นุชนารถ ธาตุทอง. 2539. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในบทบาทความ คลุมเครือในบทบาทลักษณะทางจิตบางประการกับพฤติกรรมการทำงานของนักวิชาการ ศึกษาในส่วนภูมิภาค. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของตัวแปรจิตลักษณะ และตัวแปรลักษณะทางสังคม ในการทำนายพฤติกรรมการทำงานของนักวิชาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ระดับอำเภอ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานของนักวิชาการศึกษาในส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ ที่มีลักษณะทางจิตและลักษณะ ทางสังคมแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักวิชาการศึกษาที่ปฏิบัติงานแผนงานและพัฒนาชนบทในส่วนภูมิภาค ระดับอำเภอ จำนวน 256 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตอน 1 แบบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และระยะเวลาในการทำงาน ตอน 2 ประกอบด้วย แบบสอบถาม 8 ฉบับ คือ แบบวัดความเชื่ออำนาจภายในตน แบบวัดทัศนคติสภาพการทำงาน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดสุขภาพจิต แบบวัดความขัดแย้งในบทบาท แบบวัดความคลุมเครือในบทบาท แบบวัดพฤติกรรมการทำงานตามการรายงานของตนเอง และแบบวัดพฤติกรรมการทำงานตามการรายงานของ ผู้บังคับบัญชา การวิเครวะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ มีดังนี้ คือ 1. ศึกษาประสิทธิภาพของตัวแปรจิตลักษณะและตัวแปรลักษณะทางสังคม ในการทำนายพฤติกรรมการทำงาน ของนักวิชาการศึกษาในส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ พบว่า 1.1 ความคลุมเครือในบทบาท แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทัศนคติต่อสภาพการทำงานสามารถร่วมกัน ทำนายพฤติกรรมการทำงานของนักวิชาศึกษาได้ร้อยละ 52 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานของนักวิชาการศึกษาในส่วนภูมิภาคระดับอำเภอตามลักษณะทางจิต และลักษณะทางสังคม พบว่า 2.1 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในบทบาทและสุขภาพจิต ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย แต่พบว่า นักวิชาการศึกษาที่มีความขัดแย้งในบทบาทต่ำ มีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มีความขัดแย้งในบทบาทสูง และยังพบว่านักวิชาการศึกษาที่มีสุขภาพจิตดี มีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มีสุขภาพจิตไม่ดี 2.2 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคลุมเครือในบทบาทและสุขภาพจิตในกลุ่มรวม แต่ปรากฏผลในกลุ่ม นักวิชาการศึกษาอายุน้อยตามการรายงานของผู้บังคับบัญชา เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการ ของเชฟเฟแล้ว พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและยังพบว่านักวิชาการศึกษาที่มีความคลุมเครือในบทบาท ต่ำ มีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชากรศึกษาที่มีความคลุมเครือในบทบาทสูง 2.3 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในกลุ่มรวม แต่ปรากฏผลในกลุ่มนักวิชาการศึกษาที่มี วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟแล้ว พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่า นักวิชาการศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีพฤติกรรมการ ทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ 2.4 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการทำงานและความขัดแย้งในบทบาททั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย แต่พบว่า นักวิชาการศึกษาที่มีความขัดแย้งในบทบาทต่ำพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มีความขัดแย้ง ในบทบาทสูง 2.5 นักวิชาการศึกษาอายุมากที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนสูงมีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษา ในกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะนักวิชาการศึกษาอายุมากที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนต่ำ และนักวิชาการศึกษาอายุน้อย ที่มีความเชื่ออำนาจในตนสูง 2.6 มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวุฒิการของเซฟเฟแล้ว พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบว่า นักวิชาการศึกษาที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำงาน | SWU | | BSRI |