ลักษณะทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการบวชใน พุทธศาสนาของชายไทยในภาคใต้ -------------------------------------------------------------------------------- รายงานการวิจัยฉบับที่ 43 ผู้วิจัย อาจารย์ ฉกาจ ช่วยโต ศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน ปีที่พิมพ์ 2533 วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะตอบคำถามที่สำคัญ 2 ประการคือ หนึ่ง มีตัวแปรใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจบวชของชายไทย สอง การฝึกอบรมขณะที่บวชอยู่ราวหนึ่งพรรษาทางด้านใดและในปริมาณใด ที่เกี่ยวข้องกับจิตลักษณะ 3 ประการ ของผู้ผ่านการบวชเรียน คือ ความเป็น พุทธมามกะขั้นสูง การมีทัศนคติที่ดีต่อคุณธรรมต่าง ๆ และความสามารถในการใช้เหตุผลเชิง จริยธรรมขั้นสูง วิธีดำเนินการวิจัย ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาพระสง?์บวชใหม่ 712 รูป สามเณร 175 องค์ และเพื่อนของท่านที่เป็นชายและไม่ได้บวช 541 คน โดยได้ติดต่อที่วัดในพุทธศาสนา 112 วัด ในจังหวัดสงขลา ในการเก็บข้อมูลได้ใช้แบบวัด 2 ฉบับ ฉบับแรกวัดตัวแปรที่เกี่ยวกับสาเหตุของการบวชและลักษณะทั่วไปของผู้ตอบ ฉบับที่สองวัดตัวแปรเกี่ยวกับประสบการณ์ขณะบวช และจิตลักษณะ 3 ประการดังกล่าว ทั้งของผู้ที่บวชและไม่ได้บวช แบบวัด 2 ฉบับนี้ได้ใช้ห่างกันประมาณ 2 เดือน ผู้ตอบส่วนใหญ่ได้รับแบบวัดเพียงฉบับเดียว จากการวิจัยนี้พบว่าพระสง?์ผู้ตอบมีอายุโดยเฉลี่ย 23.8 ปี สามเณร 15.5 ปี และ?ราวาสมีอายุโดยเฉลี่ย 22.0 ปี เมื่อตอบแบบวัดฉบับที่สองนั้น พระสง?์ได้บวชมาแล้วโดยเฉลี่ย 4.5 เดือน สามเณร 10.3 เดือน ส่วนระดับการศึกษานั้นพระสง?์ได้รับการศึกษาโดยเฉลี่ย 9.5 ปี และ?ราวาสมีการศึกษาโดยเฉลี่ย 9.4 ปี ขณะที่สามเณรมีการศึกษาโดยเฉลี่ย 6.3 ปี ผู้ตอบส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีระดับเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ ในการวิจัยภาคสนามนี้มีตัวแปรต่าง ๆ อยู่ 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังของผู้ตอบ เช่น กำลังอยู่ในสมณเพศหรือไม่ ปริมาณความใกล้ชิดพุทธศาสนาของครอบครัว และชุมชนของผู้ตอบ ?ล? กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยตัวแปรที่เกี่ยวกับจิตลักษณะเชิงพุทธ 7 ตัว กลุ่มที่สาม คือตัวแปรที่ได้จากการวัดประสบการณ์ขณะบวช 4 ด้าน กลุ่มที่สี่ คือ จิตลักษณะสำคัญ 3 ประการดังกล่าว ตัวแปรแรกเป็นการประเมินทางศาสนา ส่วนตัวแปรอีก 2 ตัว เป็นการประเมินทางวิชาการด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะเหตุผลเชิงจริยธรรมนั้นมาจากทฤษฏีของโคลเบอร์ก ตัวแปรในการวิจัยนี้มีรวมทั้งสิ้น 30 ตัว ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่อง จึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองและสามทางและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณเป็นขั้น ในกลุ่มรวมและกลุ่มที่แยกย่อยหลายกลุ่ม สรุปผล ผลการวิจัยที่สำคัญมี 3 ประการคือ ประการแรก ได้พบว่าพระสง?์มีจิตลักษณะเชิงพุทธหลายประการในปริมาณที่สูงกว่าเพื่อนของท่านที่ไม่ได้บวช คือ ความเชื่อและค่านิยมทางพุทธ เป้าหมายของการบวช เหตุผลในการบวช และการรับรู้สภาพที่ดีในการบวช ประการที่สอง ได้พบว่าทั้งพระสง?์และเพื่อนที่เป็น?ราวาสที่อยู่ในชุมชนและครอบครัวที่ใกล้ชิดศาสนา เป็นผู้ที่มีจิตลักษณะเชิงพุทธสูงกว่า และพระสง?์ได้รับการฝึกอบรมขณะบวชมากกว่าพระสง?์และ?ราวาสที่มาจาก ชุมชนและครอบครัวที่ห่างศาสนา ประการที่สาม ในการวิจัยนี้พบว่าพระสง?์ที่ขณะบวชได้รับการฝึกอบรมมาจากพระผู้ใหญ่ในวัด ได้ฝึกสำรวมตนทางด้านศีลมากได้ฝึกปฎิบัติตามมรรคมีองค์แปดและได้ปฎิบัติกิจสง?์ในวัดและต่อชุมชน อย่างเหมาะสมมาก เป็นพระสง?์ที่มีลักษณะของพุทธมามกะที่สมบูรณ์มากกว่า มีทัศนคติที่ดีต่อคุณธรรมต่าง ๆ มากกว่า และมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่สูงกว่าพระสง?์ที่ได้รับประสบการณ์ 4 ด้าน ดังกล่าวในขณะบวชน้อย ต่อมาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มพระสง?์ที่แยกย่อย ได้พบว่า ประสบการณ์ขณะบวชเรียน 4 ด้าน ดังกล่าวมีประโยชน์อย่างชัดเจนมากในพระสง?์3 ประเภทต่อไปนี้คือ พระสง?์ที่อายุน้อย (อายุต่ำกว่า 23 ปีลงมา) พระสง?์ที่มารดาห่างเหินจากศาสนา และพระสง?์ที่มีการศึกษาต่ำ (เรียนน้อยกว่า 9 ปี คือจบต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ลงมา) การวิจัยพระสง?์บวชใหม่ เพื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนของท่านซึ่งไม่ได้บวชนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปที่สำคัญอย่างเด่นชัดว่า การบวชเรียนในพุทธศาสนา โดยเฉพาะในวัดที่ได้มีการฝึกอบรมพระนวกะอย่างเหมาะสมนั้น เป็นแนวทางที่สำคัญในการถ่ายทอดทางสังคมและวัฒนธรรมอันมีคุณค่าสูงให้แก่ชายไทย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต นอกจากนั้นประโยชน์จากการบวชเรียนนี้ นอกจากจะมีต่อตัวผู้บวชอย่างชัดเจนแล้ว ยังจะแผ่ขยายผลดีไปยังครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวมได้อีกด้วย --------------------------------------------------------------------------------