อภิญญา โพธิ์ศรีทอง. 2536. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุของ พยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. ในการวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ คือ ความใกล้ชิดธรรมะ ความเชื่อ ทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา เหตุผลเชิงจริยธรรม ทัศนคติต่ออาชีพพยาบาล สุขภาพจิต และการรับรู้ การ สนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุของพยาบาล และศึกษาผลร่วมกันระหว่างความใกล้ชิดธรรมะกับ ลักษณะทางชีวสังคมภูมหลังที่มีต่อ พฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ทำหน้าที่พยาบาล ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ จากโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิศสิน โรงพยาบาลพรัตน์ราชธานี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วย แบบวัดความใกล้ชิดธรรมะ แบบวัดความ แบบวัดความเชื่อทางพุทธศาสนา แบบวัดการปฏิบัติทางพุทธศาสนา แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบวัด ทัศนคติต่ออาชีพพยาบาล แบบวัดสุขภาพจิต แบบวัดการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดพฤติกรรมการพยาบาล ผู้ป่วยสูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นและแบบรวม การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อทางพุทธศานา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา เหตุผลเชิงจริยธรรมทัศนคติต่ออาชีพพยาบาล สุขภาพจิตและการรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุทั้งใน กลุ่มรวมและกลุ่มย่อยได้ 17-25 % โดยในกลุ่มรวมทำนายได้ 19 % กลุ่มพยาบาลที่มีอายุน้อยสามารถทำนายได้สูงสุด 25 % และในกลุ่มพยาบาลเทคนิคทำนายได้ต่ำสุด 17% 2. ตัวแปรที่สำคัญที่สามารถทำนายพฤติกรรมการพยาบาลทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การปฏิบัติทางพุทธศาสนา การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม เหตุผลเชิงจริยธรรม ทัศนคติต่ออาชีพพยาบาลและความเชื่อ ทางพุทธศาสนา ตามลำดับ ส่วนสุขภาพจิตไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญ 3. ในกลุ่มพยาบาลที่มีความใกล้ชิดธรรมะมาก ตัวทำนายพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ ที่สำคัญคือ การปฏิบัติทางพุทธศาสนาโดยทำนายได้ 11% 4. ในกลุ่มพยาบาลที่ใกล้ชิดธรรมะน้อย ตัวทำนายพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วย สูงอายุที่สำคัญได้แก่ เหตุผล เชิงจริยธรรม ความเชื่อทางพุทธศาสนา และทัศนคติต่ออาชีพพยาบาล ตามลำดับ สามารถร่วมกันทำนายได้ 14% 5. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ของความใกล้ชิดธรรมะกับลักษณะทางชีวสังคม-ภูมิหลัง คือ ระดับของพยาบาล อายุ สถานภาพสมรส และระยะเวลาในการทำงาน ในการศึกษาพฤติกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุ 6. พยาบาลที่มีความใกล้ชิดธรรมะแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุต่างกันโดยพยาบาลที่มีความ ใกล้ชิดมากจะมีพฤติกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุที่ดีกว่า ผู้ที่มีความใกล้ชิดธรรมะน้อย 7. พยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเทคนิค มีพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุแตกต่างกัน โดยพยาบาลวิชาชีพ มีพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่ดีกว่าพยาบาลเทคนิค 8. ระยะเวลาในการทำงานของพยาบาล มีผลต่อพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ โดยพยาบาลที่มีระยะเวลา ในการทำงานมากจะมีพฤติกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่ดีกว่าพยาบาลที่มีระยะเวลาในการทำงานน้อย | SWU | | BSRI |