ชุติมา เทศศิริ. 2537. ลักษณะทางพุทธศาสนา และจิตลักษณ์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกกรรมการดูบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคธาลัสซีเมีย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยในครั้งนี้ ต้องการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลบุตรเจ็บป่วย เรื้อรัง รวมทั้งหาตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังได้มากที่สุด จากปัจจัยในด้านลักษณะทางพุทธ ศาสนา (ความเชื่อทางพุทธศาสนา และการปฏิบัติทางพุทธศาสนา) จิตลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลบุตร (ความ วิตกกังวลเกี่ยวกับบุตร ทัศนคติต่อบุตร และความเชื่ออำนาจในตนด้านการดูแลบุตร) ลักษณะทางจิต-สังคม (การรับรู้การ สนับสนุนทางสังคม) และลักษณะทางชีวสังคม กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นบิดามารดาที่มีบุตรเจ็บป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียและได้พาบุตรมารับการตรวจ รักษาที่แผนกผู้ป่วยของโรงพยาบาลของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลเด็ก ในระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนสิหาคม 2536 เป็นจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม แบบวัดพฤติกรรมการ ดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง แบบวัดความเชื่อทางพุทธศาสนา และการปฏิบัติทางพุทธศาสนา แบบวัดความวิตกกังวล เกี่ยวกับบุตร แบบวัดทัศนคติต่อบุตร แบบวัดความเชื่ออำนาจในตนด้านการดูแลบุตร และแบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทาง สังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บิดามารดาที่มีความเชื่อทางพุธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม ความเชื่ออำนาจในตนด้านการดูแลบุตร และทัศนคติที่ดีต่อบุตรสูง แต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตรต่ำ ทั้งยังมีรายได้ของ ครอบครัว และระดับการศึกษาสูง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังมากกว่าบิดามารดาที่มีลักษณะใน แต่ละด้านต่ำ เมื่อเปรียบเทียบในตัวแปรอิสระเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า ความเชื่อทางพุทธศาสนาของบิดา มารดา มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา และรายได้ของครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ 2.1 บิดามารดาที่มีรายได้ของครอบครัวสูง ถ้ามีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูง มีพฤติกรรมที่ เหมาะสมในการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังมากกว่าบิดามารดาที่มีรายได้ของครอบครัวสูง แต่มีความเชื่อและการปฏิบัติทาง พุทธศาสนาต่ำ 2.2 บิดามารดาที่มีรายได้ของครอบครัวต่ำ ถ้ามีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูง มีพฤติกรรมที่ เหมาะสมมากกว่าบิดามารดาที่มีลักษณะต่ำทั้ง 3 ด้านพร้อมกัน 3. พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพุทธศาสนา หรือการปฏิบัติทางพุทธศาสนากับจำนวนบุตรใน ครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ดังนี้ 3.1 บิดามารดาที่มีบุตรเป็นจำนวนน้อย และมีความเชื่อ หรือการปฏิบัติทางพุทธศาสนาด้านใดด้านหนึ่งสูง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง มากกว่าบิดามารดาที่มีบุตรเป็นจำนวนมากและมีความเชื่อหรือการ ปฏิบัติทางพุทธศาสนาต่ำ 3.2 บิดามารดาที่มีบุตรเป็นจำนวนมาก ถ้ามีความเชื่อหรือการปฏิบัติทางพุทธศาสนาด้านใดด้านหนึ่งสูง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรังมากกว่าบิดามารดาที่มีบุตรเป็นจำนวนมาก และมีความเชื่อ หรือการปฏิบัติทางพุทธศาสนาต่ำทั้งสองด้าน 4. ความเชื่อ และการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเชื่ออำนาจในตน ด้านการดูแลบุตร และทัศนคติต่อบุตร แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 5. ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลบุตรเจ็บป่วยเรื้อรัง เรียงตามลำดับ คือความเชื่อทางพุทธศาสนา ความเชื่ออำนาจในตนด้านการดูแลบุตร ทัศนคติต่อบุตร และรายได้ของครอบครัว รวมทำนายได้ 58 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 | SWU | | BSRI |