วันชัย ดนัยตโมนุท. 2536. คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดปทุมธานี . ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงตัวแปร 9 ตัวแปรซึ่งแบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มตัวแปร ด้านจิตวิทยา ได้แก่ การมุ่งอนาคต ความเชื่ออำนาจใจตน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กลุ่มตัวแปรด้านพุทธศาสนา ได้แก่ สมาธิ ขันติ และอิธิบาท 4 และกลุ่มตัวแปรด้านชีวสังคม ได้แก่ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดามารดา และความมุ่งหวังของผู้ปกครอง จะเกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอย่างไร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดกรมสามัญศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2535 จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 8 ฉบับ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภูมิหลัง ของนักเรียน แบบสอบถามการมุ่งอนาคต ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สมาธิ ขันติ อิทธิบาท 4 และความมุ่งหวังของผู้ปกครอง ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีคุณลักษณะต่างๆ ตามตัวแปร 9 ตัว สูงกว่านักเรียนที่มีผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. กลุ่มตัวแปรด้านจิตวิทยาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่ากลุ่มตัวแปรด้านพุทธศาสนา และด้านชีวสังคม 3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งอนาคตกับความเชื่ออำนาจใจตน ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งอนาคตกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | SWU | | BSRI |