วิริยา แดงวิสุทธิ์. 2538. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพ พยาบาลในสถานีอนามัยของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น วิทยาลัยพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการวิจัย 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรภายนอก ทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยและการรับรู้ปทัสถานทางสังคมกับความตั้งใจในการเลือก ประกอบอาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพ พยาบาลในสถานีอนามัยระหว่างกลุ่มตัวแปรตามทฤษฏีพิชเบนและไอเซนกับกลุ่มตัวแปรตามทฤษฏีพิชเบนและไอเชน ร่วมกับตัวแปรภายนอก 3) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อในผลของการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย และความเชื่อของบุคคลใกล้ชิดและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามบุคคลใกล้ชิดและแรงจูงใจที่จะคล้อยตามบุคคลใกล้ชิด ระหว่างนักศึกษาพยาบาลที่มีความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยต่างกัน 4) เพื่อเปรียบเทียบ ความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยระหว่างนักศึกษาพยาบาลที่มีลักษณะชีวสังคม ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ระดับต้นที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัย พยาบาล กระทรวงสาธารณสุขในภาคกลาง จำนวน 256 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบง่าย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตอน 1 แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม ประกอบด้วยผลการเรียน อาชีพของบิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา รายได้ของ บิดามารดา ภูมิลำเนา ตอน 2 ประกอบด้วย แบบสอบถาม 5 ฉบับคือ แบบวัดทัศนคติใน การเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาล ในสถานีอนามัย แบบวัดการรับรู้ปทัสถานทางสังคม แบบวัดความตั้งใจในการเลือกประกอบ วิชาชีพพยาบาลใน สถานีอนามัย แบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล แบบวัดความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนา การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัย ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ การใช้สถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1. ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล และความเชื่อทางพุทธศาสนา ทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลใน สถานีอานามัยและการรับรู้ปทัสถานทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานี อนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การรับรู้ปทัสถานทางสังคม สามารถทำนายความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย ได้ 17.66 ทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยไม่สามารถทำนายความตั้งใจในการเลือก ประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยได้ 3. ทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยและการรับรู้ปทัสถานทางสังคมสามารถร่วมกัน ทำนายความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยได้ ร้อยละ 17.73 เมื่อนำตัวแปรทัศนคติต่อวิชาชีพ การพยาบาลความเชื่อทางพุทธศาสนาร่วมกับทัศนคติในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยและการ รับรู้ปทัสถานทางสังคม พบว่า สามารถเพิ่มอำนาจในการทำนายความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาล ในสถานีอนามัยได้ ร้อยละ .85 (P < .05) 4. ความเชื่อของบุคคลใกล้ชิดที่ว่านักศึกษาพยาบาลควรเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย ของนักศึกษาพยาบาลที่ตั้งใจเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่ไม่ตั้งใจเลือกประกอบ วิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย 5. นักศึกษาพยาบาลที่ตั้งใจเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย มีแรงจูงใจที่จะคล้อยตามบุคคล ใกล้ชิด ไม่แตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลที่ไม่ตั้งใจเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัย 6. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลและลักษณะทางชีวสังคม (ผลการเรียน อาชีพของ บิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา รายได้ของบิดามารดาและภูมิลำเนา) ที่มีต่อความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชา ชีพพยาบาลในสถานีอนามัย 7. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนา แต่พบว่านักศึกษาพยาบาลที่มีความเชื่อทาง พุทธศาสนาสูง มีความตั้งใจในการเลือกประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานีอนามัยมากกว่านักศึกษาพยาลาลที่มีความเชื่อ ทางพุทธศาสนาต่ำ | SWU | | BSRI |