วรรณะ บรรจง. 2537. ลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจากชุมชน แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะชุมชนและการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว กับลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ที่สำคัญของเยาวชน โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัย 3 ประการ ประการแรกเ พื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะชุมชนและการอบรมเลี้ยงดูกับลักษณะทางศาสนา (ได้แก่ ความเชื่อและการปฏิบัติ ทางพุทธศาสนา) ในเยาวชนประเภทต่างๆ ประการที่สอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะชุมชนและการอบรมเลี้ยงดู กับลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ (ได้แก่ ความเชื่ออำนาจในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมและพฤติกรรมก้าวร้าว) ในเยาวชนประเภทต่างๆ ประการที่สาม เพื่อต้องการทราบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางศาสนากับลักษณะทาง พฤติกรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยนี้คือ เยาวชนผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2536 จากโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง และจากโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่งในจังหวัด นครศรีธรรมราช รวมทั้งสิ้น 401 จำนวน 201 คน เป็นเยาวชนจากชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองที่ได้รับคะแนนจากการ ประเมินคุณภาพของชุมชนด้านศาสนาและวัฒนธรรมสูงสุดจำนวน 200 คน เป็นเยาวชนจากชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ที่ได้รับคะแนนการประเมินคุณภาพของชุมชนด้านศาสนาและวัฒนธรรมต่ำสุด 2 กลุ่ม มีความเท่าเทียมกันทางด้าน เพศ อายุ ระดับเศรษฐกิจของครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดามารดาและประเภทของครอบครัว การวิจัยครั้งนี้ ป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดต่างๆ และแบบสอบถามตัวแปรที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ 1) ลักษณะชุมชน 2 ด้าน วัดโดยแบบสอบถามคุณภาพของชุมชนแบบวัดการร่วมกิจกรรมทาง พุทธศาสนาในชุมชน 2) การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว 2 ด้าน วัดโดยแบบวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แบบวัดการ ส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัว 3) ลักษณะทางศาสนา 2 ด้าน วัดโดยแบบวัดความเชื่อทางพุทธศาสนา แบบวัด การปฏิบัติทางพุทธศาสนา 4) ลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ 3 ด้าน วัดโดยแบบวัดความเชื่ออำนาจภายในตน แบบวัดการ คบเพื่อนอย่างเหมาะสม แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว 5) ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง 6 ตัว วัดโดยแบบสอบถามภูมิหลัง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three way Analysis of Variance) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์แบบแคนอนนิเดิล (Cannonical Correlation) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson Product-Momont Correlation Coefficent) การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดนี้ กระทำในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่แบ่งตาม ลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังของเยาวชนเพื่อให้ได้ผลที่ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลพบผลที่เด่นชัด 3 ประการ ดังนี้คือ ประการแรก เยาวชนหญิงที่บิดาการศึกษาปานกลางถ้าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนและได้รับการส่งเสริม ความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวมากมีความเชื่อภายใจตนมากกว่าเพื่อนอย่างเหมาะสม มากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าว น้อยกว่าเยาวชนทั้งชายและหญิงที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อยและได้รับการ ส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะ จากครอบครัวน้อย และยังพบต่อไปในกลุ่มเยาวชนที่บิดาการศึกษาปานกลางว่า เยาวชนที่ได้รับการ ส่งเสริมเป็นพุทธมามกะ จากครอบครัวมากร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนมากและมาจากชุมชนที่มีคุณภาพสูงมีการ ปฏิบัติทางพุทธศาสนา และคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าผู้ที่ได้รับการส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวน้อย ร่วม กิจกรรมทาง พุทธศาสนาในชุมชนน้อย และมาจากชุมชนที่มีคุณภาพต่ำ ส่วนในเยาวชนกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม ผู้ที่ได้รับการ อบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมากหรือได้รับส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวมากหรือมาจากชุมชนที่มี คุณภาพสูงมีความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา ความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสม มากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าผู้ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวแต่ละแบบน้อยหรือมาจากชุมชนที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้เยาวชนที่ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนมากมีความเชื่อทางพุทธศาสนาและคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่า ผู้ที่ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนน้อยซึ่งพบผลในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม ประการที่สอง เพื่อนำตัวแปรด้านการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว 2 ด้านคือ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และการส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวร่วมกับการร่วมกิจกรมทางพุทธศาสนาในชุมชนเพื่อทำนายลักษณะทางศาสนา 2 ด้านและลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ 3 ด้าน พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนเป็นตัวทำนายที่มีความสำคัญที่สุด รองลงมาคือ การส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัว และการร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนตามลำดับ เยาวชน ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว 2 ด้านสูง และร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาในชุมชนมาก เป็นผู้ที่มีความเชื่อทางศาสนา มาก (ทำนายได้สูงสุด 46% ในเยาวชนจากครอบครัวเศรษฐกิจต่ำ) มีการปฏิบัติทางพุทธศาสนามาก (ทำนายได้สูงสุด 57% ในเยาวชนอายุมาก) มีพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมาก (ทำนายได้สูงสุด 70 % ในเยาวชนจากครอบครัวขยาย) และมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย (ทำนายได้สูงสุด 46 % ในเยาวชนอายุมาก) ประการที่สาม ในงานวิจัยนี้พบหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่าเยาวชนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนา ในปริมาณสูงก็มีความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมในปริมารณสูงด้วยและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยลง (ปริมาณการทำนายได้สูงสุด 61 % ในกลุ่มเยาวชนจากครอบครัวขยาย) และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มเยาวชนที่มาจากชุมชนที่มี คุณภาพต่างกันปรากฏว่า ความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาของเยาวชนเกี่ยวข้องกับความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมและพฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มเยาวชนที่มาจากชุมชนที่มีคุณภาพสูงเด่นชัดกว่าในกลุ่มเยาวชนที่มี คุณภาพต่ำในกลุมย่อย 2 กลุ่มคือ เยาวชนจากครอบครัวเศรษฐกิจต่ำและปานกลาง (ปริมาณการทำนาย 24 % กับ 19% ตามลำดับทั้งสองกลุ่ม) พบอีกว่าความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อน อย่างเหมาะ และพฤติกรรมก้าวร้าวในกลุ่มเยาวชนที่มาจากชุมชนที่มีคุณภาพต่ำเด่นชัดกว่าในกลุ่มเยาวชนที่มาจากชุมชนที่ มีคุณภาพมี 4 กลุ่ม (ปริมาณทำนาย 24 % กับ 3% ตามลำดับ ในเยาวชนอายุมาก 22% กับ 9% ตามลำดับ ในเยาวชนที่ มารดาการศึกษาปานกลาง 14% กับ 7% ตามลำดับ กับในเยาวชนที่อายุน้อยและบิดาการศึกษาปานกลาง) การวิจัยนี้มีประโยชน์คือ ชี้ให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวและลักษณะของชุมชนว่า มีความสำคัญต่อการถ่ายทอดลักษณะทางศาสนาและลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์ที่น่าปรารถนาให้แก่เยาวชนไทย ได้แก่ ความ เชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนาความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสม และการไม่ก้าวร้าว นอกจากนี้การวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นถึงประเภทของเยาวชนที่ได้รับผลดีจากการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวและลักษณะของชุมชน ซึ่งก็คือ เยาวชนจากครอบครัวขยาย เยาวชนอายุมาก เยาวชนที่บิดาการศึกษาปานกลาง และเยาวชนจากครอบครัวเศรษฐกิจ ต่ำ และมีข้อเสนอจากผลการวิจัยบางประการดังนี้ ประการแรก ในเยาวชนทั้งชายและหญิงจากครอบครัวเศรษฐกิจต่ำ ถ้าบิดามารดาให้การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน มากและส่งเสริมเป็นพุทธมามกะให้แก่บุตรมาก บุตรก็จะมีลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ที่น่าปรารถนามากด้วย นอกจากนี้บุคลากรในองค์กรของชุมชนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเยาวชนเช่น ครู พัฒนากร สาธารณสุขประจำตำบลอาจ ช่วยได้อีกทางหนึ่งด้วยการให้คำแนะนำแก่บิดามารดาในชุมชนและกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยการ ให้ความรัก ความอบอุ่น การนำบุตรเข้าใกล้ชิดศาสนา และการเป็นตัวอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา และฝ่ายครูประจำชั้นเองก็สามารถทำหน้าที่เสริมบิดามารดาในลักษณะดังกล่าวได้เป็นอย่างดีด้วย ประการที่สอง ควรอนุรักษ์ครอบครัวขยายคือ ครอบครัวที่ประกอบด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พ่อ แม่ ลูก ให้คงไว้ในสังคมชนบทเพราะบุคคลหลายช่วงอายุที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกันอาจช่วยเสริมบทบาทของบิดามารดาในการ ถ่ายทอดลักษณะทางพุทธศาสนาแก่เยาวชนได้เป็นอย่างดี | SWU | | BSRI |