ณัฐสุดา สุจินันท์กุล. 2541. ปัจจัยด้านครอบครัว การทำงานและลักษณะส่วนบุคคลที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยประเภทความสัมพันธ์เปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพที่มีปัจจัยด้านครอบครัว ด้านสภาพการทำงาน ด้านจิตใจและลักษณะทางพุทธศาสนาแตกต่างกัน และประการที่สอง เพื่อหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายพฤติกรรมการ พยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ การวิจัยนี้ศึกษากลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพหญิงนับถือศาสนาพุทธที่ประจำการตามหน่วยงานต่างๆ ที่มีผู้ป่วยโรคทางด้านอายุรกรรม หรือด้านศัลยกรรมในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง และเป็นบุคคล ที่ปฏิบัติงานแบบผลัดเวรในหอผู้ป่วยหนึ่งๆ มาไม่น้อยกว่า 6 เดือนสมรสแล้วและยังอยู่ด้วยกันกับสามีในบ้านเดียวกัน อย่างน้อย 6 เดือน จำนวน 299 คน ตัวแปรอิสระที่ศึกษา ครั้งนี้มี 4 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ปัจจัยด้านครอบครัวมี 4 ตัวแปร ได้แก่ การปรับตัวระหว่างคู่สมรส การรับรู้ภาระของครอบครัว การยอมรับของสามีเรื่องการทำงานในวิชาชีพพยาบาล และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกในครอบครัว กลุ่มที่สองคือ ปัจจัยด้านสภาพการทำงาน มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ความเครียดจากสภาพการทำงานและการรับรู้การสนันสนุนทางสังคมจากบุคคลในหน่วยงาน กลุ่มที่สามคือ ปัจจัยด้านจิตใจ และลักษณะทางพุทธศาสนา มี 4 ตัวแปร ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน ทัศนคติต่อพฤติกรรมการพยาบาลการปฏิบัติทาง พุทธศาสนา และวิถีชีวิตแบบพุทธ กลุ่มที่สี่คือ ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังบางประการจัดเป็นตัวแปรแบ่งกลุ่มมี 4 ตัวแปรได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน จำนวนและอายุบุตร ระดับเศรษฐกิจของครอบครัว สำหรับตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการพยาบาล ตัวแปรในการวิจัยนี้มีทั้งสิ้น 16 ตัวแปร ตัวแปรหลักทั้งหมดเป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องจึงใช้การ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง และวิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ทั้งในกลุ่มพยาบาล โดยรวมและกลุ่มที่แยกย่อยตามลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง การวิเคราะห์ข้อมูลพบผลที่สำคัญเด่นชัด 3 ประการดังนี้คือ 1. พยายาลที่มีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากคือ ผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมาก มีความเชื่ออำนาจ ในตนสูง ปรับตัวเข้ากับสามีได้ดี มีวิถีชีวิตแบบพุทธ และปฏิบัติทางพุทธศาสนามาก แต่มีความเครียดจากสภาพการทำงานน้อย พบผลเด่นชัดในกลุ่มพยาบาลโดยรวมและกลุ่มที่แยกย่อยตามลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังหลายกลุ่ม ที่สำคัญคือ กลุ่มพยาบาลอายุมาก กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก และกลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือนสูง เมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร 2 ด้าน พบผลน่าสนใจว่า 1) พยาบาลที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมาก และมีวิถีแบบพุทธมากด้วย จะมีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากที่สุดในทุกกลุ่มเปรียบเทียบ พบผลเด่นชัดในกลุ่มพยาบาลโดยรวม กลุ่ม พยาบาลอายุมาก กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก กลุ่มพยาบาลที่บุตรคนที่สองมีอายุน้อย และกลุ่มพยาบาล มีระดับเงินเดือนต่ำ (2) พยาบาลที่ปรับตัวเข้ากับสามีได้มาก ถ้ามีความเครียดจากสภาพการทำงานน้อย จะมีพฤติกรรมการ ทำงานอย่างเหมาะสมมากที่สุดในทุกกลุ่มเปรียบเทียบผลนี้พบเด่นชัดในกลุ่มพยาบาลโดยรวม กลุ่มพยาบาลอายุมาก กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก และกลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือนต่ำ และเมื่อพิจารณา ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 ด้าน พบผลน่าสนใจว่า (1) พยาบาลที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมาก มีความเชื่ออำนาจ ในตนสูงและมีวิถีชีวิตแบบพุทธมากด้วย จะมีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากที่สุดในทุกกลุ่มเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า แม้พยาบาลที่มีความเชื่ออำนาจในตนต่ำ มีวิถีชีวิตแบบพุทธมากหรือน้อยก็ตาม ถ้ายังมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมาก จะมีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากกว่าผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานน้อย ผลดังกล่าวพบเด่นชัดโดยเฉพาะกลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก กลุ่มพยาบาลที่บุตรคนแรกมีอายุน้อย และกลุ่ม พยาบาลมีระดับเงินเดือนต่ำ (2) พยาบาลที่ปรับตัวเข้ากับสามีได้น้อย รับรู้ว่ามีภาระในครอบครัวน้อย ถ้าบุตรคนแรกมีอายุมาก จะมีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากกว่าผู้ที่บุตรคนแรกมีอายุน้อย