พรรัตน์ พันธ์ศรีมังกร. 2540. ตัวแปรที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจภายในในการทำงานของ พยาบาลวิชาชีพประจำการตามทฤษฎีคุณลักษณะงาน. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. งานวิจัยเรื่อง ตัวแปรที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจภายในในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพประจำการตาม ทฤษฏีคุณลักษณะงานมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงาานกับสภาวะทางจิตในกลุ่มพยาบาลที่มี ความต้องการความก้าวหน้า และความพึงพอใจในบริบทของงานแตกต่างกัน 2. เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธิ์ระหว่างสภาวะทางจิตโดยรวม (ผลคูณของคะแนนการรับรู้คุณค่า ของงาน กับการรับรู้ด้านความรับผิดชอบผลของงานและการรับรู้ผลลัพธ์ของงาน) กับแรงจูงใจภายในในการทำงาน ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้า และความพึงพอใจในบริบทของงานแตกต่างกัน 3. เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการจูงใจของงานกับแรงจูงใจภายในใน การทำงานในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าแตกต่างกันในกลุ่มที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานแตกต่างกัน และในกลุ่มที่มีทั้งความต้องการก้าวหน้า ความพึงพอใจในบริบทของงานแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐบาล ปี 2540 เขต จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทั้งห้า สังกัด จำนวนแปดโรงพยาบาล คือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาล ราชวิถีและ โรงพยาบาลเลิศสิน สังกัด ทบวมหาวิทยาลัย ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี สังกัดกระทรวงกลาโหม ได้แก่โรงพยาบาล พระมงกุฏ และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่โรงพยาบาลตากสิน และโรงเรียนกลาง และสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้แก่โรงพยาบาลตำรวจในทุกแผนกของโรงพยาบาล จำนวน 406 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งเป็นตัวแปรอิสระสามด้าน สิบตัวแปรย่อย คือ 1) ตัวแปร คุณลักษณะงานแบ่งออกเป็นห้าตัวแปรย่อย ได้แก่ ความหลากหลายของทักษะ ความมีเอกลักษณ์ของงานความ สำคัญของงาน ความเป็นอิสระของงาน และข้อมูลย้อนกลับ 2) ตัวแปรสภาวะทางจิตแบ่งออกเป็นสามตัวแปรย่อย ได้แก่ การรับรู้คุณค่าของ งาน การรับรู้ด้านความรับผิดชอบผลของงาน การรับรู้ในผลของงาน และ 3) ตัวแปรลักษณะบุคคล สองตัวแปรได้แก่ ความต้องการก้าวหน้า ความพึงพอใจในบริบทของงาน สำหรับตัวแปรตามคือแรงจูงใจภายในใน การทำงานของพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้สถิติ เปอร์เซนไตล์ และ t-test ในการแบ่งกลุ่ม สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้สถิติ Fisher' s ZI-test และc2-test ในการทดสอบสมมติฐาน และวิเคราะห์เพิ่มเติมโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อหาตัวแปรที่อภิปรายความ แปรปรวน ของแรงจูงใจภายในในการทำงานของพยาบาลที่ดีที่สุด ผลการวิจัยพบว่า 1. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง การรับรู้คุณลักณะงานพยาบาลมีความสัมพันธ์กับ สภาวะทางจิตไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำ 2. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานสูง การรับรู้คุณลักษณะงานพยาบาลมีความสัมพันธ์กับ สภาวะทางจิตไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานต่ำ 3. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง การรับรู้สภาวะทางจิตโดยรวม มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ภายในในการทำงานพยาบาลไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำ 4. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานสูง การรับรู้สภาวะทางจิตโดยรวมมีความสัมพันธ์กับ แรงจูงใจภายในในการทำงานพยาบาลไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานต่ำ 5. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง ศักยภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจ ภายใน ในการทำงานไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำ 6. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานสูงศักยภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธกับ แรงจูงใจ ภายในในการทำงานไม่แตกต่างจากกลุ่มพยาบาลที่มีความพึงพอใจในบริบทของงานต่ำ 7. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูงแต่มีความพึงพอใจในบริบทของงานต่ำ ศักยภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจภายในในการทำงานแตกต่างจากพยาบาลอีกสามกลุ่มที่เหลือคือ (1) กลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำและมีความพึงพอใจในบริบทของงานต่ำ (2) กลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการ ก้าวหน้า ต่ำแต่มีความพึงพอใจในบริบทของงานสูง และ (3) กลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูงและมีความพึงพอใจ ในบริบทของงานสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ในกลุ่มพยาบาลที่มีความต้องการก้าวหน้าสูงและมีความพึงพอใจใน บริบทของงานต่ำ ศักยภาพการจูงใจของงานมีความสมพันธ์กับแรงจูงใจภายในในการทำงานในทางลบ ส่วนอีกสามกลุ่ม ศักยภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจภายในในการทำงานในทางบวก 8. ผลการวิเคราะห์เพิ่มเติ่มในกลุ่มรวม พบว่า ตัวแปรสภาวะทางจิตทั้งจิตทั้ง 3 ตัวแปรสามารถร่วมกันทำนาย แรงจูงใจภายในในการทำงานได้ 50.28 % โดยที่การรับรู้คุณค่าของงาน อธิบายแรงจูงใจ ภายในในการทำงานได้ดีที่สุดคือ 41.77% ส่วนตัวแปรคุณลักษณะงานทั้งสามคุณลักษณะงานคือ ความหลากหลายทักษะ ความสำคัญของาน และความมีเอกลักษณ์ของงาน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้คุณค่าของงานได้ 20.95 % โดยที่ ความมีเอกลักษณ์ของงาน อธิบายความแปรปรวนของการรับรู้คุณค่าของงานได้ดีที่สุดคือ 14.02 % 9. ความเป็นอิสระของงาน อธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ด้านความรับผิดชอบผลของงานได้ 6.55 % 10. ข้อมูลย้อนกลับจากงาน อธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ในผลของงานได้ 33.06 % | SWU | | BSRI |