คอลิค บูสะมัญ. 2538. จิตลักษณ์และปัจจัยทางชีวสังคมบางประการที่มีผลต่อการยอมรับ นโยบายทางการศึกษาด้วยการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของเด็กนักเรียนไทยมุสลิมในจังหวัด สงขลา. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง จิตลักษณ์กับพฤติกรรมการยอมรับนโยบายทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของเด็กนักเรียนไทยมุสลิมในจังหวัดสงขลา โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการยอมรับนโยบายทางการศึกษาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยกับปัจจัยทางชีวสังคม ความเป็นอิสลามิกชน และจิตลักษณ์ในด้านเจตคติต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคต และการสนับสนุนทางสังคม (2) เพื่อต้องการหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายพฤติกรรมการยอมรับนโยบายทางการศึกษาด้าน การส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ของเด็กนักเรียนไทยมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ สุ่มเลือกมาจากนักเรียนไทยมุสลิม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัด กรมสามัญศึกษา ในจังหวัดสงขลา จำนวน นักเรียนในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน เป็นนักเรียนชาย 223 คน นักเรียนหญิง 177 คน (คิดเป็นร้อยละ 55.80 และ 44.30 ตามลำดับ) โดยที่นักเรียนในเขตที่มีอิสลามิกชนมาก เป็นนักเรียน ชาย 114 คน นักเรียนหญิง 86 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.00 และ 43.00 ตามลำดับ) และในเขตที่มีอิสลามิกชนน้อย เป็นนักเรียน ชาย 109 คน นักเรียนหญิง 91 คน (คิดเป็นร้อยละ 54.50 และ 45.50 ตามลำดับ) ตัวแปรที่นำมาศึกษา ครั้งนี้มี 5 กลุ่ม คือ (1) ลักษณะทางชีวสังคม และภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดาและอาชีพของมารดา (2) สภาพที่ตั้งของโรงเรียน ได้แก่ เขตที่มี อิสลามิกชนมาก และเขตที่มีอิสลามิกชนน้อย (3) ความเป็นอิสลามิกชน ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม และการปฏิบัติ ทางศาสนาอิสลาม (4) จิตลักษณ์ของนักเรียน 4 ด้าน ได้แก่ เจตคติต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคต และการสนับสนุนทางสังคม (5) พฤติกรรมการยอมรับนโยบายทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการใช้ ภาษาไทย ได้แก่ความตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของความรู้ การแสงหาความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติ ตัวแปรในกลุ่มนี้วัดโดยใช้แบบวัดที่ประกอบด้วยประโยคที่มีมาตร 6 หน่วย จำนวนฉบับละ 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ได้กระทำหลายวิธี (1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยค่าที (2) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบแฟคตอเรียลสองทาง (2) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3 ข้อ การวิเคราะห์ผลทั้งหมดนี้ได้กระทำทั้งในกลุ่มรวม และกลุ่มย่อย ที่แบ่งตามที่ตั้งของ โรงเรียน ผลการวิจัยที่สำคัยสรุปได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง พบว่า ลักษณะทางชีวสังคม และภูมิหลัง ไม่มีผลต่อการยอมรับนโยบายทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียนไทยมุสลิมในจังหวัดสงขลา ประการที่สอง พบว่า จิตลักษณ์ทั้ง 4 ด้าน ไม่มีปฏิบัติร่วมกับความเป็นอิสลามมิกชนในการยอมรับนโยบายทาง การศึกษาด้านส่งเสริมการใช้ภาษาไทย และพบว่ามีความแปรปรวนไปตามตัวแปรด้านเจตคติต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย และการสนับสนุนทางสังคม ประการที่สาม พบว่า ตัวทำนายการยอมรับนโยบายทางการศึกษาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่สำคัญที่สุดคือ การสนับสนุนทางสังคม รองลงมาเป็นเจตคติต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตามลำดับ เนื่องจากการวิจัยนี้ พบว่า การสนับสนุนทางสังคม และเจตคติต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย เป็นตัวสนับสนุน พฤติกรรม การยอมรับนโยบายทางการศึกษา ด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่สำคัญที่สุดในเขตที่มีอิสลามิกชนมาก ดั้งนั้นจึงควรมีการพัฒนาจิตลักษณ์ทั้ง 2 ด้านนี้ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการยอมรับนโยบายทางการศึกษา ด้านการ ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย โดยการเร่งพัฒนาสภาพสังคมให้เห็นความสำคัญของการศึกษาภาษาไทย งานวิจัยที่ศึกษาในลักษณะเดียวกับงานวิจัยนี้มีอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ศึกษาในบุคคลกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่นักเรียน แต่ที่พอนำมาเปรียบเทียบกันได้บางส่วน ได้แก่ งานวิจัยของ นพนธ์ สัมมา (2323) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการยอมรับ นวกรรมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรที่ยอมรับมันฝรั่งพันธุ์ใหม่มาปลูก เป็นบุคคลที่มีเจตคติที่ดีต่อพืชพันธุ์ใหม่ ส่วนวิชัย เอียดบัว (2534) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครูประถมศึกษา พบว่าครูที่ยอมรับนวัตกรรม ทางวิชาการมาใช้ เป็นบุคคลที่มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู จากที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณ์ที่สำคัญดังกล่าวนี้กับการยอมรับนโยบาย ทางการศึกษาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จิตลักษณ์ดังกล่าวสามารถทำนายหรือมีความเกี่ยวข้องกันมากในบุคคลที่ได้รับ การสนับสนุนทางสังคม มีเจตคติที่ดีต่อการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยแบบเป็นขั้นนี้ สรุปได้ว่า จิตลักษณ์ทั้งสามด้านนี้สามารถทำนายพฤติกรรมการ ยอมรับนโยบายทางการศึกษาด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย จึงกล่าวได้ว่า ผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมติฐานข้อที่ 3 | SWU | | BSRI |