พบผลเด่นชัดโดยเฉพาะกลุ่มพยาบาลอายุน้อย กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานน้อย และกลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือนต่ำ 2. พบว่าปัจจัยด้านครอบครัว ด้านสภาพการทำงาน ด้านจิตใจและลักษณะทางพุทธศาสนา รวม 10 ตัวแปร สามารถทำนายพฤติกรรมการทำงาน (จากการประเมินตนเอง) ในกลุ่มพยาบาลประเภทต่างๆ ได้มากกว่าร้อยละ 44 ขึ้นไป โดยทำนายได้มากที่สุดร้อยละ 56 ในกลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือนสูง ตัวทำนายสำคัญคือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการ ทำงาน ความเชื่ออำนาจในตน การปฏิบัติทางพุทธศาสนา และวิถีชีวิตแบบพุทธ ตามลำดับ อาจกล่าวได้ว่า ถ้าพยาบาลมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการทำงานมาก มีความเชื่ออำนาจในตนสูง มีการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และยึดมั่นในวิถีชีวิตแบบพุทธมากเท่าใด ก็มีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากเท่านั้น ส่วนปัจจัยด้านสภาพการทำงาน ทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 8 ในกลุ่มพยาบาลโดยรวม และร้อยละ 3 ถึง 13 ในกลุ่มย่อย 10 กลุ่ม กลุ่มที่ทำนายได้มาก ที่สุดคือ กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก มีตัวทำนายสำคัญคือ ความเครียดจากสภาพการทำงานสำหรับมีระยะเวลา การทำงานมาก มีตัวทำนายสำคัญคือ เครียดจากสภาพการทำงาน สำหรับปัจจัยด้านครอบครัว ทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 4 ในกลุ่มพยาบาลโดยรวมและร้อยละ 2 ถึง 15 ในกลุ่มย่อย 10 กลุ่ม กลุ่มที่ทำนายได้มากที่สุดคือ กลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือน สูงมีตัวทำนายสำคัญคือ การปรับตัวระหว่างคู่สมรส 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือสมมติฐานให้ภาพรวมว่า ปัจจัยด้านสถานการณ์ในครอบครัวและจาก สภาพการทำงานของพยาบาลกลุ่มศึกษา (ที่สำคัญคือ การปรับตัวระหว่างคู่สมรส การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากบุคคล ในหน่วยงาน การรับรู้ภาระของครอบครัว และรับรู้การสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกในครอบครัว) มีแนวโน้มจะสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการพยาบาลทางอ้อม โดยส่งผลกระทบต่อจิตใจของพยาบาล ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการทำงานมากหรือน้อย และมีความเครียดจากสภาพการทำงานมากหรือน้อยแล้วผลที่เกิดกับจิตใจนี้เองที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานอย่าง เด่นชัดมากกว่าที่ปัจจัยด้านสถานการณ์ในครอบครัวและจากสภาพการทำงาน จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงานโดยตรง ผลการวิจัยครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลที่มีพฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมาก คือ กลุ่มพยาบาลอายุมาก กลุ่มพยาบาลมีระยะเวลาการทำงานมาก และกลุ่มพยาบาลมีระดับเงินเดือนสูง ผู้ซึ่งมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมาก มีความเชื่ออำนาจในตนสูง ปรับตัวเข้ากับสามีได้มาก มีวิถีชีวิตแบบพุทธและปฏิบัติทางพุทธศาสนามาก แต่มีความเครียด จาสภาพการทำงานน้อย ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานพยาบาล อันดับแรกที่ผู้บริหาร ควรตระหนักและให้ความสำคัญคือ (1) ควรเสริมสร้างลักษณะทางจิตใจและลักษณะทางพุทธศาสนาดังกล่าวข้างต้น ให้กับพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มพยาบาลที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นในระดับต่ำ ด้วยการจัดรูปแบบพัฒนาหรือ ฝึกอบรมเช่น การฝึกอบรมทางพุทธศาสนาเชิงธรรมะการปฏิบัติ หรือการฝึกอบรมทางพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาให้พยาบาล มีลักษณะทางจิตใจที่เหมาะสมคือ มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานพยาบาลมากขึ้น และมีความเชื่ออำนาจในตนในการทำงาน พยาบาลสูงขึ้น (2) ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความเครียดจากสภาพการทำงาน โดยส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเครียดในการทำงาน ที่สำคัญผู้บริหาร หัวหน้าหอผู้ป่วย ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทุกระดับควรร่วมมือกัน อย่างจริงจังที่จะปรับปรุงแก้ไขต้นเหตุของความเครียดที่เกิดจากสภาพการทำงาน และ(3) ควรจัดสวัสดิการที่เอื้อต่อการ ปรับตัวระหว่างคู่สมรส เช่น การจัดตารางการปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นสามารถแลกเวรในผลัดต่างๆ ได้ และควรให้สวัสดิการ การออกเวรบ่าย-เวรดึก เมื่อปฏิบัติงานมานานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เป็นต้น ให้กับพยาบาลวิชาชีพที่สมรสแล้ว และยังคง ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานได้ดี เป็นเวลานาน ซึ่งพยาบาลเหล่านี้เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งต่อ งานด้านการพยาบาล เพื่อให้พยาบาลเหล่านี้ยังคงพอใจที่จะทำงานพยาบาลต่อไป เป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้องและให้บริการ การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิผลสูง | SWU | | BSRI |