ปริญญา ณ วันจันทร์. 2536. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทำงานของครู ประถมศึกษาในจังหวัดเชียงราย. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. ในการวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นครูสายผู้สอนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย จากกลุ่มโรงเรียน 8 กลุ่ม มีโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 69 โรงเรียน ได้ครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบวัด ความเชื่อทางพุทธ แบบวัดการปฏิบัติทางพุทธ แบบวัด อิทธิบาท 4 แบบวัดทัศนคติต่อวิชาชีพครู แบบวัดความเชื่ออำนาจในคน แบบวัดแรงจูงในใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดการรับรู้การ สนับสนุนจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติต่อวิชาชีพครู แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้การสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมในการทำงานและ ประสิทธิภาพในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์กันทางบวก 2. ความเชื่อทางพุทธ การปฏิบัติทางพุทธ อิทธิบาท 4 ทัศนคติต่อวิชาชีพครู ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูใจใฝ่ สัมฤทธิ์ การรับรู้การสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถร่วมกันทำนายประสทิธิภาพในการทำงานของครูได้ โดยมีทัศนคติต่อวิชาชีพครูและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรสำคัญ 3. ความเชื่อทางพุทธ การปฏิบัติทางพุทธ อิทธิบาท 4 ทัศนคติต่อวิชาชีพครู ความเชื่ออำนาจในตน และแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ร่วมกัน สามารถทำนายประสิทธิภาพในการทำงานของครูที่มีการรับรู้การสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน น้อยได้ สูงกว่าครูที่มีการรับรู้การสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมในการทำงานสูง 4. ครูที่มีอายุราชการมากและอายุราชการปานกลาง จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าครูที่มีอายุราชการน้อย 5. ครูวุฒิการศึกษาปริญญาตรีที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูสูง จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่ากลุ่มครูวุฒิการ ศึกษาปริญญาตรี ที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูต่ำ 6. ครูที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าครูที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ | SWU | | BSRI |