ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างลักษณะทางพุทธศาสนา ลักษณะทางจิตและผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของครูและพยาบาลรายงานการวิจัยฉบับที่ 53คณะผู้วิจัย ดุษฎี โยเหลา อภิญญา โพธิ์ศรีทอง ปริญญา ณ วันจันทร์ปีที่พิมพ์ 2538การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของลักษณะทางพุทธศาสนาซึ่งประกอบด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนาและวิถีชีวิตแบบพุทธในการอธิบายผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของครูและพยาบาล โดยศึกษาเปรียบเทียบกับลักษณะทางจิตที่สำคัญคือ ทัศนคติต่ออาชีพ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม สุขภาพจิต เหตุผลเชิงจริยธรรม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูผู้สอนจำนวน 400 คน และพยาบาล จำนวน 293 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์วิถี (path analysis)และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า1. คนไทยในวัยทำงานที่มีอายุประมาณ 30-40 ปี ที่ประกอบอาชีพครูและพยาบาล มีลักษณะทางพุทธศาสนา ประกอบด้วย ความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา และวิถีชีวิตแบบพุทธ อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างไปทางสูง คือมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 4.0 ถึง 4.6 จากมาตรวัด 6 ระดับ (คะแนนสูงสุด 6 คะแนน) โดยที่ครูมีลักษณะทางพุทธต่ำกว่าพยาบาลเล็กน้อย ผลงานวิจัยนี้บ่งชี้ว่าชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนามีความเชื่อและพฤติกรรมทางศาสนาอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง2. การวิเคราะห์อิทธิพล (path analysis) เพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องเชิงสาเหตุของตัวแปรลักษณะทางพุทธศาสนา ลักษณะทางจิต และผลการปฏิบัติงาน พบว่า ลักษณะทางพุทธศาสนาอธิบายผลการปฏิบัติงานในกลุ่มครู และกลุ่มพยาบาลแตกต่างกันกล่าวคือ ในกลุ่มครู พบว่า การปฏิบัติทางพุทธศาสนา ซึ่งหมายถึงการทำบุญให้ทาน รักษาศีลเจริญภาวนา และใช้เวลาว่างในการพักผ่อนหย่อนใจ การเลือกงานอดิเรก การคบเพื่อนไปในทางพุทธศาสนา จะส่งผลทางบวกต่อบุคคลให้มีการทำงานโดยใช้หลักพุทธศาสนาคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมต่อการปฏิบัติงานทั่ว ๆ ไปของครูผ่านทัศนคติต่ออาชีพครู ซึ่งสรุปได้ว่า “ลักษณะทางพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติทางพุทธศาสนา การปฏิบัติงานตามแบบพุทธ เป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญต่อการมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู” ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานครูอีกทอดหนึ่งในกลุ่มพยาบาล พบว่า ความเชื่อทางพุทธศาสนาและการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ส่งผลทางบวกต่อวิถีชีวิตแบบพุทธ ซึ่งมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานของพยาบาล3. ความเกี่ยวข้องในกลุ่มตัวแปรลักษณะทางพุทธศาสนา พบว่า ความเชื่อทางพุทธศาสนาและการปฏิบัติทางพุทธศาสนา เป็นตัวแปรเชิงสาเหตุของวิถีชีวิตแบบพุทธอย่างชัดเจนในกลุ่มพยาบาล กล่าวโดยละเอียดคือ ความเชื่อในเรื่องพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้แก่ ความเชื่อในพระรัตนตรัย กฎแห่งกรรม กฎแห่งการเวียนว่ายตายเกิด นรกสวรรค์ นิพพาน มีผลต่อบุคคลในเรื่องของการคบเพื่อน การเลือกอาชีพ การช่วยเหลือสังคม การใช้เวลาว่างไปในแนวทางที่เป็นประโยชน์และถูกต้องตามศีลธรรมอันดี4. ลักษณะทางพุทธศาสนากับผลการปฏิบัติงาน พบว่า วิถีชีวิตแบบพุทธมีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาล กล่าวคือ พยาบาลที่มีกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงการมีศีลธรรมอันดี มีความใกล้ชิดศาสนา โดยการไปวัด การทำบุญ ให้ทาน การใช้เวลาว่างศึกษาธรรมะ จะส่งผลให้เขาเป็นพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุด้วยความเมตตา กรุณา สุภาพอ่อนโยน เสียสละและรับผิดชอบ5. เปรียบเทียบอำนาจในการทำนายผลการปฏิบัติงานครู และพยาบาล พบว่า ในกลุ่มพยาบาล ตัวแปรลักษณะทางพุทธศาสนามีอำนาจในการทำนายสูงกว่าตัวแปรลักษณะทางจิต แต่ในกลุ่มครูพบผลตรงกันข้าม กล่าวคือ ตัวแปรลักษณะทางจิต มีอำนาจในการทำนายสูงกว่าตัวแปรลักษณะทางพุทธศาสนา