การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู ความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมกล้าแสดงออกรายงานการวิจัย ฉบับที่ 49คณะผู้วิจัย อัจฉรา สุขารมณ์ อรพินทร์ ชูชม ทัศนา ทองภักดีปีที่พิมพ์ 2538การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการ คือประการแรก เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา ความคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตกับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีภูมิหลังทางครอบครัวต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนมัธยมสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาในภาคต้น ปีการศึกษา 2534 จำนวน 391 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามภูมิหลังทางครอบครัว แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา แบบสอบถามพฤติกรรมกล้าแสดงออก และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์การวิเคราะห์ข้อมูล หาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู ความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตกับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตกับนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีภูมิหลังทางครอบครัวต่างกัน โดยสถิติทีทดสอบ (t-test) สำหรับกรณีที่มีการเปรียบเทียบมากกว่า 2 กลุ่ม ขึ้นไปใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว(One Way Analysis of Variance)การวิจัยพบว่า1. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา ความคิดสร้างสรรค์และพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา พบว่าในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่มมีความสัมพันธ์ในทางลบกับพฤติกรรมกล้าแสดงออกโดยที่นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความคิดริเริ่มสูงจะมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกน้อย แต่ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต พบว่า ความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคล่องแคล่ว และความคิดสร้างสรรค์โดยรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมกล้าแสดงออก โดยที่นักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิตที่มีความคิดริเริ่มสูง มีความคิดคล่องแคล่วและมีความคิดสร้างสรรค์จะมีพฤติกรรมกล้าแสดงออก สำหรับการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา แบบมีเหตุผลมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมกล้าแสดงออกในทั้งสองประเภทโรงเรียน2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำแนกตามประเภทของโรงเรียนและภูมิหลังทางครอบครัว และลักษณะทางชีวสังคมปรากฏผลดังนี้คือ2.1 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกล้าแสดงออก ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา พบว่า นักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกมากกว่านักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ2.2 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อจำแนกตามลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลังทางครอบครัว ในแต่ละประเภทโรงเรียน พบว่า โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดกรมสามัญศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกแตกต่างกัน โดยที่นักเรียนหญิง จะมีพฤติกรรมกล้าแสดงออก มากกว่านักเรียนชาย สำหรับนักเรียนโรงเรียนมัธยมสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยไม่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศในการแสดงพฤติกรรมกล้าแสดงออกนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ที่ครอบครัวมีรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมกล้าแสดงออกแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน จะมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกมากกว่านักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้มากกว่าส่วนการศึกษาและอาชีพของบิดา มารดา ในแต่ละประเภทของโรงเรียนไม่พบว่า ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมกล้าแสดงออกแตกต่างกัน