อิทธิพลของสังคมต่อพัฒนาการของเด็ก ที่หมู่บ้านพรานเหมือน ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และหมู่บ้านอุเม็ง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่รายงานการวิจัยฉบับที่ 12ผู้วิจัย นิยม คำนวณมาสก และคณะปีที่พิมพ์ 2512รายงานการวิจัยฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้บทที่ 1 บทนำ .......................................................................................................................นิยม คำนวณมาสกบทที่ 2 ลักษณะทั่ว ๆ ไปของหมู่บ้าน .................................................................................นิยม คำนวณมาสกบทที่ 3 ลักษณะโครงสร้างของบริเวณบ้าน ของครอบครัว ของครัวเรือนและสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคลในครัวเรือน ....................................................................................ถาวร เกิดเกียรติพงศ์บทที่ 4 เศรษฐกิจ ................................................................................................................ถาวร เกิดเกียรติพงศ์บทที่ 5 การสมรส ..............................................................................................................ถาวร เกิดเกียรติพงศ์บทที่ 6 การรับมรดก .........................................................................................................ถาวร เกิดเกียรติพงศ์บทที่ 7 เรื่องราวเกี่ยวกับวัด ..............................................................................................นิยม คำนวณมาสกบทที่ 8 พิธีกรรมทางศาสนา ............................................................................................นิยม คำนวณมาสกบทที่ 9 พิธีกรรมอื่น ๆ ......................................................................................................นิยม คำนวณมาสกบทที่ 10 ลัทธิและความเชื่อถือบางอย่าง ..........................................................................นิยม คำนวณมาสกภาคผนวก 1 การศึกษารายกรณีในเรื่องต่าง ๆภาคผนวก 2 แบบสอบถามต่าง ๆ บทที่ 1 บทนำวัตถุประสงค์เป็นที่ทราบกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า อิทธิพลต่าง ๆ ทางสังคมที่มีต่อพัฒนาการของเด็กไทยนั้น ย่อมมาจากหลายทางด้วยกันเป็นต้นว่า จากทางบ้าน ทางโรงเรียน วัด เด็กอื่น ๆ และตัวชุมนุมชนนั้น ๆ เอง รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย ฉะนั้นความมุ่งหมายของการค้นคว้าและวิจัยจึงอยู่ที่การศึกษาและวิเคราะห์สภาพต่าง ๆ เหล่านั้นโดยละเอียดและรอบคอบที่สุดเท่าที่จะทำได้ สถาบันจึงเพ่งเล็งที่จะศึกษาและวิเคราะห์เรื่องโครงสร้างต่าง ๆ ทางสังคมของหมู่บ้านทั้งสองแห่งนี้ เริ่มตั้งแต่สภาพทางภูมิศาสตร์ จำนวนประชากร การปกครอง สภาพทางเศรษฐกิจ ลักษณะของครอบครัวรวมทั้งที่อยู่อาศัย ระบบวงศ์ญาติ รวมทั้งความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน วัด และความสำคัญของวัด พิธีกรรมต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนา ความเชื่อถือและพิธีกรรมอื่น ๆ ของชาวบ้าน ส่วนในด้านโรงเรียนนั้นก็มุ่งหมายที่จะศึกษาในเรื่องผลของการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก เด็กกับเพื่อนนักเรียนด้วยกันตลอดจนพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การปรับตัวของเด็กให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียน วิธีการเลี้ยงดูและอบรมที่เด็กได้รับจากทางบ้านตลอดวัยก่อนเข้าเรียนเหล่านี้เป็นต้นวิธีดำเนินการวิจัยกลุ่มตัวอย่างจำนวนครัวเรือน ณ หมู่บ้านพรานเหมือน ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในขณะที่คณะผู้วิจัยไปทำการศึกษาค้นคว้านั้นมีราษฎรอยู่รวม 149 ครอบครัว และได้เลือกกลุ่มตัวอย่างทำการศึกษาค้นคว้าโดยละเอียด รวม 80 ครัวเรือน สำหรับหมู่บ้านอุเม็ง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่นั้น มีราษฎรรวมทั้งสิ้น 154 ครัวเรือน เลือกกลุ่มตัวอย่างของหมู่บ้านนี้รวม 86 ครัวเรือนและทำการศึกษาค้นคว้าในหมู่บ้านที่อยู่ติดต่อกัน (บ้านหนองปึง) ซึ่งมีเด็กในครอบครัวกำลังเรียนอยู่ในชั้นประถมปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านอุเม็ง (คำวรรณราษฎร์วิทยาทาน) อีกรวม 12 ครอบครัวเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ต่าง ๆ รวม 3 แบบด้วยกันคือ1. แบบสัมภาษณ์ลักษณะครัวเรือนและภูมิหลัง2. แบบสัมภาษณ์ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว3. แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติกิจทางศาสนาและพิธีกรรมต่าง ๆ บทที่ 2 ลักษณะทั่ว ๆ ไปของหมู่บ้านเมื่อเปรียบเทียบกันทั้งสองหมู่บ้าน ก็พอจะสรุปส่วนที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกันได้ดังต่อไปนี้1. สภาพทางภูมิศาสตร์ มีแตกต่างกันอยู่บ้าง คือลักษณะของบ้านพรานเหมือน เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ค่อนข้างโดดเดี่ยว (isolated) การติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ๆ ต้องเดินทางเป็นระยะทางไกล ๆ และการติดต่อกับตัวอำเภอเมืองเองก็ต้องเดินทางถึง 17 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อรวมกับการคมนาคมที่ไม่สู้สะดวก คือถนนที่ไม่สู้ดีและยานพาหนะมีน้อย ก็พอจะเห็นได้ว่าการปะทะสังสรรค์ (interaction) กับบุคคลภายนอกจึงอยู่ในวงจำกัด ส่วนหมู่บ้านอุเม็งนั้นมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกว่า คือทุก ๆ หมู่บ้านในตำบลเดียวกันหรือแม้จะต่างตำบลกันก็ตามมักจะมีอาณาเขตติดต่อกันอย่างใกล้ชิดและมีถนนหนทางไปมาถึงกันได้โดยสะดวกทุกฤดูกาล ยิ่งกว่านั้นการติดต่อกับที่ว่าการอำเภอ (สันป่าตอง) ก็ใกล้คือมีระยะทางเพียง 2-3 กิโลเมตร และมียานพาหนะขนส่งอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านสามารถนำพืชผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปขายและซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคจากตลาดที่ตัวอำเภอได้สะดวก การติดต่อกับบุคคลภายนอกจึงมีมากกว่า2. ลักษณะบ้านเรือน มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง ส่วนที่เป็นตัวเรือนนั้นกั้นเป็นห้องนอนส่วนหนึ่งแล้วมีระเบียงสำหรับนั่งเล่นและรับแขกและมีนอกชานและครัวไฟต่างหาก แต่ที่บ้านอุเม็งนั้นออกจะใหญ่โตภูมิฐานมากกว่า คือ มีเรือนฝากระดานและปลูกสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรงมากหลังกว่าที่บ้านพรานเหมือน ความสะอาดในตัวอาคารและบริเวณก็สะอาดสะอ้านดีกว่าบ้านพรานเหมือน สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ก็มีคอกอยู่ต่างหากจากตัวบ้าน และทุกบริเวณบ้านจะมีรั้วรอบขอบชิด จึงอาจกล่าวได้ว่า ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านอุเม็งค่อนข้างจะดีกว่าบ้านพรานเหมือน3. โครงสร้างทางสังคม คือ สถาบันต่าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน ครอบครัว การสมรส วงศ์ญาติ และการสืบรับมรดกมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก คือ วัดเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวบ้านในทั้งสองหมู่บ้านนี้ทั้งในแง่ศาสนาและอื่น ๆ วัดกับโรงเรียนเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก คือวัดอาศัยโรงเรียนและโรงเรียนก็อาศัยวัดในทั้งสองหมู่บ้าน ลักษณะของครอบครัวส่วนใหญ่ก็เป็นครอบครัวเริ่มต้นและมักจะปลูกบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้ ๆ กันเป็นตระกูล ๆ ไป การสมรสเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) ไม่ปรากฏว่ามีแบบอื่น ส่วนการหย่าร้างนั้นก็กระทำกันง่าย ๆ เช่นเดียวกันทั้งสองหมู่บ้าน คือสมัครใจเลิกร้างกันไปเองอย่างดีก็จะมีผู้ใหญ่บ้านรู้เห็นเป็นพยานด้วยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีคดีถึงโรงศาลแต่อย่างใดในเรื่องนี้ การสืบรับมรดกก็เช่นเดียวกันคือรับได้ทั้งทางฝ่ายบิดาและมารดา และมีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันคือ ลูกหญิงคนสุดท้องมักจะคงอยู่กับบิดาและมารดาและเป็นผู้รับมรดกบ้านเรือนและที่ดินที่ตั้งบ้านเรือนนั้น ๆ ด้วย วงศ์ญาติกว้างใหญ่และมีจำนวนญาติกันมากมายในทั้งสองหมู่บ้าน ซึ่งก็นับว่าเป็นแบบฉบับทั่ว ๆ ไปของชาวชนบทในประเทศไทย4. การจัดระบบทางสังคม (social organization) เช่น ความเป็นอยู่ การร่วมมือร่วมแรงกันในกิจกรรมต่าง ๆ การปกครอง และอื่น ๆ ก็คล้ายคลึงกันในทั้งสองหมู่บ้าน คือมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ การควบคุมทางสังคม (social control) เป็นไปในรูปยึดถือจารีต และขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลักความประพฤติ ทุกคนในหมู่บ้านแทบจะรู้จักกันทั้งหมด