อโนชา รัชพรมงคล. 2538. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของ ข้าราชการกองการศึกษา โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะชีวสังคม ปัจจัย ภายนอก และจิตลักษณ์กับความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน (2) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรชีวสังคม ปัจจัยภายนอก และจิตลักษณ์ ที่ทำนายความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน (3) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์และเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในการ ทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะชีวสังคม ปัจจัยภายนอกและจิตลักษณ์แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการ กองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ปีการศึกษา 2537 จำนวนทั้งหมด 178 คน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบ ทดสอบ ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ลักษณะชีวสังคมวัดโดยแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพและภูมิหลัง ของข้าราชการแต่ละคนได้แ ก่ เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา 2) บรรยากาศในการทำงาน วัดโดย แบบสอบถามวัดบรรยากาศในการทำงาน 3) จิตลักษณ์ 3 ด้านคือ ความพอใจในการทำงาน ลักษณะความเป็นผู้นำและ ทัศนคติต่อระบบราชการ ซึ่งวัดด้วยแบบสอบถาม และ 4) ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน วัดโดยแบบทดสอบวัดความคิด สร้างสรรค์ในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว แบบสองทาง และแบบสามทาง, สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สันและถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาค้นคว้า สรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรกลุ่มชีวสังคม ตัวแปรกลุ่มปัจจัยภายนอก และตัวแปรกลุ่มจิตลักษณ์ไม่มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทาง สถิติกับความคิดสร้างสรรค์ แต่สามารถร่วมกันทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อคำนึงถึงความ แตกต่างในเรื่องเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานพร้อมๆ กันแต่เมื่อพิจารณาส่วนย่อย พบว่า ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างระดับการศึกษากับเพศ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีข้าราชการที่มีระดับการศึกษาต่ำเพศชายมีความคิด สร้างสรรค์ในการทำงานด้านความยืดหยุ่นในการคิดสูงกว่ากลุ่มระดับการศึกษาต่ำเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อคำนึงถึง ความแตกต่างในเรื่อง ระดับการศึกษา และความพอใจในการทำงานพร้อมๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาส่วนย่อย พบว่าปฏิสัมพันธ์ ระหว่างระดับการศึกษากับความพอใจในการทำงานมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีข้าราชการที่มีระดับการศึกษาต่ำและ มีความพอใจในการทำงานน้อย มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานด้านความคิดริเริ่มสูงกว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูงและ มีความพอใจในการทำงานมาก แต่ความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อคำนึงความแตกต่างในเรื่อง ลักษณะความเป็นผู้นำ และประสบการณ์ในการทำงานพร้อมๆกัน แต่เมื่อพิจารณาส่วนย่อย พบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะความเป็นผู้นำกับประสบการณ์ในการทำงานมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมี ข้าราชการที่มีลักษณะความเป็นผู้นำต่ำและมีประสบการณ์ในการทำงานสูงมีแนวโน้มความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานด้านความ ยืดหยุ่นในการคิดสูงกว่ากลุ่มที่มีลักษณะความเป็นผู้นำสูงและมีประสบการณ์ในการทำงานต่ำ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อคำนึงถึงความ แตกต่างในเรื่อง ทัศนคติต่อระบบราชการและเพศ พร้อมๆ กัน แต่เมื่อพิจารณาส่วนย่อยพบว่าข้าราชการที่มีทัศนคติไม่ดีต่อ ระบบราชการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานด้านความยืดหยุ่นในการคิดสูงกว่ากลุ่มที่มีทัศนคติที่ดีต่อระบบราชการ อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อบรรยากาศใน การทำงานแตกต่างกัน 7. ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของข้าราชการกองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศไม่แตกต่างกัน เมื่อความพอใจใน การทำงานแตกต่างกัน | SWU | | BSRI |