กนิษฐา ตัณฑพันธ์. 2541. ลักษณะทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยเรื่อง ลักษณะทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการให้การพยาบาล ตามบทบาทเชิงวิชาชีพ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการทำนาย พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพของพยาบาล 2. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการให้การพยาบาลตาม บทบาทเชิงวิชาชีพทั้ง 4 ด้านของพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีภูมิหลังต่างกัน และ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการ ให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพของพยาบาลที่มีลักษณะทางจิตสังคมและลักษณะทางพุทธศาสนาต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในตึกอายุรกรรม ตึกศัลยกรรมโรงพยาบาลฝ่ายกาย สังกัด กระทรวงสาธารณสุข ที่มีเตียงรับผู้ป่วยในตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไปในรัศมี 160 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานคร จำนวน 348 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรอิสระ 7 ตัวแปรได้แก่ ลักษณะทางจิตสังคม 4 ตัวแปร คือ ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับพยาบาลผู้ร่วมงาน ความคลุมเครือในบทบาท เอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ ลักษณะทางพุทธศาสนา 3 ตัวแปรคือ ความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา และอิทธิบาท 4 ส่วนตัวแปรตามได้แก่ พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ 5 ตัวแปรได้แก่ พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านรวม พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาท เชิงวิชาชีพด้านการป้องกันโรค พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านส่งเสริมและคงไว้ซึ่งสุขอนามัย พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านการดูแลรักษา และพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิง วิชาชีพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ทั้งหมดนี้กระทำในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่แบ่งตามลักษณะภูมิหลังของพยาบาล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ 1. ตัวพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการทำนายพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ พบว่า 1.1 พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านรวม ตัวแปรเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ ปฏิสังสรรค์ถ่ายทอดเชิงวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมด้านนี้ได้ร้อยละ 22.08 เมื่อทำการวิเคราะห์ในกลุ่มย่อย 5 กลุ่มพบว่า เอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพเป็นตัวทำนายอันดับแรกโดยทำนายได้ 4 กลุ่ม 1.2 พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านการป้องกันโรคและด้านการส่งเสริมและ คงไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยพบว่า ตัวแปรเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับพยาบาล ผู้ร่วมงาน อิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมด้านนี้ได้ร้อยละ 13.88 และ 13.21 ตามลำดับ เมื่อพิจารณากลุ่มย่อยก็พบว่าตัวแปรเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ อิทธิบาท 4 ต่างก็เป็นตัวพยากรณ์อันดับแรกที่ทำนาย พฤติกรรมด้านนี้ในกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม 1.3 พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านการดูแลรักษา และด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพพบว่า ตัวแปรเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายถอดทางวิชาชีพกับพยาบาลผู้ร่วมงาน ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอด ทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ ร่วมกันทำนายพฤติกรรมด้านนี้ได้ร้อยละ 15.71 และ 16.04 ตามลำดับ เมื่อพิจารณา กลุ่มย่อยก็พบว่าตัวแปรเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ อิทธิบาท 4 ต่างก็เป็นตัวแปรอันดับแรกที่ทำนายพฤติกรรมด้าน นี้ในกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม 2. ระดับพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพทั้ง 4 ด้านของพยาบาลที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบว่า ระดับพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทุกกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมแต่ละด้านก็พบว่า พยาบาลกลุ่มตัวอย่างแสดงพฤติกรรมการให้การพยาบาลตาม บทบาทเชิงวิชาชีพด้านการดูแลรักษามากที่สุดและแสดงพฤติกรรมการให้การพยาบาลด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพน้อย ที่สุดทั้งในกลุ่มร่วมและกลุ่มย่อยทุกกลุ่ม 3. ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ ความคลุมเครือในบทบาท ร่วมกันส่งผลต่อ พฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านการดูแลรักษาในกลุ่มรวม ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพพบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ และความคลุมเครือในบทบาท ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมด้านการดูแลรักษา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคลุมเครือในบทบาทกับอิทธิบาท 4 ร่วมกันส่งผล ด้านพฤติกรรมด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพกับอิทธิบาท 4 ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมด้านการป้องกัน ส่วนกลุ่มพยาบาลเทคนิค พบว่า ความคลุมเครือในบทบาทกับการปฏิบัติทาง พุทธศาสนาส่งผลพฤติกรรมการให้การพยาบาลด้านรวม ส่วนในกลุ่มพยาบาลที่มีประสบการณ์ 2-5 ปีก็พบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคลุมเครือในบทบาทกับอิทธิบาท 4 ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาท เชิงวิชาชีพด้านการป้องกันโรค ด้านการดูแลรักษา และด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ 4. ลักษณะทางจิตสังคมพบว่า ปฏิสังสรรค์ถ่ายทอดเชิงวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ เอกลักษณ์บทบาท เชิงวิชาชีพส่งผลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านรวมและด้านย่อยทุกด้านในกลุ่มรวม ส่วน กลุ่มย่อยพบว่าปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ เอกลักษณณ์บทบาทเชิงวิชาชีพ ส่งผล ต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพด้านรวมและด้านย่อยทุกด้าน 2 ใน 5 กลุ่ม นั้นคือพยาบาลที่มี ปฏิสังสรรค์เชิงถ่ายทอดทางวิชาชีพกับบุคลากรในทีมสุขภาพ หรือมีเอกลักษณ์บทบาทเชิงวิชาชีพสูงเป็นผู้ให้การ พยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพมากกว่าพยาบาลในกลุ่มตรงข้าม 5. ลักษณะทางพุทธศาสนา พบว่า อิทธิบาท 4 ส่งผลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิงวิชาชีพ ด้านรวมและด้านย่อยในกลุ่มรวม ส่วนกลุ่มย่อยพบว่า อิทธิบาท 4 ส่งผลต่อพฤติกรรมการให้การพยาบาลตามบทบาทเชิง วิชาชีพด้านรวมและด้านย่อยถึง 3 ใน 5 กลุ่มกล่าวคือ พยาบาลที่มีอิทธิบาท 4 สูงเป็นผู้ให้การพยาบาลมากกว่าพยาบาล ในกลุ่มตรงข้าม | SWU | | BSRI |