3 การสำรวจคุณลักษณะทางวินัยที่พึงประสงค์ในสังคมไทยรายงานการวิจัยฉบับที่ 56คณะผู้วิจัย ฉันทนา ภาคบงกช, อรพินทร์ ชูชม นพวรรณ โชติบัณฑ์, สุภาพร ธนะชานันท์ ทัศนา ทองภักดีปีที่ตีพิมพ์ 2539การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจวินัยที่พึงประสงค์ในสังคมไทย โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวินัยจาก แนวคิด หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับวินัย ตลอดจนความคิดเห็นเกี่ยวกับวินัยจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและจิตลักษณ์ที่นำไปสู่การพัฒนาความมีวินัย แหล่งข้อมูลที่ได้จากการวิจัยคือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 80 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากสาขาวิชาและอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ ศาสนา ปรัชญา สังคมศาสตร์ ทหาร ตำรวจ กฎหมาย จิตวิทยา แพทย์ ธุรกิจ การศึกษาสาขาต่าง ๆ การกีฬา สื่อมวลชนและบันเทิง โดยมีคุณสมบัติดังนี้ : เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในสังคมไทย ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับเรื่องวินัย หรือมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีดังนี้1. การเลือกกลุ่มตัวอย่างรอบแรก เป็นการเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติดังกล่าวต่อคณะกรรมการวิจัยเพื่อการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยจำแนกตามสาขาวิชาและอาชีพให้มีจำนวนใกล้เคียงกันได้ 20 สาขา ๆ ละ 4 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 80 คน2. การเลือกกลุ่มตัวอย่างรอบที่ 2 เป็นการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวินัยของคนในชาติ ที่เป็นตัวแทนของแต่ละสาขาวิชาและอาชีพซึ่งสามารถเข้าร่วมการสัมมนาแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีจำนวน 26 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวินัยของคนในชาติ และแบบสอบถามความคิดเห็นประกอบการสัมมนาผลการวิจัย1. จิตลักษณ์ที่มีผลต่อความมีวินัยคือ ความมีน้ำใจ / เมตตา/เสียสละ (Prosocial) ความอดทน/ ควบคุมตนเอง (Self-Control) และความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence)2. พฤติกรรมที่มีผลต่อความมีวินัย คือ การเคารพในสิทธิของผู้อื่น การทำตามข้อตกลงและการใช้เหตุผลองค์ประกอบเหล่านี้สอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีสากลเกี่ยวกับการสร้างเสริมวินัยในตนเอง