เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์. 2538. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคเรื้อนที่มารับบริการ ณ ตึกผู้ป่วยนอก (โรคเรื้อน) โรงพยาบาลพระประแดง จังหวัด สมุทรปราการ. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่สำคัญในการทำนาย ความสามารถในการดูแลตนเอง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน และลักษณะทางจิต 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเอง 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีลักษณะทางชีวสังคม ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน และลักษณะทางจิต 3 ด้าน ที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มารับบริการ ณ ตึกผู้ป่วยนอก (โรคเรื้อน) โรงพยาบาลพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 180 คน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคมซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัวกลุ่มของโรคเรื้อน ระดับความพิการ และระยะเวลาของการเป็นโรคเรื้อน ตอนที่ 2 ประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ฉบับ คือ แบบวัดความรู้ เกี่ยวกับโรคเรื้อน แบบวัดความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้ คือ 1. การค้นหาตัวพยากรณ์ที่สำคัญในการทำนายความสามารถในการดูแลตนเองพบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคม และความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการดูแลตนเองได้ 86.06 % โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวพยากรณ์ที่สำคัญที่สุด 2. การหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน ความเชื่ออำนาจใน-ภายนอกตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเอง พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน ความเชื่ออำนาจภายในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001 3. การเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่มีระดับความพิการความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน และลักษณะทางจิต 3 ด้านที่แตกต่างกัน พบว่า 3.1 ผู้ป่วยที่มีระดับความพิการ 0 มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 3.2 ผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนมากมีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับ โรคเรื้อนน้อย 3.3 ผู้ป่วยที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนสูง มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีความเชื่ออำนาจ ภายนอกตน 3.4 ผู้ป่วยที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ 3.5 ผู้ป่วยที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมาก มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการ สนับสนุนทางสังคมน้อย 3.6 ผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 แต่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนมาก มีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่า ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความพิการระดับ 2 มีควมรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนน้อย 3.7 ผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนมากและมีความเชื่ออำนาจภายในตนมีความสามารถในการดูแลตนเองสูง กว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนน้อยและมีความเชื่ออำนาจภายนอกตน 3.8 ผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนมากและได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งของ ข้อมูลข่าวสารมาก จะมีความสามารถในการดูแลตนเองสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อนน้อยและได้รับการ สนับสนุนด้านสิ่งของ ข้อมูลข่าวสารน้อย 3.9 ผู้ป่วยที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ แต่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากจะมีความสามารถในการดูแล ตนเองสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำและได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อย | SWU | | BSRI |