ประธาร วสวานนท์. 2541. ปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการวางแผนการสอนของ ข้าราชการครู โรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายพฤติกรรม การวางแผนการสอน จากตัวแปรเจตนาที่จะวางแผนการสอน การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการวางแผนการสอน และพฤติกรรมการวางแผนการสอนในอดีต 2) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการอธิบายเจตนาที่จะวางแผน การสอนจากตัวแปรเจตคติต่อพฤติกรรมการวางแผนการสอน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับความสามารถในการ ควบคุมการวางแผนการสอน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 3.1 เจตคติต่อพฤติกรรมการวางแผนการสอน กับ ความเชื่อ เกี่ยวกับพฤติกรรมและการประเมินผลกรรม 3.2 การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง กับความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง และแรงจูงใจที่จะ คล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 3.3 การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กับ ความเชื่อเกี่ยวกับการ ควบคุมและการรับรู้อิทธิพล ของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อพฤติกรรม ประชากร เป็นข้าราชการครูสังกัดโรงเรียน มัธยมศึกษากรมสามัญศึกษา จังหวัด อุบลราชธานี ที่สอนระดับมัธยมศึกษา ระหว่างภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 2,700 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้าราชการครูสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ที่สอนระดับมัธยมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2540 จำนวน 485 คน ได้แบบสอบถามคืน 305 ฉบับ คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 62.88 ใช้แบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง 8 แบบวัด ใช้สถิตการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น และสถิติที ในการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) เจตนาที่จะวางแผนการสอน การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการ วางแผนการสอน ในอดีต ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการวางแผนการสอนคาบแรกของสัปดาห์ ได้ถูกต้องร้อยละ 85.19 ทำนายพฤติกรรมการไม่วาง แผนการสอนคาบแรกของสัปดาห์ได้ถูกต้องร้อยละ 66.39 และโดยภาพรวมทำนายได้ถูกต้อง ร้อยละ 77.11 โดยที่มีพฤติกรรม การวางแผนการสอนในอดีตและการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม 2) เจตนาที่จะวางแผนการสอนการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการวางแผน การสอน ในอดีต ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการวางแผนการสอนตลอดหนึ่งสัปดาห์ได้ร้อยละ 58.98 โดยที่มีพฤติกรรมการ วางแผนการ สอนในอดีตเพียงตัวเดียว ที่ทำนายพฤติกรรมการวางแผนการสอนตลอดหนึ่งสัปดาห์ได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001 3) เจตคติต่อการวางแผนการสอน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุม การวางแผน การสอน ร่วมกันทำนายเจตนาที่จะวางแผนการสอนคาบแรกของสัปดาห์ได้ร้อยละ 33.37 การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการวางแผนการสอนเป็นอันดับ 1 และเจตคติต่อการวางแผนการสอนเป็นอันดับ 2 ทำนายเจตนาที่จะวางแผนการสอนคาบแรกของสัปดาห์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) เจตคติต่อการวางแผนการสอน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมการวางแผน การสอน ร่วมกันทำนายเจตนาที่จะวางแผนการสอนตลอดสัปดาห์ได้ร้อยละ 36.58โดยมีการรับรู้ความสามารถในการ ควบคุม การวางแผนการสอนเป็นอันดับ 1 และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเป็นอันดับ 2 ที่ทำนายเจตนาที่จะวางแผน การสอนตลอดสัปดาห์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5) เจตคติต่อการวางแผนการสอน มีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมและการประเมินผลกรรม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .6113 6) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง มีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามตามกลุ่ม อ้างอิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .4950 7) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม และการรับรู้ อิทธิพลของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .1330 | SWU | | BSRI |