คือแม้ไม่รู้จักตัวก็อาจรู้จักบิดามารดาของผู้นั้น พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติ (deviant behaviour) และปัญหาสังคมต่าง ๆ เช่น อาชญากรรมและอื่น ๆ จึงไม่ค่อยปรากฏ ชาวบ้านร่วมมือร่วมแรงกันเป็นอย่างดีในกิจกรรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านอาชีพ การศาสนาและกิจกรรมสราญใจ (recreation) อื่น ๆ ส่วนในด้านการปกครองนั้น แม้จะมีกำนันผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแลตามแบบราชการก็จริง แต่เนื้อแท้นั้นชาวบ้านควบคุมดูแลกันเองฉันพี่น้อง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากกว่า การทะเลาะเบาะแว้งหรือเรื่องราวร้ายแรงต่างๆ จึงไม่ค่อยมี นับว่าทั้งสองหมู่บ้านนี้มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสงบสุขจริง ๆ5. สภาพทางเศรษฐกิจ มีการกสิกรรม (ทำนา) เป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่มีรายได้พิเศษอื่น ๆ แตกต่างกัน เช่นหมู่บ้านพรานเหมือนมีรายได้พิเศษจากการทำน้ำตาลโตนดและทอเสื่อขาย ส่วนที่หมู่บ้านอุเม็งนั้นเมื่อหมดฤดูเก็บเกี่ยวแล้วก็ใช้เนื้อที่นาปลูกถั่วเหลือง หอม และกระเทียม ซึ่งทำรายได้ให้มากพอใช้ ส่วนรายได้เบ็ดเตล็ดจากการเลี้ยงสุกร เป็ด ไก่ มะพร้าว และพืชล้มลุก เช่น ผัก พริก มะเขือ ฯลฯ นั้นคล้ายคลึงกัน เมื่อคำนึงถึงรายได้ส่วนรวมและฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่ว ๆ ไป นับว่ายังอยู่ในระดับต่ำทั้งสองหมู่บ้าน แต่หมู่บ้านอุเม็งออกจะมีภาษีกว่า6. เนื่องจากหมู่บ้านอุเม็งมีการติดต่อทางสังคมกับภายนอกมากกว่าหมู่บ้านพรานเหมือนดังกล่าวแล้วในข้อ 1 จึงนับได้ว่าชาวบ้านอุเม็งอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ (transition) ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเชิงสังคม (social mobility) ได้มากกว่าหมู่บ้านพรานเหมือน ยิ่งกว่านั้นหมู่บ้านอุเม็งยังเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในโครงการพัฒนาอนามัยและโครงการฝึกหัดครูชนบท จึงมีหลายอย่างที่ก้าวหน้ากว่าหมู่บ้านพรานเหมือน บทที่ 3 ลักษณะโครงสร้างของบริเวณบ้าน ของครอบครัว ของครัวเรือน และ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครัวเรือนบริเวณบ้านซึ่งเป็นที่หมู่ญาติอาศัยอยู่รวมกันในบ้านพรานเหมือนและบ้านอุเม็งนั้นมีวัฏฏะของ การครอบครองเป็น 5 ระยะเหมือนกันคือ ระยะเริ่มแรกเป็นบริเวณบ้านเรือนเดียว มีสมาชิกที่ เป็นบิดามารดาและบุตรที่ยังเป็นโสด ในระยะที่สองบริเวณบ้านกลายเป็นบริเวณบ้านหลายเรือน นอกจากครัวเรือนที่มีบิดามารดาและครอบครัวของบุตรสุดท้องที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันแล้ว ในบริเวณบ้านยังมีครัวเรือนของบุตรที่แต่งงานแล้วปลูกบ้านอยู่ในบริเวณบ้านนั้นด้วย ระยะที่สามเป็นระยะที่บิดามารดาที่เป็นเจ้าของบริเวณบ้านเสียชีวิต บุตร (พี่น้องแท้) ที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้านจะได้ครองบริเวณบ้าน ระยะที่สี่เริ่มต้นเมื่อพี่น้องแท้เสียชีวิต และบุตรของพี่น้องแท้เหล่านั้น (ญาติประเภทลูกพี่ลูกน้อง) ได้ครองบริเวณบ้านสืบต่อมา ในระยะที่ห้าซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของวัฏฏะการครอบครอง บริเวณบ้านนั้น ที่ดินบริเวณบ้านจะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนมีรั้วกั้นเขตเป็นเอกเทศ บริเวณบ้านในระยะนี้จึงกลายเป็นละแวกบ้านที่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กันผลของการวิเคราะห์ครัวเรือนในบริเวณบ้านกลุ่มตัวอย่างในบ้านพรานเหมือน และบ้านอุเม็ง พบว่าบริเวณบ้านส่วนใหญ่ในบ้านพรานเหมือนเป็นบริเวณบ้านเรือนเดียว ต่างกับบริเวณบ้านในบ้านอุเม็ง ซึ่งเป็นแบบบริเวณบ้านหลายเรือน สำหรับบริเวณหลายเรือนในครัวเรือนที่ประกอบด้วยสองครอบครัวหรือมากกว่านั้นพบว่า "ครอบครัวแทนที่" (Stem Family) (ครอบครัวของบุตรที่อาศัยอยู่กับบิดามารดา เลี้ยงดูบิดามารดาผู้ชรา และได้ครองบ้านกับที่บ้านเมื่อบิดามารดาเสียชีวิต) มักจะเป็นครอบครัวของบุตรสาวมากกว่าเป็นครอบครัวของบุตรชายในเรื่ององค์ประกอบแห่งครัวเรือนพบว่า ขนาดของครัวเรือนและขนาดของครอบครัวในบ้านพรานเหมือนใหญ่กว่าที่พบในบ้านอุเม็ง เกี่ยวกับลักษณะของครัวเรือนมีข้อน่าสังเกตว่า ครัวเรือนประเภทครอบครัวจุดเริ่มต้นพบมากที่สุดในกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนในสองหมู่บ้านนี้ (66% ในบ้านพรานเหมือน