การสร้างแบบทดสอบอ่านไทยระดับชั้นประถมปีที่ 4 และผลการทดลองใช้แบบทดสอบ -------------------------------------------------------------------------------- รายงานการวิจัยฉบับที่ 14 ผู้วิจัย สมนึก คำอุไร ปีที่พิมพ์ 2516 วัตถุประสงค์ การสร้างแบบทดสอบอ่านไทย มีวัตถุประสงค์จะให้ได้แบบทดสอบอ่านไทยระดับชั้นประถมปีที่ 4 สองลักษณะ ๆ ละสองฉบับ ลักษณะหนึ่งนั้นให้มีความเหมาะสมที่จะใช้ตรวจสอบหรือประเมินอัตราความเร็วในการอ่านภาษาไทย และรู้เรื่องที่อ่านพอประมาณ ซึ่งจะเรียกต่อไปนี้ว่าแบบทดสอบอ่านไว อีกลักษณะหนึ่งให้มีความเหมาะสมที่จะใช้ตรวจสอบหรือประเมินความเข้าใจในการอ่านว่า เมื่อผู้อ่านได้อ่านเรื่องราวหรือเนื้อความหนึ่ง ๆ แล้ว มีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านนั้นได้ดีเพียงใด ซึ่งจะเรียกต่อไปนี้ว่า แบบทดสอบอ่านเข้าใจความ ในแต่ละคู่ของแบบทดสอบ (แบบทดสอบอ่านไว 1 คู่ และแบบทดสอบอ่านเข้าใจความ 1 คู่) จะมีความยากง่ายของเรื่อง ความสนุก และความสั้นยาวของแบบทดสอบใกล้เคียงกัน หรือกล่าวอย่างเป็นวิชาการว่า ขนานกัน เพื่อใช้แทนกันได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน วิธีดำเนินการวิจัย ก. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ข. เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบอ่านไทยมี 2 ลักษณะ และมีชื่อตามลักษณะการใช้คือ แบบทดสอบอ่านไว 3 ชุด และแบบทดสอบอ่านเข้าใจความ 2 ชุด แต่ละชุดแบ่งเป็น From A และ Form B สรุป ในที่สุดสถาบันมีมติรับแบบทดสอบอ่านไทยทั้งสี่ฉบับไว้ได้แก่ แบบทดสอบอ่านไวชุดที่ 3 สองฉบับ และแบบทดสอบอ่านเข้าใจความชุดที่ 2 สองฉบับ แต่ความนิยมในการใช้มีผู้นำแบบทดสอบอ่านไว Form B. และอ่านเข้าใจความ Form A. ไปใช้กันเป็นส่วนมาก จากการทดลองใช้แบบทดสอบอ่านไทยในระหว่างดำเนินการสร้างนั้นหากจะพิจารณาผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแง่เปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนในต่างจังหวัด และนักเรียนในพระนคร ก็จะได้ผลพลอยได้ที่น่าสนใจว่า นักเรียนในเขตกรุงเทพ? มีความสามารถอ่านไวและอ่านเข้าใจความสูงกว่านักเรียนในจังหวัดอุดรธานี --------------------------------------------------------------------------------