ความสำนึกของข้าราชการไทยเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม -------------------------------------------------------------------------------- รายงานการวิจัยฉบับที่ 27 ผู้วิจัย ศ.ดร.จรรจา สุวรรณทัต ผศ.บุญกอบ วิสมิตะนันทน์ ผศ.ภัทรา สุคนธทรัพย์ ผศ.สมนึก คำอุไร อ.วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี ผศ.ดร.ระวิพันธ์ โสมนะพันธุ์ อ.ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร ปีที่พิมพ์ 2525 วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ได้วางวัตถุประสงค์ไว้ 7 ประการด้วยกันคือ 1. เพื่อสำรวจความสำนึกของข้าราชการไทยในกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในช่วงเวลา 10 ปี นับจากปีที่ศึกษาลงไป 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของข้าราชการไทยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ว่าเป็นไปในทิศทางใด 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสำนึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรมไทย ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวทางสังคม และความทันสมัย 4. เพื่อเปรียบเทียบปริมาณความสำนึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง การปรับตัวทางสังคม และความทันสมัย ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีถิ่นที่อยู่อาศัย อายุ เพศ ระดับการศึกษา และฝ่ายของงานที่สังกัดต่างกัน 5. เพื่อหาปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางด้านการศึกษาและความสำนึก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีต่อทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม 6. เพื่อหาปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางด้านการศึกษาและทัศนคติ ต่อการเปลี่ยนแแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีต่อการปรับตัวทางสังคม 7. เพื่อหาปฎิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางด้านการศึกษาและการปรับตัวทางสังคม ที่มีต่อความทันสมัย วิธีดำเนินการวิจัย ในด้านวิธีดำเนินการวิจัย การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบพื้นที่ (area sampling) การสุ่มกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มเขตก่อนโดยการสุ่มอย่างง่าย 6 เขต แบ่งเป็นเขตรอบในและเขตรอบนอกกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ทำงานเป็นข้าราชการในที่ทำการเขตที่สุ่มได้ เป็นจำนวน 385 คน สำหรับการสุ่มกลุ่มตัวอย่างในต่างจังหวัด ใช้วิธีการสุ่มจังหวัดก่อน ให้มีจำนวนจังหวัดเท่ากับจำนวนเขตที่สุ่มได้ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นข้าราชการทำงานในศาลากลางจังหวัดและสำนักงานเทศบาลในจังหวัดที่สุ่มได้ รวมทั้งสิ้น 588 คน ก่อนการทดสอบข้อสมมติฐานทางวิจัยที่ตั้งไว้ ได้มีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นระดับการศึกษา 3 ระดับคือ ระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป แต่ยังไม่ได้ปริญญาตรี และระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป และแยกกลุ่มตัวอย่างตามสังกัดของฝ่ายงาน 4 ฝ่ายคือ ฝ่ายการศึกษา การเกษตร การปกครอง และเทศบาล สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คณะผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 4 ฉบับด้วยกัน ตาม ขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือที่ถูกต้องโดยเน้นที่ความเที่ยงตรงของเนื้อหาที่นำมาสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถาม 4 ฉบับคือ (1) แบบสอบถามความสำนึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยเนื้อหาทางสังคมและวัฒนธรรม ทางด้านคติธรรม เนติธรรม วัตถุธรรม และสหธรรม เป็นจำนวน 96 ข้อ (2) แบบสอบถามทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นโดยอาศัยเนื้อหาทางสังคมและวัฒนธรรม 48 หัวเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลง (3) แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่มโนภาพแห่งตน ความวิตกกังวลและทัศนคติต่อบุคคลแวดล้อม ชุดละ 20 ข้อ รวมจำนวน 60 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความทันสมัยที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามของ อิงคลิส และสมิธ ประกอบด้วย 14 ข้อคำถาม สำหรับวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทั้งวิธีการทางสถิติบรรยาย (descriptive statistics) และวิธีการทางสถิติวิเคราะห์ (statistical analysis) ซึ่งได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบ&Ec