วัตถุประสงค์ ในการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การพัฒนาพฤติกรรมรักการอ่านเลือกอ่านแต่เนื้อหา ที่มีคุณค่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นนักเรียนชายหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนบ้าน กำแพงเพชร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ที่ได้คะแนนจากการวัดระดับมุ่งอนาคต คิดคะแนนเฉลี่ยรวมของกลุ่ม คะแนนสูงกว่าแสดงว่า มีระดับมุ่งอนาคตสูง คะแนนต่ำกว่าแสดงว่ามีระดับมุ่งอนาคตต่ำ สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่มุ่งอนาคตสูงชาย 5 คน หญิง 5 คน มุ่งอนาคตต่ำ ชาย 5 คน หญิง 5 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 60 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยมาตรวัดลักษณะมุ่งอนาคตมาตรวัดพฤติกรรมรักการอ่าน แบบสอบถามภูมิหลังและตัวแบบ กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับตัวแบบการ์ตูนชีวประวัติ กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับตัวแบบบทความ ชีวประวัติ กลุ่มควบคุมได้รับชีวประวัติบรรยาย ทำการทดลองวันละ 1 กลุ่ม สลับกันไป กลุ่มละ 6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที หลังสิ้นสุดการทดลองทำการวัดพฤติกรรมรักการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง แบบสามทาง และใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของนิวแมน คูลส์ เมื่อพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล 1. ตัวแปรลักษณะส่วนบุคคล คือ ลักษณะมุ่งอนาคตที่แตกต่างกัน ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมรักการอ่าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่มีระดับมุ่งอนาคตสูง มีพฤติกรรมรักการอ่านสูงกว่านักเรียน ที่มีระดับมุ่งอนาคตต่ำ 2. ตัวแปรตัวแบบ 3 ลักษณะได้แก่ ตัวแบบการ์ตูนชีวประวัติ ตัวแบบบทความชีวประวัติ และชีวประวัติบรรยาย ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมรักการอ่านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่าวิธีการทั้งสามวิธีทำให้พฤติกรรม รักการอ่านของนักเรียนไม่แตกต่างกัน 3. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตกับตัวแบบ 3 ลักษณะ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่าลักษณะมุ่ง อนาคตและตัวแบบ 3 ลักษณะ ส่งผลต่อพฤติกรรมรักการอ่านโดยอิสระต่อกัน