ยศ อัมพรรัตน์. 2536. ผลของการฝึกการอดได้รอได้และการให้แรงเสริมทางสังคมที่มีต่อ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. ในการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การดูผลการฝึกการอดได้รอได้และการให้แรงเสริมทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ทั้งในกลุ่มรวมและในกลุ่มที่จำแนกตามความเชื่ออำนาจภายในตน และตามความ เชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นนักเรียนชายหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2535 โรงเรียนวัด เสมียนนารี ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้คะแนนจากการวัดความเชื่ออำนาจภายในตน และความเชื่อที่ ถูกต้องทางสุขภาพ โดยใช้เกณฑ์ กลุ่มที่มีระดับความเชื่ออำนาจภายในตนสูง คือกลุ่มที่ได้คะแนนอยู่ใน 25% บนของกลุ่ม นักเรียนที่สอบ และกลุ่มที่มีระดับความเชื่ออำนาจภายในตนต่ำ คือกลุ่มที่ได้คะแนนอยู่ในช่วง 25 % ล่างของกลุ่มการ แบ่งกลุ่มสูงและต่ำของนักเรียนตามความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพ ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน จากแต่ละกลุ่มของนักเรียน ที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนสูงและต่ำ และความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพสูงและต่ำ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองซึ่งมี 3 กลุ่ม และเข้า กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม โดยทำให้แต่ละกลุ่มมีนักเรียน 16 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีระดับความเชื่ออำนาจภายในตนสูง 4 คน ความเชื่ออำนาจภายในตนต่ำ 4 คนระดับความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพสูง 4 คน และความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพต่ำ 4 คน รวม 4 กลุ่มมีนักเรียนทั้งหมด 64 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความเชื่ออำนาจภายในตน แบบวัดความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพ แบบวัดพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องชุดฝึกการอดได้รอได้ ชุดคู่มือในการให้แรงเสริมทางสังคม ชุดกิจกรรมของ กลุ่มที่ได้รับเฉพาะแรงเสริมทางสังคม ชุดกิจกรรมของกลุ่มที่ไม่ได้รับทั้งการฝึกการอดได้รอได้และการเสริมแรงทางสังคม กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับทั้งการฝึกการอดได้รอได้ และการให้แรงเสริมทางสังคม กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับเฉพาะการฝึกการ อดได้รอได้ กลุ่มทดลองที่ 3 ได้รับรับเฉพาะการให้แรงเสริมทางสังคม กลุ่มควบคุมไม่ได้รับทั้งการฝึกการอดได้รอได้ และการ ให้แรงเสริมทางสังคม ทำการทดลองวันละ 4 กลุ่ม สลับลำดับกันไปในตอนเช้าและบ่าย กลุ่มละ 12 ครั้งๆ ละ 20 นาที หลังสิ้นสุดการทดลองซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 12 วัน ทำการวัดพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และวัดซ้ำเพื่อติดตามผล หลังการทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง แบบสามทาง และใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ ผลการวิจัยพยว่า 1. การฝึกการอดได้รอได้ร่วมกับการให้แรงเสริมทางสังคมมีอิทธิพลทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ ถูกต้องสูงกว่านักเรียนที่มีการฝึกการอดได้รอได้ หรือมีการให้แรงเสริมทางสังคมเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และนักเรียนทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องสูงกว่า นักเรียนที่ไม่ได้รับทั้งการฝึก การอดได้รอได้และการเสริมแรงทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังคงพบผลเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น ในการติดตามผลหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ 2. นักเรียนที่มีระดับความเชื่ออำนาจภายในตนสูง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องสูงกว่านักเรียนที่มีระดับ ความเชื่ออำนาจในตนต่ำ หลังจากได้รับการฝึกการอดได้รอได้ร่วมกับการให้แรงเสริมแรงทางสังคม หรือได้รับทรีทเม้นท์ ใดเพียงทรีทเม้นท์เดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่มีระดับความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพสูง มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องสูงกว่านักเรียนที่มีระดับ ความเชื่อที่ถูกต้องทางสุขภาพต่ำ หลังจากได้รับการฝึกการอดได้รอได้ร่วมกับการให้แรงเสริมทางสังคม หรือได้รับทรีทเม้นท์ใดเพียงทรีทเม้นท์เดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | SWU | | BSRI |