ตัวแปรที่สามารถทำนายผลการเรียนของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤติกรรมศาสตร์) สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์รายงานการวิจัยฉบับที่ 52คณะผู้วิจัย ผจงจิต อินทสุวรรณ, ประทีป จินง ทัศนา ทองภักดี, อุษา ศรีจินดารัตน์ปีที่พิมพ์ 2536การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจตัวแปรที่สามารถทำนายผลการเรียนของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤติกรรมศาสตร์) สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กลุ่มตัวอย่างได้แก่บัณฑิตและนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤติกรรมศาสตร์) สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ในช่วงปีการศึกษา 2527-2533 จำนวน 61 คน โดยผู้วิจัยนำข้อมูลมาจากแบบบันทึกผลการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา แบบบันทึกผลการเรียนของนิสิต และทะเบียนประวัติของนิสิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤติกรรมศาสตร์) สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความสัมพันธ์ของผลการเรียนต่าง ๆ ด้วยการใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson’s Product Moment Correlation) เปรียบเทียบผลการเรียนของนิสิตที่มีสถานภาพต่างกันโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-way Analysis of Variance) หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนระดับปริญญาโทกับผลการเรียนระดับปริญญาตรีและผลการสอบคัดเลือก โดยใช้ไคสแควร์ (Chi-square) และหาตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายผลการเรียนของนิสิตโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis)ผลการวิจัยพบว่า จากการสำรวจตัวแปรที่สามารถทำนายผลการเรียนของนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พฤติกรรมศาสตร์) สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งจำแนกผลการเรียนออกเป็น ค่าระดับขั้นเฉลี่ยภาคเรียนที่ 1 ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมภาคเรียนที่ 3 ค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านเทคนิคการวิจัยและสถิติค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านบุคคลและสภาพแวดล้อม และค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านการพัฒนาบุคคลและสังคม สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้1. ผลการสอบคัดเลือกฉบับสถิติและวิจัย ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี และเพศสามารถร่วมกันทำนาย ค่าระดับขั้นเฉลี่ยภาคเรียนที่ 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีอำนาจการทำนาย 33%2. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี เพศ ผลการสอบคัดเลือกฉบับสถิติและวิจัยและประวัติด้านการทำงานของนิสิต สามารถร่วมกันทำนาย ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมภาคเรียนที่ 3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีอำนาจการทำนาย 37%3. ผลการสอบคัดเลือกฉบับสถิติและวิจัย ประวัติด้านการทำงานของนิสิตและเพศ สามารถร่วมกันทำนาย ค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านเทคนิคการวิจัยและสถิติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีอำนาจการทำนาย 38%4. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี และผลการสอบคัดเลือกฉบับสถิติและวิจัยสามารถร่วมกันทำนายค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอำนาจการทำนาย 18%5. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรี สามารถทำนายค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านการพัฒนาบุคคลและสังคมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และมีอำนาจการทำนาย 9%6. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมภาคเรียนที่ 3 ของนิสิตมีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ เพศหญิงมีค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมภาคเรียนที่ 3 สูงกว่าเพศชาย7. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยภาคเรียนที่ 1 ค่าระดับขั้นเฉลี่ยสะสมภาคเรียนที่ 3 ค่าระดับขั้นเฉลี่ยของหมวดวิชาด้านเทคนิคการวิจัยและสถิติ และค่าระดับขั้นเฉลี่ยหมวดวิชาด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมของนิสิตมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันระหว่างนิสิตทึ่ยังไม่มีงานทำกับนิสิตที่มีงานทำแล้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .018. ค่าระดับขั้นเฉลี่ยของหมวดวิชาด้านเทคนิคการวิจัยและสถิติของนิสิตมีความแตกต่างกันระหว่างนิสิตที่จบมาจากสาขาสังคมศาสตร์และอื่น ๆกับนิสิตที่จบมาจากสาขาวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01