สุริยะ พันธ์ดี. 2536. ความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียนกับ จิตลักษณะและพฤติกรรมก้าวร้าวในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียน กับจิตลักษณะและพฤติกรรมก้าวร้าวในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จุดมุ่งหมายทางการวิจัย มี 4 ประการ ประการแรก เพื่อทราบว่านักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียนต่างกัน จะมีลักษณะทางพุทธศาสนาจิตลักษณะและ พฤติกรรม ก้าวร้าวต่างกันหรือไม่ ประการที่สอง เพื่อทราบว่านักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียน แตกต่างกันจะ มีลักษณะทางพุทธศาสนาต่างกันหรือไม่ ในนักเรียนประเภทใดและมาจากครอบครัวประเภทใด ประการที่สาม เพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพุทธศาสนากับจิตลักษณะบางประการของนักเรียนที่มาจากครอบครัวและโรงเรียน ประเภทต่างๆ ประการที่สี่ เพื่อหาตัวทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวจากลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียน การถ่ายทอดทาง พุทธศาสนาในโรงเรียน และจิตลักษณะบางประการของนักเรียนที่มีลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2,3,4 และ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2535 จากโรงเรียนที่เน้นพุทธศาสามาก 2 โรง และน้อย 2 โรง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 540 คน อายุ โดยเฉลี่ย 14.47 ปี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาภาคสนาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็นประเภทคือ (1) ตัวแปรทางด้านการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ ประเภทโรงเรียนที่เน้นพุทธศาสนา การได้รับ ประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียน และการมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางพุทธศาสนาวัดโดยการประเมินการจัดประสบการณ์ ทางพุทธศาสนาของโรงเรียน และแบบวัดการได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียน แบบวัดการมีครูเป็นแบบอย่างที่ ดีทางพุทธศาสนา โดยให้นักเรียนเป็นผู้ตอบ (2) ลักษณะทางพุทธศาสนา 2 ด้าน วัดโดยแบบวัดความเชื่อและการปฏิบัติทาง พุทธศาสนา (3) ลักษณะทางจิต 4 ด้าน วัดโดยแบบวัดการรับรู้คุณค่าของศาสนา แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตน แบบวัดทัศนคติที่ดีต่อการก้าวร้าว แบบวัดทัศนคติที่ดีต่อประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียน (4) พฤติกรรมก้าวร้าว วัดโดยแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว (5) ตัวแปรทางด้านชีวสังคมและภูมิหลังของนักเรียนวัดโดยแบบสอบบถามภูมิหลัง การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง (Three-way Analysis of Variance) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ และศึกษาความสัมพันธ์ (Pearson' s Product-Monent Correlation Coefficient) ระหว่างตัวแปรต่างๆ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ที่สำคัญมี 5 ประการ ประการแรก พบว่า นักเรียนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธมาก ปรากฏในนักเรียนที่ครูเป็นแบบอย่างที่ ดีทางพุทธศาสนามาก นักเรียนที่ได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียนมากและนักเรียนที่มีทัศนคติที่ดีต่อประสบการณ์ ทางพุทธศาสนาในโรงเรียนมาก ประการที่สอง นักเรียนที่มีการรับรู้คุณค่าของศาสนาสูง และมีลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมคนสูง คือ นักเรียนที่มีครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางพุทธศาสนามาก และนักเรียนที่ประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียนมาก โดยเฉพาะใน นักเรียนที่อายุมากหรือนักเรียนชั้นมัธยมปลายและนักเรียนที่บิดาการศึกษาต่ำจากโรงเรียนที่เน้นพุทธศาสนามาก และพบว่า มีการรับรู้คุณค่าของศาสนาสูง และมีลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตนสูงในนักเรียนที่เน้นพุทธศาสนาน้อย โดยรวมด้วย ประการที่สาม คือ นักเรียนที่มีทัศนคติที่ดีต่อการก้าวร้าวน้อย และมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย คือ นักเรียนที่มีครูเป็น แบบอย่างที่ดีทางพุทธศาสนามาก นักเรียนที่มีทัศนคติที่ดีต่อประสบการณ์ทางพุทธศาสนาในโรงเรียนมาก ทั้งในกลุ่มรวมและ กลุ่มย่อยที่เด่นชัดคือ กลุ่มนักเรียนที่บิดาการศึกษาต่ำ ประการที่สี่ คือ ความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา การรับรู้คุณค่าของศาสนา ลักษณะมุ่งอนาคต และการควบคุมและทัศนคติที่ไม่ดีต่อการก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อกัน แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมก้าวร้าว โดยกล่าวได้ว่านักเรียนที่มีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนามาก มีการรับรู้คุณค่าของศาสนาสูง มีลักษณะมุ่งอนาคตและ การควบคุมตนสูงมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการก้าวร้าวมาก และมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย ประการที่ห้า คือ จิตลักษณะทั้งสามตัวคือ ทัศนคติที่ดีต่อการก้าวร้าว ลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตน และการรับรู้คุณค่าของศาสนา เป็นตัวทำนายพฤติกรรมก้าวร้าว โดยรวมอย่างชัดเจน โดยทำนายได้ 38 % และพบว่า ทัศนคติที่ดีต่อการก้าวร้าวเป็นตัวทำนายที่สำคัญที่สุดของพฤติกรรมก้าวร้าว และพบว่าจิตลักษณะทั้งสามร่วมกันทำนาย พฤติกรรมก้าวร้าวได้สูงสุดในนักเรียนที่อยู่ในโรงเรียนที่เน้นพุทธศาสนาน้อย โดยทำนายได้ 48 % การวิจัยนี้มีประโยชน์คือ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาในโรงเรียน โดยเฉพาะการเป็น แบบอย่างที่ดีทางพุทธศาสนาของครู ว่ามีความสำคัญต่อลักษณะทางพุทธศาสนา จิตลักษณะและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน และยังชี้ให้เห็นถึงบทบาทของครอบครัวและโรงเรียนในการส่งเสริมให้นักเรียนมีลักษณะทางพุทธศาสนาที่เหมาะสม และการวิจัยนี้ก็ให้ผลที่เสนอแนะสำคัญคือ เสนอการใช้วิธีการทางพุทธศาสนาในการพัฒนาเด็กนักเรียน ทั้งในด้านจิตลักษณะ และการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวให้กับนักเรียนให้กับนักเรียนในโรงเรียน | SWU | | BSRI |