วีรวรรณ สุธีรไกรลาส. 2536. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการต้านทานการติดยาเสพติดของ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์) สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความสามารถในการ ทำนายและความแปรปรวนของตัวแปรด้านภูมิหลังและชีวสังคม ความภาคภูมิใจในตนเอง สุขภาพจิต การกล้าแสดงออก ทัศนคติต่อการเสพยาเสพติดและการปฏิเสธการชักจูงเรื่องยาเสพติดจากเพื่อน ซึ่งเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการต้าน ทานการติดยาเสพติดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 5 ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนสหศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบสอบถาม ลักษณะภูมิหลังและชีวสังคม แบบสอบถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง แบบ สอบถามสุขภาพจิต แบบสอบถามการกล้าแสดงออก แบบสอบถามทัศนคติต่อการเสพยาเสพติดและแบบสอบถามการ ปฏิเสธการชักจูงเรื่อง ยาเสพติดจากเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ วิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณ แบบเพิ่มตัวแปรทีละตัว และวิเคราะห์ความแปรปรวน 3 ทาง เมื่อพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe') ผลการวิจัย 1. ความภาคภูมิใจในตนเอง สุขภาพจิตและการกล้าแสดงออกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติต่อ การเสพยาเสพติดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความภาคภูมิใจในตนเอง สุขภาพจิตและการกล้าแสดงออกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิเสธการ ชักจูงเรื่องยาเสพติดจากเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความภาคภูมิใจในตนเองเพียงตัวเดียวที่สามารถทำนายทัศนคติต่อการเสพยาเสพติดได้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอำนาจในการทำนายร้อยละ 23 4.ทัศนคติต่อการเสพยาเสพติด ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติดและความภาคภูมิใจในตนเองสามารถทำนาย การปฏิเสธการชักจูงเรื่องยาเสพติดจากเพื่อนในกลุ่มนักเรียนทั้งหมดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมี อำนาจในการทำนายร้อยละ 41.27, 20.89 และ 15.23 ตามลำดับ 5. ทัศนคติต่อการเสพยาเสพติด ความภาคภูมิใจในตนเอง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติดระดับเศรษฐกิจ ของครอบครัวและสุขภาพจิต บางตัวสามารถทำนายการปฏิเสธการชักจูงเรื่องยาเสพติดจากเพื่อนได้ โดยเโฉพาะในกลุ่ม นักเรียนชายและหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับเศรษฐกิจของครอบครัวและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ระดับเศรษฐกิจของครอบครัวปานกลางมีสุขภาพจิตไม่ดี และกล้าแสดงออกน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ 7. นักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติดน้อยมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการ เสพยาเสพติดน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ 8. นักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติดน้อย มีการปฏิเสธ การชักจูงเรื่องยาเสพติดจากเพื่อนน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ | SWU | | BSRI |