ค่านิยมทางประชากรของสตรีย้ายถิ่น -------------------------------------------------------------------------------- รายงานการวิจัยฉบับที่ 28 ผู้วิจัย อ.ดร.เพ็ญแข ประจนปัจจนึก ปีที่พิมพ์ 2526 วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยคือ เพื่อทดสอบดูว่าการที่สตรีที่ย้ายถิ่นมีสภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิมและมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม จะเปลี่ยนค่านิยมทางประชากรหรือไม่ นอกจากนี้แล้วยังศึกษาลักษณะการย้ายถิ่นของสตรีกลุ่มนี้ รวมไปถึงรูปแบบของการย้ายกลับสู่ถิ่นเดิม และลักษณะของการย้ายถิ่นที่เกิดจากพฤติกรรมกลุ่มด้วย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ ได้แก่ สตรีที่ย้ายถิ่นจำนวน 135 คน แบ่งเป็นสตรีทำงาน 72 คน และสตรีไม่ได้ทำงาน 63 คน สตรีในกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นผู้ย้ายถิ่นจากเขตต่าง ๆ ของประเทศ และได้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเกินหนึ่งปี ในเวลาที่ทำงานวิจัยนี้ ทั้งหมดได้อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตย สตรีทั้งหมดในกลุ่มตัวอย่างได้รับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับค่านิยมทางประชากร ผู้สัมภาษณ์ได้ใช้แบบสัมภาษณ์ค่านิยมทางประชากร ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา 3 ตอนคือ เนื้อหาทางด้านค่านิยมเกี่ยวกับขนาดของครอบครัว เพศของบุตร และเนื้อหาทางด้านการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การทำหมัน สรุปผล จากการวิเคราะห์ผลได้ทำโดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากสตรีในกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานและไม่ได้ทำงาน ได้พบผลว่าในส่วนที่เกี่ยวกับสาเหตุของการย้ายถิ่นนั้น สตรีทั้งสองกลุ่มได้ตอบว่า สาเหตุทางเศรษฐกิจเป็นตัวผลักดันให้ย้ายออกจากถิ่นเดิม รวมทั้งการย้ายออกเพื่อติดตามครอบครัว ทางด้านความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่นั้น กลุ่มทำงานมีแนวโน้มที่จะพอใจในสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะความเป็นอยู่ในกรุงเทพมหานครมากกว่ากลุ่มไม่ทำงาน ทางด้านความต้องการกลับสู่ถิ่นฐานเดิมนั้นกลุ่มไม่ทำงานมีแนวโน้มที่จะกลับสูงมาก ทางด้านการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การทำหมันนั้น สตรีเป็นจำนวนมากทั้งสองกลุ่มยังไม่ทำหมัน เนื่องจากยังไม่แน่ใจเรื่องจำนวนบุตร รวมทั้งยังไม่แน่ใจถึงผลได้ผลเสียของการทำหมันด้วย จึงยังไม่ตัดสินใจทำหมัน พบผลโดยสรุปว่า สตรีในกลุ่มตัวอย่างทั้งที่ทำงานและไม่ทำงานมีค่านิยมทางประชากรคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ส่วนใหญ่ต้องการครอบครัวขน&Ogr