และ 77% ในบ้านอุเม็ง) ส่วนครัวเรือนประเภทที่เป็นครอบครัวขยาย พบในบ้านพรานเหมือน (26%) มากกว่าบ้านอุเม็ง (11%) สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับครัวเรือนประเภทนี้คือครอบครัวอาศัยในครัวเรือนขยายส่วนใหญ่เป็นครอบครัวของบุตรสาว แต่ในบ้านอุเม็งครอบครัวอาศัยที่เป็นครอบครัวของบุตรสาวเท่า ๆ กับที่เป็นครอบครัวของบุตรชายเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในครัวเรือน กล่าวได้ว่า เมื่อบุคคลมาอยู่รวมกันเป็นครัวเรือน บุคคลนั้น ๆ จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ภายในหรือต่างครอบครัวด้วยลักษณะต่าง ๆ กันตามวัย ศักดิ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวหน้าครัวเรือนและเพศ บุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบและมีความสำคัญต่อบุคคลอื่น ๆ ภายในครอบครัวแตกต่างกันไป ครอบครัวในชนบทเป็นที่รวมของบุคคลที่อยู่รวมกัน ทำงานด้วยกันและเข้าสังคมเดียวกัน ฉะนั้นจึงมีความสำคัญต่อสมาชิกในครัว เรือนมากกว่าครอบครัวที่พบในเมืองใหญ่ ๆ หรือในย่านอุตสาหกรรม ครอบครัวชนบทของไทยนั้นไม่เพียงแต่เป็นแนวให้บุคคลปรับตัวเข้ากับสังคมได้ แต่ยังได้จัดหาสิ่งที่ยึดถือและค้ำจุนจิตใจของบุคคลได้เป็นอย่างดีตลอดชีวิต บทที่ 4 เศรษฐกิจบ้านพรานเหมือนอยู่ในเขตภูมิภาคที่เป็นที่ราบสูง ในด้านการทำนา ใน พ.ศ. 2504 ยังไม่มีระบบการชลประทานช่วย ชาวนาปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้งโดยอาศัยน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาลเท่านั้น การปลูกพืชในฤดูแล้ง กล่าวได้ว่ามีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีเลย สำหรับข้าวที่ได้จากการทำนาเมื่อเปรียบเทียบกับผลการค้นคว้าในบ้านอุเม็งกล่าวได้ว่าต่ำกว่านี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านพรานเหมือนยากจนกว่าชาวบ้านอุเม็ง พูดถึงระบบเศรษฐกิจในบ้านพรานเหมือนกล่าวได้ว่ามีแนวโน้มสู่ระบบเศรษฐกิจในระดับพอยังชีพได้ (Subsistent economy) ดังจะเห็นได้ว่าครัวเรือนหนึ่งนอกจากทำนาแล้วยังเผาถ่าน ทำเกลือ จับปลาและทอผ้าอีกด้วย ส่วนในด้านการซื้อขาย ถ้าเปรียบเทียบบ้านพรานเหมือนกับบ้านอุเม็ง จะเห็นว่าบ้านพรานเหมือนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านนี้ในระดับที่ต่ำกว่า บ้านอุเม็งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มระหว่างภูเขาที่มีดินอุดม นอกจากชาวบ้านได้อาศัยน้ำฝนแล้ว ยังได้รับน้ำจากการชลประทานราษฎร์ด้วย เหตุนี้ผลิตกรรมจากการทำนาและระดับในการซื้อขาย เช่น ขายข้าว ขายที่ดิน จึงสูงกว่าที่พบในบ้านพรานเหมือน บทที่ 5 การสมรสถ้าตรวจดูพิธีแต่งงานที่นับว่าถูกต้องตามประเพณี ในบ้านพรานเหมือน และบ้านอุเม็ง ก็อาจกล่าวโดยรวม ๆ ได้ว่า พิธีแต่งงานในหมู่บ้านหลังเป็นแบบง่ายกว่า ทั้งในด้านกระบวนการและเนื้อหาของพิธี การแต่งงานในบ้านพรานเหมือนเริ่มต้นด้วยบิดามารดาฝ่ายชายส่ง "ผู้เฒ่า" ไปสู่ขอหญิง มีการเจรจาตกลงกันในเรื่องเงินแต่งงานหรือเงินค่าดอง ครั้นได้ตกลงกันแล้ว ฝ่ายชายหา "วันดี" เพื่อนัดไปแต่งงาน ในวันประกอบพิธีแต่งงานมีการประกอบพิธีต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ "พิธีสู่ขวัญ" "พิธีสมมาผู้เฒ่า"และ "พิธีส่งส้วมนอน" แล้วชายหญิงจึงจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันส่วนในบ้านอุเม็งไม่มีการส่งคนไปสู่ขอสาว ไม่มีเงินแต่งงานชนิดที่ผู้เฒ่าสองฝ่ายต้องตกลงกัน ตรงกันข้ามเมื่อชายหนุ่มกระทำล่วงเกิน ("ผิดผี") หญิงสาวและเมื่อหญิงสาวบอกให้บิดามารดาของตนทราบก็จะส่งคน "ไปเติง" ถ้าชายหนุ่มต้องการแต่งงานกับหญิงนั้น บิดามารดาก็จะจัดส่งคนไป "ใส่ผี" ซึ่งเรียกว่า "ใส่เอา" หลังจากนั้นชายหญิงคู่นี้ก็อยู่กินด้วยกันเยี่ยงสามีภริยาทั่วไปได้อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านอุเม็งก็อาจจะจัดพิธีแต่งงานให้หรูหราได้ โดยจัดพิธีกินแขกขึ้น ภายหลังที่ชายหญิงอยู่กันเป็นสามีภริยากันแล้ว แต่ว่าบุคคลจะจัดพิธีกินแขกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของความสมัครใจ และขึ้นอยู่กับฐานะทางด้านการเงินด้วยเป็นสำคัญ แท้ที่จริงพิธีกินแขกก็คล้ายกับพิธีกินดอง กล่าวคือพิธีนี้จัดทำใน "วันดี" มีการประกอบพิธี "ฮ้องขวัญ" (เรียกขวัญ) ให้แก่คู่บ่าวสาว โดยมีจุดประสงค์ให้คู่สมรสมีความสุขความเจริญ และลักษณะที่สำคัญเชิงสังคมของพิธีกินแขก คือ มีการเชิญญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านมาร่วมพิธีและช่วยงานและมีการกินเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริก ซึ่งทั้งนี้นอกจากจะเป็นการกระชับสัมพันธ์กับญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านแล้ว บุคคลเหล่านี้ยังได้รู้เห็นเป็นพยานว่า ชายหญิงคู่นี้เป็นสามีภริยากันอย่างถูกต้องตามประเพณีด้วยพิธีกินแขกจะแตกต่างจากพิธีกินดองอยู่บ้างก็ตรงที่ว่า พิธีกินแขกจัดทำที่บ้าน ซึ่งคู่สมรสจะไปอาศัยอยู่ (อาจจะเป็นที่บ้านฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก็ได้) และฝ่ายนั้นจะเป็นเจ้าภาพจัดงานรวมทั้งออกค่าใช้จ่ายในการกินเลี้ยงด้วย ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือในการประกอบพิธีกินแขกนั้น ไม่มีการประกอบพิธีที่เรียกในบ้านพรานเหมือนว่า "สมมาผู้เฒ่า"ในเรื่องที่อยู่อาศัยของคู่สมรสภายหลังการแต่งงานในบ้านพรานเหมือนและบ้านอุเม็งนั้นพบว่าแตกต่างกัน กล่าวคือ ประเพณีในหมู่บ้านแรกกำหนดให้คู่สมรสไปอยู่กับฝ่ายบิดามารดาของหญิง ส่วนในหมู่บ้านหลังนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อแต่งงานแล้วคู่สมรสจะไปอยู่กับฝ่ายใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเรื่อง "กำลังคน"เกี่ยวกับการหย่าร้างในสองหมู่บ้านนี้ไม่ว่าจะเป็นการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือเป็นความประสงค์ของฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว พบว่า กระทำได้โดยง่ายและไม่มีพิธีรีตอง เนื่องจากคู่สามีภริยาส่วนใหญ่มิได้จดทะเบียนสมรสกันการหย่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งทรัพย์สินด้วย ปรากฏว่า สามีภริยาที่หย่ากันมักจะตกลงแบ่งทรัพย์สินกันเอง แต่ถ้าตกลงกันมิได้ ก็หาคนกลาง เช่น ญาติพี่น้องและผู้ใหญ่บ้านมาช่วยแบ่งปันให้ ธรรมเนียมการแบ่งสินเดิมในสองหมู่บ้านนี้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ว่า เมื่อสามีภริยาหย่ากันก็ให้คืนสินเดิมแก่คู่สมรสทั้งสองฝ่าย ส่วนสินสมรสนั้นคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์จะได้รับและในการแบ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น การหย่านั้นเป็นความยินยอมของสองฝ่ายหรือฝ่ายเดียว คู่สามีภริยามีบุตรในระหว่างสมรสหรือไม่ ใครเป็นต้นเหตุแห่งการหย่าร้างเข้าประกอบพิจารณาด้วยสำหรับบุตรที่เกิดในระหว่างสมรส เมื่อสามีภริยาหย่ากัน บุตรที่ยังเล็กมักอยู่กับมารดา แต่ถ้าโตแล้วก็ให้เลือกเองว่าจะอยู่กับใคร ฝ่ายบิดาก็พอใจให้เป็นเช่นนั้น ประเพณีในบ้านพรานเหมือนและบ้านอุเม็งมิได้กำหนดว่า ฝ่ายบิดาจะต้องให้ค่าเลี้ยงดูบุตร เว้นเสียแต่สมัครใจให้เอง ในกรณีที่คู่สามีภริยาอาศัยอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายนั้นมีสิทธิ์ในตัวบุตรที่เกิดในระหว่างสมรสนอกจากการแบ่งทรัพย์สินการอุปการะเลี้ยงดูบุตรแล้ว ในบ้านพรานเหมือนเมื่อสามีภริยาหย่ากันสามีมีสิทธิ์จะทวงเงินค่าดองหรือเงินแต่งงานคืนจากฝ่ายหญิงได้ด้วย ส่วนฝ่ายหญิงจะให้คืนหรือแบ่งปันให้หรือไม่นั้น นอกจากขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่พาดพิงกับการแบ่งสินสมรสแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงระยะเวลาแห่งการแต่งงานของคู่สามีภริยานั้นด้วย บทที่ 6 การรับมรดกโดยทั่ว ๆ ไป อาจกล่าวได้ว่า การรับมรดกที่พบในบ้านพรานเหมือนและบ้านอุเม็ง เป็นระบบการรับมรดกสองฝ่าย คือ พี่น้องแท้ทั้งชายหญิงมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในทรัพย์สินของบิดามารดา แต่ถ้ากล่าวในแง่ของประวัติความเป็นมา บ้านอุเม็งมีระบบการรับมรดกสองฝ่ายมาตั้งแต่แรก ส่วนบ้านพรานเหมือนพึ่งจะพบว่ามีในระยะหลัง ๆบ้านพรานเหมือนในสมัยก่อนเมื่อบุตรสาวแต่งงานแล้วก็ยังอยู่กับบิดามารดาของตน ด้วยเหตุนี้ จึงมักเป็นฝ่ายได้รับทรัพย์สินของบิดามารดา ส่วนบุตรชาย ปรากฏว่ามักไปอยู่กับภริยาหลังการแต่งงานแล้ว และได้อาศัยทรัพย์สินของฝ่ายนั้นสำหรับทำกิน หรือไม่ก็จับจองที่ดินเอาเองเพราะในระยะนั้นยังมีที่ดินว่างเปล่าให้จับจองได้โดยเสรี ชาวบ้านพรานเหมือนปฏิบัติกันเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยหนึ่งซึ่งที่ดินว่างเปล่าเหลือน้อยลง และในที่สุดก็หมดไป สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บุตรชายต้องหันมาพึ่งทรัพย์สินของบิดามารดาของตน ทั้งตัวบิดามารดาเองก็รู้สึกว่า บุตรชายและบุตรสาวควรจะมีสิทธิ์ในการรับมรดกเท่าเทียมกัน ใน พ.