การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู ความเชื่ออำนาจภายในตน และความคิดเกี่ยวกับตน ของเด็กในเมืองและชนบทรายงานการวิจัยฉบับที่ 57ผู้วิจัย ทัศนา ทองภักดีปีที่พิมพ์ 2539การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความเชื่ออำนาจภายในตน ความคิดเกี่ยวกับตนของเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในเมืองและชนบทที่มีเพศ ภูมิหลังทางครอบครัว และปริมาณการได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบต่าง ๆ แตกต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนกับความคิดเกี่ยวกับตนของเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในเมืองและชนบทกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2531 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 150 กิโลเมตร อยู่ในเมือง 4 โรงเรียน ในชนบท 4 โรงเรียน ๆ ละ 1 ห้อง ได้กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเมือง 173 คน อยู่ในชนบท 176 คน รวมทั้งหมด 349 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของตนเองและครอบครัว แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดู แบบสอบถามความเชื่ออำนาจภายในตน และแบบสอบถามความคิดเกี่ยวกับตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทางผลการวิจัยพบว่า :1. ในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัย เพศ ภูมิหลังของครอบครัว (ระดับการศึกษาของบิดามารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว และลักษณะของครอบครัวเดี่ยว-ขยาย) และปริมาณการอบรมเลี้ยงดู 4 แบบ ที่ส่งผลต่อความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนวัยรุ่นทั้งรายด้านและรวมทุกด้าน ปรากฏผลดังนี้ คือ1.1 เมื่อพิจารณารวมทุกด้านพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนที่ส่งผลต่อความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ที่เหลือไม่พบปฏิสัมพันธ์กัน1.2 เมื่อพิจารณารายด้านพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยกับเพศที่ส่งผลต่อความเชื่ออำนาจภายในตน ด้านที่ 4 คือ ด้านความรู้สึกนึกคิดทั่วไป และพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน ที่ส่งผลต่อความเชื่ออำนาจภายในตนของนักเรียน ด้านที่ 1 คือ ด้านการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบปฏิสัมพันธ์กัน2. ในการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัย เพศ ภูมิหลังของครอบครัว (ระดับการศึกษาของบิดามารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ลักษณะของครอบครัวเดี่ยว-ขยาย) และปริมาณการอบรมเลี้ยงดู 4 แบบ ที่ส่งผลต่อความคิดเกี่ยวกับตนของนักเรียนวัยรุ่น ทั้งรายด้านและรวมทุกด้าน ปรากฏผลดังนี้ คือ2.1 เมื่อพิจารณารวมทุกด้านพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยกับระดับการศึกษาของบิดา และเขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ที่ส่งผลต่อความคิดเกี่ยวกับตนรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052.2 เมื่อพิจารณารายด้านพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเขตที่อยู่อาศัยกับระดับการศึกษาของบิดา เขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล เขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกายหรือทางจิต และเขตที่อยู่อาศัยกับปริมาณการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม ที่ส่งผลต่อความคิดเกี่ยวกับตนด้านที่ 3 ด้าน Potency อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบปฏิสัมพันธ์กัน3. ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนกับความคิดเกี่ยวกับตนของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบททั้งรายด้านและรวมทุกด้าน3.1 เมื่อพิจารณารวมทุกด้านพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนรวมทุกด้านกับความคิดเกี่ยวกับตน ด้านที่ 1 ด้าน Evaluation ด้านที่ 2 ด้าน Activity ด้านที่ 3 ด้าน Potency และรวมทุกด้านของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านที่ 4 ด้าน Interpersonal Quality ที่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในชนบทพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนรวมทุกด้านและความคิดเกี่ยวกับตนทั้งรายด้านและรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053.2 เมื่อพิจารณารายด้าน3.2.1 พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอนกับความคิดเกี่ยวกับตนทั้งรายด้านและรวมทุกด้านของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในชนบทพบความสัมพันธ์ทางบวกเฉพาะด้านที่ 1 ด้าน Evaluation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053.2.2 พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตน ด้านที่ 2 ด้านการทำกิจกรรมต่าง ๆ กับความคิดเกี่ยวกับตน ด้านที่ 2 ด้าน Activity ด้านที่ 3 ด้าน Potency ด้านที่ 4 ด้าน Interpersonal Quality และรวมทุกด้านของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองและชนบทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านที่ 1 ด้าน Evaluation ที่ไม่พบความสัมพันธ์3.2.3 พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนด้านที่ 3 ด้านโชคลาง กับความคิดเกี่ยวกับตนด้านที่ 3 ด้าน Potency ของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่อาศัยอยู่ในชนบทพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนด้านที่ 3 กับความคิดเกี่ยวกับตน ด้านที่ 2 ด้าน Activity ด้านที่ 3 ด้าน Potency ด้านที่ 4 ด้าน Interpersonal Quality และรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แต่ไม่พบความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ที่เหลือทั้งในเมืองและชนบท3.2.4 พบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความเชื่ออำนาจภายในตนด้านที่ 4 ด้านความรู้สึกนึกคิดทั่วไป กับความคิดเกี่ยวกับตนด้านที่ 2 ด้าน Activity ด้านที่ 3 ด้าน Potency และรวมทุกด้านของนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนในชนบทพบความสัมพันธ์ทางบวกทั้งรายด้านและรวมทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05