วิลาวัณย์ ภูขมัง. 2539. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริม สมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลตามลักษณะทางจิตสังคม และลักษณะทางภูมิหลัง 2) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่ สำคัญในการทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยนี้ คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลชายและหญิง ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ปฏิบัติงาน ตามสถานีอนามัยตำบล และหมู่บ้าน ในปี พ.ศ.2538 จำนวน 308 คน ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาจากประชากรทั้งหมด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามลักษณะทางภูมิหลัง ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ รายได้ ประสบการณ์การทำงาน และการได้รับข่าวสาร สมุนไพร ตอนที่ 2 ประกอบด้วยแบบสอบถาม 4 ฉบับ คือ แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร แบบวัดทัศนคติต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม แบบวัดความคลุมเครือภายในบทบาท ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดแรงจูงใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1. จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลตามลักษณะทางจิตสังคม และ ลักษณะทางภูมิหลัง พบว่า 1.1 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศ และการได้รับข่าวสารสมุนไพร แต่พบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่ได้รับ ข่าวสารสมุนไพรจะมีพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรมากกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่ได้รับข่าวสารสมุนไพรต่ำ 1.2 มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจตามทฤษฎีความคาดหวัง และความคลุมเครือในบทบาท โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีแรงจูงใจตามทฤษฎีความคาดหวังสูง ถ้ามีความคลุมเครือในบทบาทต่ำจะมีพฤติกรรม ส่งเสริมสมุนไพรมากกว่ากลุ่มที่มีความคลุมเครือในบทบาทสูง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีความคลุมเครือในบทบาทต่ำ ถ้ามีแรงจูงใจตามทฤษฎีความคาดหวังสูงจะมีพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรมากกว่ากลุ่มที่มีแรงจูงใจตามทฤษฏีความคาดหวังต่ำ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีแรงจูงใจตามทฤษฏีความคาดหวังต่ำถ้ามีความคลุมเครือในบทบาทต่ำจะมีพฤติกรรม ส่งเสริมสมุนไพรมากกว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีความคลุมเครือในบทบาทสูง 1.3 ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร และการสนับสนุนทางสังคม แต่พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่ได้รับสนับสนุนทางสังคมสูงมีพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรมากว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล ที่ได้รับสนับสนุนทางสังคมต่ำ 1.4 ไม่มีปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างรายได้ และระยะเวลาในการทำงาน 1.5 มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอายุ และระยะเวลาในการทำงาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีอายุมาก ถ้ามีระยะเวลาในการทำงานน้อยจะมีพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรมากกว่ากลุ่มที่มีระยะเวลาในการทำงานมาก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีระยะเวลาในการทำงานน้อย ถ้ามีอายุมากจะมีพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรมากกว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลที่มีอายุน้อย 2. เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่สำคัญในการทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร 2.1 แรงจูงใจตามทฤษฎีความคาดหวังเป็นตัวแปรที่สำคัญเพียงตัวแปรเดียวที่ทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีอำนาจในการทำนาย 5.80% และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ แรงจูงใจตามความคาดหวังที่ทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร พบว่า ความคาดหวังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประกอบเดียว ที่ทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยมีอำนาจในการทำนาย 9.61% 2.2 การสนับสนุนทางสังคม การได้รับข่าวสารสมุนไพร และความคลุมเครือในบทบาทสามารถร่วมกันทำนาย พฤติกรรมส่งเสริมสมุนไพรได้ 33.42% | SWU | | BSRI |