แสวง ทวีคูณ. 2538. การฝึกเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะในการป้องกันพฤติกรรมทะเลาะวิวาทใน นักเรียนอาชีวศึกษา. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การวิจัยเรื่อง "การฝึกเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะในการป้องกันพฤติกรรมทะเลาะวิวาทในนักเรียนอาชีวศึกษา" นี้ มีจุดประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ในการพัฒนาจิตลักษณะในการป้องกันพฤติกรรม ทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษา และต้องการหาคำตอบว่านักเรียนประเภทใด จะได้รับประโยชน์จากการฝึกแบบใดมากที่สุด ด้วยการเสริมสร้างจิตลักษณะที่สำคัญ 2 ประการคือ ทัศนคติที่ดีต่อการไม่ทะเลาะวิวาท และลักษณะมุ่งอนาคติควบคุมตน โดย ได้พิจารณาลักษณะพื้นฐานทางจิตใจของนักเรียนอีก 4 ประการ คือ สติปัญญา สุขภาพจิต เหตุผลเชิงจริยธรรม และความเชื่อ อำนาจในตนประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนอาชีวศึกษาที่เข้าใหม่เป็นเพศชายทั้งหมด จำนวน 105 คน ก่อนการดำเนินการฝึก ได้มีการวัดลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 4 ด้าน และจิตลักษณะที่จะทำการฝึกอีก 2 ด้าน รวมเป็น 6 ด้าน ต่อจากนั้นได้สุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองเพื่อให้วิธีการฝึกซึ่งมีเนื้อหา และวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่งได้รับการฝึกทัศนคติ และฝึกมุ่งอนาคตควบคุมตน กลุ่มที่สอง ได้รับการฝึกทัศนคติเพียงด้านเดียว กลุ่มที่สาม ได้รับการฝึกมุ่งอนาคตเพียงด้านเดียว กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกในเนื้อหาดังกล่าว แต่ได้ทำกิจกรรมแทน ภายหลังการฝึกได้มีการตรวจสอบการจัดกระทำด้วยการวัดตัวแปรที่เป็นจิตลักษณะและพฤติกรรมในการป้องกัน พฤติกรรมมทะเลาะวิวาท ทั้ง 4 ด้าน คือ ทัศนคติที่ดีต่อการไม่ทะเลาะวิวาท ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความพร้อม ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทะเลาะวิวาทและการเลือกคบเพื่อนอย่างเหมาะสม โดยทำการวัดทันทีหลังจากการฝึกเสร็จสิ้นลง ผลของการวิจัยที่สำคัญมี 3 ประการ ประการแรก พบว่า การฝึกทัศนคติส่งผลดีต่อทัศนคติที่ดีต่อการไม่ทะเลาะวิวาทอย่าางเด่นชัด ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย และการฝึกมุ่งอนาคตควบคุมตนก็ส่งผลดีต่อลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนอย่างเด่นชัดเช่นกัน ไม่ ปรากฏว่าการฝึกทั้ง 2 ด้านนี้มีอิทธิพลร่วมในการพัฒนาจิตลักษณะ และพฤติกรรมในการป้องกันพฤติกรรมทะเลาะวิวาทด้าน ใด แต่พบว่าการฝึกแต่ละด้านนี้ให้ผลแผ่ขยายไปสู่จิตลักษณะอีกด้านหนึ่งในบางกลุ่มย่อยที่สำคัญ ประการที่สอง การฝึกทัศนคติและฝึกมุ่งอนาคตควบคุมตนมีอิธิพลต่อจิตลักษณะในการป้องกันพฤติกรรม ทะเลาะวิวาทในกลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมทางจิตใจสูงเด่นชัดกว่ากลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมทางจิตใจต่ำ ประการที่สาม ในกลุ่มที่ได้รับการฝึกทัศนคติเพียงด้านเดียวตัวแปรจิตลักษณะพื้นฐาน 6 ด้าน สามารถร่วมกัน ทำนายจิตลักษณะ และพฤติกรรมได้สูงสุดคือ ความพร้อมที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทะเลาะวิวาท (ทำนายได้ 84 %) รองลงมาคือ การเลือกคบเพื่อนอย่างเหมาะสม (ทำนายได้ 54 %) โดยมีตัวทำนายที่สำคัญคือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน (1) และเหตุผลเชิงจริยธรรม จากผลการวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ ประการแรก การฝึกเพื่อพัฒนาจิตลักษณะในการป้องกัน พฤติกรรมทะเลาะวิวาท ควรทำในกลุ่มนักเรียนที่มีความพร้อมทางจิตใจสูง ประการที่สอง ถ้าต้องการฝึกทัศนคติเพื่อส่งเสริม การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทะเลาะวิวาท และการเลือกคบเพื่อนอย่างเหมาะสมต้องฝึกในกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุม ตน และเหตุผลเชิงจริยธรรมสูง | SWU | | BSRI |