบบวัดนี้อาจใช้จำแนกนักเรียนที่มีปัญหาด้านเอกลักษณ์ ออกจากนักเรียนที่มีปัญหาด้านการขาดข้อมูลทางการศึกษา-อาชีพหรือนักเรียนที่ขาดความพร้อมในการตัดสินใจ 2. ถึงแม้ว่างานวิจัยนี้ไม่พบว่าการสนับสนุนจากครูอาจารย์มีอิทธิพลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการตัดสินใจทาง การศึกษา-อาชีพ แต่ครูอาจารย์อาจต้องเพิ่มบทบาทของตนเองให้มากกว่านี้ในการช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องพัฒนาการทาง อาชีพเพื่อให้เห็นความสำคัญ 3. ในงานวิจัยนี้ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพ และปัจจัยต่างๆ (ปัจจัยทางภูมิหลัง ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยสภาพแวดล้อม) ได้ทำการสำรวจในเวลาเดี่ยวกัน ดังนั้นการศึกษาต่อไปควรใช้รูปแบบการวิจัย ระยะยาวหรือการวิจัยเชิงทดลองเพื่อยืนยันตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลได้อย่างมีประสิทธิผล 4. การวิจัยต่อไป อาจเพิ่มประเภทการสนับสนุนที่ต่างกันนอกเหนือจากแหล่งการสนับสนุนเนื่องจากในการศึกษา ครั้งนี้ตัวแปรที่มาจากแหล่งการสนับสนุนต่างๆ สามารถอธิยายการตัดสินใจทางการศึกษา-อาชีพได้น้อยมาก | SWU | | BSRI |