ศ. 2504 แม้มีบุตรชายและบุตรสาวหลายรายที่ยังมิได้รับมรดกเนื่องจากบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ แต่ก็คาดว่าการรับมรดกของบุคคลเหล่านี้จะเป็นแบบการรับมรดกสองฝ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับการยกทรัพย์สินให้บุตร พบว่าบิดามารดาในบ้านพรานเหมือนยังนิยมยกที่ดินที่นาให้บุตรด้วยวาจาอย่างไม่มีพิธีรีตอง และการยกให้นั้นมักกระทำในบั้นปลายแห่งชีวิตของตน การอนุญาตให้บุตรทำกินในที่นาส่วนหนึ่งส่วนใด หรือให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณบ้านในระหว่างที่บิดามารดามีชีวิตอยู่นั้น ย่อมหมายว่าบุตรนั้น ๆ จะได้รับที่ดินหรือที่นาส่วนนั้นเมื่อบิดามารดาสิ้นชีวิต ส่วนในบ้านอุเม็ง บิดามารดาอาจยกที่ดินหรือที่นาให้บุตรด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 3 วิธีคือ (1) การแบ่งและยกทรัพย์สินให้โดยถูกต้องตามกฎหมาย (2) การมอบให้ด้วยวาจา และ (3) บิดามารดาตายโดยมิได้กล่าวยกทรัพย์สินให้บุตรคนใด แต่บุตรจะเป็นฝ่ายตกลงแบ่งกันเองหรือเชิญผู้ใหญ่มาช่วยแบ่งให้ โดยทางปฏิบัติ วิธีแรกเหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินมากพอที่จะแบ่งให้แก่บุตรทุกคน และตามข้อเท็จจริงมีบิดามารดาเพียงน้อยรายในบ้านอุเม็งที่กระทำเช่นนี้ได้ วิธีที่สองเหมาะสำหรับผู้ที่มีที่ดินขนาดปานกลาง บิดามารดาเหล่านี้จะกล่าวมอบที่ดินให้บุตรเมื่อตนใกล้จะตาย ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ บิดามารดาอาจจะแบ่งที่นาส่วนใดส่วนหนึ่งให้บุตรทำกิน และบุตรต้องแบ่งข้าวให้แก่บิดามารดาด้วย สำหรับวิธีที่สามเหมาะสำหรับผู้มีที่นาน้อย เจ้าของที่นาเหล่านี้มักสงวนที่นาไว้ทำเองเมื่อชีวิตหาไม่ ทายาทก็จัดการแบ่งปันกัน วิธีนี้ชาวบ้านอุเม็งส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติกันในการศึกษาเรื่องการรับมรดกของชาวบ้านกลุ่มตัวอย่างในบ้านพรานเหมือนและบ้างอุเม็งพบว่าแบบรูปการรับมรดกที่นาผันแปรไปได้หลายแบบ อย่างไรก็ตามผลที่ได้ก็สนับสนุนทฤษฎีการรับมรดกในสองหมู่บ้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ ในบ้านพรานเหมือนแบบรูปการรับมรดกที่นาที่มีลักษณะเด่นเป็นแบบพี่น้องแท้ทุกคนได้รับส่วนแบ่งไม่เท่ากัน โดยมีทายาทคนหนึ่งได้รับส่วนแบ่งมากที่สุด ทายาทผู้นี้พบว่ามักเป็นบุตรสุดท้องและเป็นบุตรสาวมากกว่าบุตรชาย ส่วนในบ้านอุเม็งแบบรูปการรับมรดกที่นาที่มีลักษณะเด่นเป็นแบบรูปที่พี่น้องแท้ทุกคนต้องได้รับส่วนแบ่งที่นาเท่า ๆ กัน แบบรูปการรับมรดกที่นาในสองหมู่บ้านที่กล่าวแล้วนี้ พบว่าไม่เปลี่ยนแปลงในชั่วระยะเวลา 40 ปี ไม่ว่าจำนวนพี่น้องแท้ (หรือทายาท) จะเป็นเท่าใด หรือพี่น้องแท้คนไหนจะอาศัยอยู่ที่ใดบ้างเกี่ยวกับการรับมรดกบ้านและที่บ้านของบิดามารดา พบว่าในบ้านพรานเหมือน ทายาทที่ได้รับบ้านและที่บ้านนี้เป็นบุตรสาวมากกว่าบุตรชาย ส่วนในบ้านอุเม็ง การรับมรดกที่บ้านเป็นแบบการรับมรดกสองฝ่าย แต่ที่เอนเอียงจะเป็นพี่น้องแท้ที่เป็นหญิงได้รับฝ่ายเดียว สำหรับการรับมรดกบ้าน พบว่าแบบทายาทที่ได้รับคนเดียวเป็นบุตรสุดท้อง (ชายหรือหญิง) มีลักษณะเด่นที่สุด บทที่ 7 เรื่องราวเกี่ยวกับวัดเมื่อพิจารณาดูเรื่อง "วัด" ในทั้งสองหมู่บ้าน พอสรุปได้ดังต่อไปนี้1. ลักษณะอาคาร ที่ตั้ง และอาณาบริเวณ นับว่าเป็น "จุดเด่น" ที่สุดของหมู่บ้านทั้งสองแห่ง คือวัดตั้งอยู่ต่างหากแยกจากบ้านเรือนของชาวบ้านทั่ว ๆ ไป มีอาณาบริเวณกว้างขวางและเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ ภายในบริเวณวัดย่อมเป็นสถานที่ "หวงห้าม" คือจะไปเลี้ยงสัตว์ ยิงนกตกปลาหรือกระทำสิ่งที่ผิดศีลธรรมต่าง ๆ ไม่ได้ ตัวโบสถ์หรือวิหารเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะ ที่อาคารอื่น ๆ จะเลียนแบบมิได้ ซึ่งนับว่าเป็นลักษณะของ "วัดไทย" โดยเฉพาะทั้งในกรุงและชนบท2. จำนวนศิษย์วัด ภิกษุ และสามเณร ที่บ้านพรานเหมือนมีข้อประหลาดกว่าวัดอื่น ๆ โดยทั่วไป คือไม่มีศิษย์วัดเลย ส่วนจำนวนสามเณรของทั้งสองหมู่บ้านนี้คล้ายคลึงกันในคาบเวลาเท่า ๆ กัน ที่บ้านพรานเหมือนมีจำนวนภิกษุมากกว่าไม่ว่าในปีใด ๆ ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่าชาวบ้านอุเม็งนิยมการบวชเณรมากกว่าที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุ3. การศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณรในทั้งสองหมู่บ้านนับว่ายังอยู่ในระดับต่ำคือ ไม่มีพระภิกษุหรือสามเณรองค์ใดสอบได้เปรียญเลย อย่างมากก็เพียงสอบได้นักธรรมโทหรือเอกเท่านั้น ซึ่งก็นับว่าเป็นแบบฉบับทั่ว ๆ ไปของวัดในชนบท เพราะย่อมไม่สามารถจะหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนให้สูงถึงชั้นเปรียญได้นั้นอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็อาจเป็นเพราะว่าจุดประสงค์ของการอุปสมบทก็เพื่อเรียนรู้หลักธรรมทางศาสนาแต่พอสมควร และเรียนรู้บทสวดมนต์ต่าง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่มุ่งหวังที่จะหาความรู้สูง ๆ ขึ้นไปยิ่งกว่านี้4. กิจวัตรของพระภิกษุสามเณรตลอดจนการติดต่อกับชาวบ้านมีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกันทั้งสองหมู่บ้าน ซึ่งก็เหมือนกับวัดอื่น ๆ ในชนบทในประเทศไทย จะมีแปลกก็ที่ว่าในทั้งสองหมู่บ้าน ภิกษุและสามเณรไม่ได้ออกบิณฑบาตเช่นวัดอื่น ๆ ทายกและทายิกานำภัตตาหารไปถวายที่วัดทั้งสิ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัดอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศ เช่น ที่หมู่ที่ 2 ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีแล้ว ก็อาจแลเห็นความแตกต่างกันอยู่บ้างเป็นบางประการ เช่น ในเรื่องอาคารต่าง ๆ อันได้แก่ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ และอื่น ๆ วัดในภาคกลางจะมีการก่อสร้างที่ใหญ่โตกว่า แข็งแรงกว่าและงดงามกว่าสองหมู่บ้านที่กล่าวข้างต้น จำนวนภิกษุสามเณรและศิษย์วัดก็มีมากกว่า เฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเข้าพรรษา ในภาคกลางจะมีภิกษุและสามเณรอุปสมบทใหม่มีจำนวนหลาย ๆ รูป แต่ละวัดในภาคกลางมักจะมีภิกษุที่อุปสมบทมาแล้วเป็นจำนวนหลาย ๆ พรรษา อยู่ประจำวัดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งทั้งนี้จะอ้างว่าเป็นเพราะความเลื่อมใสในทางพุทธศาสนายิ่งหย่อนกว่ากันนั้นหาได้ไม่ น่าจะเป็นเพราะความแตกต่างกันในสภาพทางเศรษฐกิจมากกว่า บทที่ 8 พิธีกรรมทางศาสนาชาวบ้านทั้งสองแห่ง มีความคล้ายคลึงกันมากในเรื่องลัทธิความเชื่อถือทางพุทธศาสนา หลักธรรมจริยา เรื่อง บุญ-บาป และ กฎแห่งกรรม และในทั้งสองหมู่บ้านนี้ "วัด" นับว่าเป็นจุดศูนย์กลางทางศาสนาและทางสังคมอย่างแท้จริง จะมีข้อผิดแผกแตกต่างกันบ้างก็แต่เพียงบางประการ เช่น ความเชื่อถือและพิธีกรรมในการอุปสมบทพระภิกษุและการบรรพชาสามเณร เป็นต้น นอกจากนี้ความประณีตละเอียดละออหรือความมโหฬารใหญ่ยิ่งของพิธีกรรมบางอย่างในรอบปีก็อาจมีมากน้อยต่างกัน หรือหมู่บ้านหนึ่งจัดขึ้นแต่ในอีกหมู่บ้านหนึ่งไม่ปรากฏพิธีกรรมเช่นนั้น ข้อแตกต่างเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นสิ่งปลีกย่อยไม่มีสาระสำคัญในทางพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพราะถือว่า "การทำบุญ" เพื่อหวังผลดีทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเป็นข้อสำคัญแล้ว การปฏิบัติกิจทางศาสนาของทั้งสองหมู่บ้านเพื่อหวังผลดังกล่าวย่อมไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย และไม่แตกต่างกันกับในหมู่บ้านอื่น ๆ ที่นับถือพุทธศาสนาในประเทศไทยทุกหนทุกแห่งมีข้อน่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า กิจกรรมของชาวบ้านทั้งสองแห่งนี้ตลอดเวลาในปีหนึ่ง ๆ อาจแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้เพียง 2 ประการคือ กิจกรรมเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพและกิจกรรมเกี่ยวกับทางศาสนา และจะเห็นได้ว่ามีงานนักขัตฤกษ์และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาอยู่มากมายในแต่ละรอบปี ชาวชนบทจึงยอมใช้เวลา แรงงาน จิตใจ และทรัพย์สินไปไม่ใช่น้อย ในเรื่องที่เกี่ยวกับวัดและพุทธศาสนา บทที่ 9 พิธีกรรมอื่น ๆที่หมู่บ้านอุเม็งก็มีพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตคล้ายคลึงกับที่หมู่บ้านพรานเหมือน ซึ่งพอจะแยกกล่าวได้ดังต่อไปนี้คือพิธีสืบชะตา คือพิธีต่ออายุนั่นเอง แต่คนที่จะทำพิธีนี้ได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป พิธีนี้อาจจัดทำเมื่อไรก็ได้ถ้านึกอยากจะทำหรือจัดทำเมื่อหายเจ็บป่วยหนักหรือเรื้อรัง หรือเมื่อหมอดูทำนายทายทักว่าชะตาขาดพิธีสวดพระสังฆาฏิ เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ เป็นเวลานาน รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ก็อาจทำพิธีอย่างหนึ่งเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่าพิธีสวดพระสังฆาฏิ คือนิมนต์พระมา 4 รูป และไปทำพิธีนี้ที่สี่แยกแห่งใดแห่งหนึ่งจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมที่กล่าวแล้วในทั้งสองหมู่บ้านนี้ มีจุดมุ่งหมายที่ตรงกันอยู่ประการเดียว คือการยังให้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ต่อไป เพราะความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์กลัวที่สุดไม่มีอะไรเท่า จึงต้องหาวิธีการต่าง ๆ นา ๆ ที่จะคงดำรงชีวิตไว้ และที่สำคัญก็คือว่าทุก ๆ พิธีที่เกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ต่อไปนี้มีภิกษุสงฆ์เป็นสื่อกลางระหว่างอำนาจเร้นลับที่จะคร่าเอาชีวิตไปและผู้ที่ต้องการมีชีวิตอยู่ บทที่ 10 ลัทธิและความเชื่อบางอย่างเราพอจะเปรียบเทียบความเชื่อถือของชาวบ้านพรานเหมือนและชาวบ้านอุเม็งพอสังเขปดังนี้บ้านพรานเหมือน บ้านอุเม็งเกี่ยวกับบ้านเรือน เกี่ยวกับบ้านเรือน1. มีความเชื่อถือในเรื่อง "ผีพ่อผีแม่" 1. เชื่อถือในเรื่อง "ผีเฮือน" (ผีปู่ย่า)(วิญญาณของบรรพบุรุษ) มีการกรวดน้ำให้ใน เป็นอย่างมาก มีลัทธิธรรมเนียมในเรื่องนี้เป็นเวลาทำบุญต่าง ๆ บางครั้งผีเหล่านี้จะทำให้ แบบอย่าง คือมีที่อยู่เหมือนกันทุกครัวเรือน มีเกิดเจ็บป่วยได้ ถ้าลูกหลานประพฤติผิดต่าง ๆ ที่บูชาและมีการเซ่นไหว้ มีการแบ่งผี เมื่อแต่ไม่มีลัทธิธรรมเนียมที่เป็นแบบแผนทุก สมาชิกคนใดในครอบครัวจะแยกไปอยู่ที่อื่นครัวเรือน การปฏิบัติเป็นเช่นเดียวกันหมด ถือว่าผีนี้เป็น บ้านพรานเหมือน บ้านอุเม็งเครื่องหมายแห่งความเป็นปึกแผ่นของบ้านเรือนและสมาชิกในครอบครัวนั้น ๆ2. ไม่มี "ผีเจ้าที่" แต่มีความเชื่อถือ 2. ทุก ๆ เขตบ้านจะมีศาลของ "ผีเจ้าที่"ในเรื่อง "ผีนา" ซึ่งมีศาล (หอนา) อยู่ที่นา และมีการเซ่นไหว้เป็นประจำตามกำหนด ไม่มีของแต่ละครอบครัว "ผีนา"เกี่ยวกับหมู่บ้านและวัด เกี่ยวกับหมู่บ้านและวัด1. ผู้คุ้มครองหมู่บ้านเรียกว่า "ตาปู่บ้าน" 1. ผู้คุ้มครองหมู่บ้านเรียกว่า "เสื้อบ้าน"ส่วนที่วัดเรียก "เจ้าพ่อผ้าขาว" ทั้งคู่อยู่ศาล (มี 3 องค์) และมีศาลสำหรับอยู่ (หอเจ้านาย)รวมกัน และได้รับการเซ่นสรวงพร้อม ๆ กัน ส่วนผู้คุ้มครองวัดเรียกว่า "เสื้อวัด" มีการเซ่นในพิธีต่าง ๆ ประจำปี เชื่อว่าผู้คุ้มครองทั้ง ไหว้แยกต่างหากกัน "เสื้อบ้าน" นั้นถือว่าเป็นสองนี้ทำให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข พืชผลดี ผู้คุ้มครองผู้คน สัตว์ พืชผล มีการเซ่นไหว้ปีละรวมทั้งบันดาลให้ฝนตกด้วย มีการเซ่นไหว้ 2 ครั้ง คือในวัน "ปากปี" (สงกรานต์) และบูชากันทั้งหมู่บ้านก่อนฤดูไถนา และหลังจาก ก่อนไถนา ส่วน "เสื้อวัด" มีที่อยู่ในวัด มีการเกี่ยวข้าวแล้ว นอกจากนี้ในฤดูแล้ง มีการทำ เซ่นสรวงทุกวันพระและทุกคราวที่มีงานวัดพิธีขอฝน (บุญบั้งไฟ) ต่อ "ตาปู่บ้าน" และ"เจ้าพ่อท้องกวง" ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้รักษาบึกใหญ่ (บึงชวน)2. คนทรง (เทียม) และสื่อกลาง 2. คนทรง (ม้าขี่) เป็นหญิงล้วน และ(จั้ม) เป็นชายล้วน เชื่อกันว่าทำให้เกิด การรักษาการเจ็บป่วยใช้น้ำมนต์ เชื่อว่าถ้าการเจ็บป่วย ถ้าทำผิดข้อห้ามต่าง ๆ ทำผิดข้อห้ามต่าง ๆ (taboos) ก็ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ผีต่าง ๆ ผีต่าง ๆ1. จำแนกออกเป็นหลายชื่อหลายพวก 1. เช่นเดียวกับบ้านพรานเหมือน คือต่าง ๆ กัน ที่คนกลัวกันมากคือผีตายโหง จำแนกเป็นหลายชื่อหลายพวกไม่ลงรอยเป็นเชื่อว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ มักจะเกิด แบบเดียวกัน การตรวจดูว่าผีอะไรมาทำร้ายบ้านพรานเหมือน บ้านอุเม็ง ขึ้นเพราะถูกผีทำร้ายเอา "หมอส้อง" จะ และการรักษาใช้คนทรง (ม้าขี่) ของเป็นผู้ตรวจดูว่าผิดผีอะไร ใช้หมอผีหรือ "เสื้อบ้าน" "จั้ม" เป็นผู้ขับไล่ หรือเซ่นไหว้ต่าง ๆ2. ความเชื่อเรื่องแม่มด (witch) ที่เรียกว่า 2. ความเชื่อเรื่องแม่มดที่เรียก "ผีกะ" ก็ยัง"ผีปอบ" ยังคงมีอยู่บ้าง แต่กำลังสูญหาย มีอยู่ แต่กำลังจะสูญไปเช่นเดียวกับไททีละน้อย ๆ บ้านพรานเหมือนลัทธิและความเชื่อถือต่าง ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น ในปัจจุบันบางอย่างก็ค่อย ๆ สูญหายไป แต่อย่างไรก็ดีความเชื่อในเรื่อง "สื่อกลาง" ที่จะติดต่อกับผีสางเทวดานั้นยังคงมีอยู่ ตัวบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ และลัทธิบางอย่างก็ยังคงปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติ แต่อาจน้อยครั้งลงกว่าแต่ก่อนบ้าง