ปริชาติ ฅันติวัฒน์. 2538. การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานที่ เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะลาออกจากงาน ของพยาบาลประจำการในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ปริญาญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยเรื่อง " การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะลาออก จากงานของพยาบาลประจำการในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข" นี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 เพื่อศึกษาความตั้งในที่จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการที่มีความแตกต่างกันทางปัจจัย ส่วนบุคคลหรือความพึงพอใจในการทำงาน ประการที่ 2 เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจใน การทำงานที่มีผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการ ประการที่ 3 เพื่อศึกษาควาสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจในการทำงานกับความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการ ประการที่ 4 เพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ที่สำคัญ ในการทำนายความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรม การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานดังกล่าว แล้วสุ่มตัวอย่าง และแจกแบบสอบถามจำนวน ทั้งสิ้น 450 คน ลักษณะแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ตอนที่ 2 แบบสอบถาม วัดความพึงพอใจในการทำงาน ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดความตั้งใจที่จะลาอกจากงาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและการเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี เชฟเฟ่ เมื่อพบว่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนมีนัยสำคัญทางสถิติ การคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอย ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลประจำการในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาในการทำงาน 1-10 ปี มีความพึงพอใจในการทำงาน มีความพึงพอใจที่จะลาออกจากงานสูงกว่าพยาบาลที่มีอายุมากว่า 40 ปี การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีมีความพึงพอใจในการทำงานสูง 2. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะลาออกจาก งานของพยาบาลประจำการ 3. ความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจที่จะลาออกจากงาน (r= -.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พบตัวแปรที่มีประสิทธิภาพในการทำนายความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพยาบาลประจำการรวม 6 ตัวแปร คือ 1 ) ความก้าวหน้าในงาน 2) ลักษณะของงาน 3) อายุ 4) สภาพการทำงาน 5) เงินเดือนและสิ่งตอบแทน 6) ความมั่นคง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันทำนายในกลุ่มรวมได้ 37.3% การวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจในการทำงานว่ามีผลต่อความตั้งใจที่จะ ลาออกจากงานของพยาบาลประจำการในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข | SWU | | BSRI |