ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีวินัยรายงานการวิจัยฉบับที่ 60คณะผู้วิจัย ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, ประทีป จินงี่ ทัศนา ทองภักดี, อุษา ศรีจินดารัตน์ วันเพ็ญ พิศาลพงศ์ปีที่พิมพ์ 2539การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางจิตใจ และสภาพแวดล้อมทางสังคม กับพฤติกรรมการมีวินัยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2538 จำนวน 276 คน และ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2538 จำนวน 264 คน ซึ่งรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบวัดตัวแปรที่ศึกษา จำนวนรวม 13 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามวัดทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัย แบบสอบถามวัดการให้การสนับสนุนจากโรงเรียน แบบสอบถามวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบสอบถามวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบสอบถามวัดลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน แบบสอบถามวัดการอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาด้านพฤติกรรมการมีวินัย แบบสอบถามวัดการอบรมสั่งสอนและการเป็นแบบอย่างของครูด้านพฤติกรรมการมีวินัย แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการมีวินัย แบบสอบถามวัดการรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียน แบบสอบถามวัดการร่วมรู้สึก แบบสอบถามวัดสุขภาพจิต และแบบทดสอบวัดสติปัญญาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น สำหรับการค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายพฤติกรรมการมีวินัย และใช้สถิติค่าทีสำหรับการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีวินัยของนักเรียนที่มีลักษณะชีวสังคมต่างกันผลการวิจัยพบว่า1.ปัจจัยภายในที่เป็นลักษณะทางจิตใจของผู้กระทำและปัจจัยภายนอกที่เป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ศึกษาได้ร้อยละ 39.272. ตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายพฤติกรรมการมีวินัยเป็นลำดับแรกของทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน รองลงมาคือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัย การรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาด้านพฤติกรรมการมีวินัย และการสนับสนุนจากครูด้านสิ่งของเมื่อพิจารณาอำนาจในการทำนายของ ตัวแปรอิสระเหล่านี้ พบว่ามีค่าอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้มากกว่าร้อยละ 50 ในกลุ่มย่อยที่จำแนกตามลักษณะชีวสังคมดังนี้กลุ่มนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรอิสระเรียงตามลำดับความสำคัญคือลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน การรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียน การอบรมสั่งสอนและการเป็นแบบอย่างของครูด้านพฤติกรรมการมีวินัย และเหตุผลเชิงจริยธรรม ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้ร้อยละ 52.12 และมีสมการวิเคราะห์การถดถอยมาตรฐานดังนีู้Y = .6554X2 + .2396X20 + .1718X10 + .1259X1กลุ่มนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรอิสระเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัย ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน การรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียน และการอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาด้านพฤติกรรมการมีวินัย ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้ ร้อยละ 50.11 และมีสมการวิเคราะห์การถดถอยมาตรฐานดังนีู้Y = .6058X5 + .3659X2 + .1563X20 + .1583X9กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่บิดามารดามีระดับการศึกษาต่ำ ตัวแปรอิสระเรียงตามลำดับความสำคัญคือ ลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตน ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัย การอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาด้านพฤติกรรมการมีวินัย และการรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียน ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้ ร้อยละ 55.55 และมีสมการวิเคราะห์การถดถอยมาตรฐานดังนีู้Y = .6558X2 + .3173X5 + .1711X9 + .1637X20 + 1724X19และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่บิดาหรือมารดามีระดับการศึกษาสูง ตัวแปรอิสระเรียงตามลำดับ คือ ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน การรับรู้กฎเกณฑ์และค่านิยมของโรงเรียนและทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัยร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้ ร้อยละ 53.00 และมีสมการวิเคราะห์การถดถอยมาตรฐานดังนีู้Y =.5957X2 + .3637X20 + .2758X5สิ่งสำคัญที่พบในงานวิจัยครั้งนี้คือ ตัวแปรลักษณะทางจิตใจของผู้กระทำบางตัวและตัวแปรการรับรู้สภาพแวดล้อมทางสังคมบางตัวร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยได้มากในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำนายได้ไม่เกินร้อยละ 48.703. จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีวินัยระหว่างนักเรียนที่มีลักษณะชีวสังคมต่างกันได้ผลสรุปว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีพฤติกรรมการมีวินัยมากกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 และนักเรียนหญิงทั้งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีพฤติกรรมการมีวินัยมากกว่านักเรียนชาย