นายนริศว์ ปรารมย์. 2539. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับลักษณะการเผชิญปัญหาของนักเรียน วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของครอบครัว และลักษณะทางชีวสังคมกับรูปแบบการเผชิญปัญหาแต่ละ รูปแบบ 2. เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ความเชื่ออำนาจในตน การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การ อบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และการสนับสนุนทางสังคม ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะการเผชิญปัญหาระดับปกติและ ลักษณะ การเผชิญปัญหาระดับที่มีแนวโน้มจะเป็นปํญหาในแต่ละรูปแบบ 3. เพื่อจำแนกและทำนายลักษณะการเผชิญปัญหาแต่ละรูปแบบของกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะการเผชิญปัญหาระดับ ปกติ และลักษณะเผชิญปัญหาระดับที่มีแนวโน้มจะเป็นปัญหา ด้วยปัจจัยทางจิตลักษณะและการรับรู้สภาพแวดล้อม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครสังกัดกอง การมัธยมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2538 จำนวน 367 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามภูมิหลังของครอบครัว และลักษณะทางชีวสังคม แบบประเมินลักษณะการ เผชิญปัญหา แบบวัดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน แบบวัดการอบรมเลี้ยงดูและ แบบวัด การสนับสนุนทางสังคม การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังทางครอบครัว และชีวสังคมกับลักษณะการ เผชิญปัญหา โดยใช้สถิติ ไค-สแควร์เปรียบเทียบปัจจัยทางด้านจิตลักษณะและการรับรู้สภาพแวดล้อมกับลักษณะการเผชิญ ปัญหาของนักเรียน โดยใช้ สถิติ t-testจำแนกและทำนายลักษณะการเผชิญปัญหาแต่ละรูปแบบของนักเรียนวัยรุ่นที่มี ลักษณะ การเผชิญปัญหาระดับปกติและระดับที่มีแนวโน้มจะเป็นปัญหาด้วยปัจจัยด้านจิตลักษณะ และการรับรู้สภาพแวดล้อม โดยใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกประเภท ผลการวิจัย สรุปดังนี้ 1. ปัจจัยทางด้านภูมิหลังของครอบครัวและลักษณะทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ ลำดับการเกิด สถานภาพสมรสของบิดามารดา รายได้ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับลักษณะการเผชิญปัญหาแบบโจมตีผู้อื่น สถานภาพสมรสของบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับลักษณะการเผชิญปัญหาแบบทำร้ายตนเอง รายได้ของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับลักษณะการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยงโดยโทษตนเอง และแบบปฏิเสธสิ้นเชิง 2. เมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเผชิญปัญหากับปัจจัยต่างๆ พบว่านักเรียนวัยรุ่นที่มีลักษณะการเผชิญปัญหาแต่ละ รูปแบบ ในระดับปกติและในระดับที่มีแนวโน้มจะเป็นปัญหามีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง ความเชื่ออำนาจในตน การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผล และการสนับสนุนทางสังคมแตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านจิตลักษณะและการรับรู้สภาพแวดล้อมสามารถจำแนกและทำนายการเผชิญปัญหาแต่ละรูปแบบ ของนักเรียนวัยรุ่นที่มีลักษณะการเผชิญปัญหาระดับปกติและลักษณะการเผชิญปัญหาระดับที่มีแนวโน้มจะเป็นปัญหาได้ | SWU | | BSRI |