บังอร เทพเทียน. 2538. ลักษณะหัวหน้าหอผู้ป่วยและสภาวการณ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ ประสิทธิ์ผลของงานในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในเขต กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยมีจุดมุ่งหมาย ในการวิจัย 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาว่ากลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมและ ไม่เหมาะสมกับกลุ่ม มีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันเพียงใด 2) เพื่อศึกษาปริมาณในการทำนายประสิทธิผลในการ ทำงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยและกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้ตัวแปรในทฤษฏีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์และพฤติกรรม การแก้ปัญหา โดยแยกตามลักษณะทางชีวสังคมของหัวหน้าผู้ป่วย 3) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรในทฤษฏีผู้นำ ตามสถานการณ์ของฟีคเลอร์พฤติกรรมการแก้ปัญหา และลักษณะทางชีวสังคมของหัวหน้าผู้ป่วย ที่มีต่อประสิทธิผลในการ ทำงานของหัวหน้า และกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา โดยมีกลุ่มที่ศึกษาเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยและผู้ตรวจการพยาลาล Supervisor) ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 190 คน โดยมีหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 150 คน และผู้ตรวจการพยาบาล จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นประชากรทั้งหมด ตัวแปรที่ศึกษา แบ่งเป็น 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ พฤติกรรมการแก้ปัญหา ลักษณะทางจิตของหัวหน้า สภาวการณ์ของกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและผู้ใต้บังคับบัญชาโครงสร้างงานของกลุ่มและอำนาจ ประจำตำแหน่ง และลักษณะทางชีวสังคม ซึ่งประกอบด้วย อายุ อายุราชการ ระยะเวลาที่เป็นหัวหน้า วุฒิการศึกษาสูงสุด 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้า และประสิทธิผลในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบวัดสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถาม 6 ฉบับ คือ แบบสอบถามลักษณะ ทางชีวสังคม ซึ่งประกอบด้วย อายุ อายุราชการ ระยะเวลาที่เป็นหัวหน้าวุฒิการศึกษาสูงสุด แบบวัดความสัมพันธ์ระหว่าง หัวหน้าและผู้ใต้บังคับชา แบบวัดโครงสร้างงานของกลุ่มมี 2 ส่วน ส่วนแรกมีจำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 2 มีจำนวน 2 ข้อ แบบวัดอำนาจประจำตำแหน่ง แบบวัดลักษณะทางจิตของหัวหน้า แบบวัดพฤติกรรมการแก้ปัญหา ส่วนที่ 2 เป็นแบบวัด สำหรับผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisov) ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ฉบับคือ แบบวัดประสิทธิผลในการ ทำงานของหัวหน้า แบบวัดประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้า แบบวัดประสิทธิผลในการทำงาน ของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางการเปรียบเทียบความ แตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติที และการวิเคราะห์ถดถอยหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบผลที่น่าสนใจ 4 ประการดังนี้คือ 1. จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสม และไม่เหมาะสมกับกลุ่มมีประสิทธิภาพในการทำงาน แตกต่างกันเพียงใด พบว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมกับกลุ่ม มีประสิทธิภาพในการทำงานของหัวหน้าสูงกว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าไม่เหมาะสมกับกลุ่ม พบผลนี้เฉพาะกลุ่มหัวหน้าที่มีอายุมาก อายุราชการมาก และมีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี แต่ไม่พบความแตกต่างในเรื่องระห่วางกลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมและไม่เหมาะสมกับกลุ่ม ในกลุ่มรวม และกลุ่มย่อยอื่นๆ ที่ศึกษาส่วนในด้านประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา กลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมกับ กลุ่มมีประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาสูงกว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าไม่เหมาะสมกับกลุ่มผลนี้พบ ในกลุ่มรวม หัวหน้าที่มีอายุน้อย อายุมาก อายุราชการมาก ระยะเวลาที่เป็นหัวหน้ามากมีการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ไม่พบผลดังกล่าวในกลุ่มอื่นๆ ที่ศึกษา 2. ตัวแปรในทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์ สามารถทำนายประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้าได้ใน กลุ่มย่อย ซึ่งแต่ละกลุ่มย่อยจะพบว่ามีตัวทำนายแตกต่างกัน แต่ตัวแปรอำนาจประจำตำแหน่ง เป็นตัวแปรเดียว ที่ไม่สามารถทำนายประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้าได้เลย สำหรับประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้ บังคับบัญชา พบว่ามีตัวแปรเดียวคือโครงสร้างงานของกลุ่ม สามารถทำนายได้เฉพาะในกลุ่มรวม โดยสามารถทำนายได้ 7.47 % ส่วนในกลุ่มย่อยๆ พบว่า มีตัวทำนายที่แตกต่างกัน แต่ตัวลักษณะทางจิตของหัวหน้าไม่สามารถทำนายประสิทธิผล ในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาได้เลย 3. พฤติกรรมการแก้ปัญหา ร่วมกับตัวแปรในทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟีดเลอร์สามารถทำให้อำนาจในการ ทำนายประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้า เพิ่มขึ้น 3.09% และประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาเพิ่มขึ้น .10 % ในกลุ่มรวม ส่วนในกลุ่มย่อยก็สามารถทำให้อำนาจในการทำนายประสิทธิผลในการทำงานของหัวหน้า และของ กลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม ยกเว้นในกลุ่มหัวหน้าที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี 4. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมกับกลุ่ม และพฤติกรรมการแก้ปัญหา โดยพบว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าเหมาะสมกับกลุ่ม และมีพฤติกรรมการแก้ปัญหาเหมาะสมมาก มีประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่ม ผู้ใต้บังคับบัญชา สูงกว่า กลุ่มที่มีหัวหน้าไม่เหมาะสมกับกลุ่ม และมีพฤติกรรมการแก้ปัญหาเหมาะสมน้อย นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรความเหมาะสมของหัวหน้ากับกลุ่ม เป็นตัวแปรที่ทำให้ประสิทธิผลในการทำงานสูงขึ้น โดยพบว่าหัวหน้าที่เหมาะสมกับกลุ่ม มีประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา สูงกว่าหัวหน้าที่ไม่เหมาะสม กับกลุ่ม ส่วนการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ความเหมาะสมของหัวหน้ากับกลุ่ม และระยะเวลาที่เป็นหัวหน้า ไม่พบว่า มีปฏิสัมพันธ์แต่พบว่าหัวหน้าที่เหมาะสมกับกลุ่ม มีประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา สูงกว่าหัวหน้า ที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่ม | SWU | | BSRI |