ผลของการเตือนตนเองต่อการรับรู้ความสามารถของตนที่ส่งผลต่อการเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพรายงานการวิจัยฉบับที่ 61ผู้วิจัย ประทีป จินงี่ปีที่พิมพ์ 2539การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงาน และศึกษาผลของการใช้เทคนิคการเตือนตนเองเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ช่วงแรกที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาพิมพ์ดีดไทย 1-2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2538 ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร จำนวน 230 คน และช่วงที่ 2 เป็นช่วงการศึกษาเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาซึ่งเคยเป็นกลุ่มตัวอย่างในช่วงแรก แต่มีลักษณะคือ มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงานและคะแนนประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม รวมทั้งสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการทดลองด้วย ซึ่งช่วงนี้มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน ผู้วิจัยสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน การรวบรวมข้อมูลช่วงแรกดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงาน และแบบวัดประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สำหรับช่วงที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงทดลอง โดยใช้เทคนิคการเตือนตนเองเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และ t-testผลการวิจัยพบว่า1. การรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = 0.5294)2. นักศึกษากลุ่มที่ใช้เทคนิคการเตือนตนเองมีการรับรู้ความสามารถของตนด้านการทำงานและมีประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายช่วงการทดสอบหลังการทดลองสูงกว่าช่วงการทดสอบก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. นักศึกษากลุ่มที่ใช้เทคนิคการเตือนตนเองมีการรับรู้ความสามารถของตนด้านทำงานและประสิทธิภาพการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ช่วงการทดสอบหลังการทดลองสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05