วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ ของการใช้สารชักจูง ในการ ยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษา ประการแรก เพื่อศึกษาปริมาณการใช้ชุดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ประการที่สอง เพื่อศึกษาการใช้สารชักจูงให้ครูเกิดความตั้งใจที่จะใช้ชุดการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ ตามลักษณะปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมมาแต่เดิม ด้านจิตลักษณะและด้านชีวสังคม ภูมิหลัง และประเภท โรงเรียนของครู นำมาเป็นสาเหตุประกอบการทำนายปริมาณความตั้งใจที่จะใช้นวัตกรรม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยนี้เป็นข้าราชการครูจำนวน 200 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการ ศึกษา 12 จำนวน 32 โรง ซึ่งทำหน้าที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 ขนาด คือ โรงเรียนขนาดกลาง 67 คน (32.5%) โรงเรียนขนาดใหญ่ 68 คน (34%) และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 65 คน (32.5%) ครูแต่ละโรงเรียน ได้ถูกจัดเข้าสภาวะของการใช้สารชักจูง และสภาวะของการไม่ใช้สารชักจูงโดยวิธีการสุ่มสารชักจูง และสารควบคุม ให้กับกลุ่มตัวอย่างแบบ Random Assignment คือ แจกสารชักจูงและสารควบคุมสลับกันไปจนครบตามจำนวน ครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะแบ่งครูออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 100 คน เพื่อศึกษาสารชักจูงที่มีลักษณะเป็นบทความทางวิชาการ ที่มีเนื้อหาถูกกำหนดขึ้นตามแนวในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับนวัตกรรมของโรเจอร์ และทฤษฏีต้นไม้จริยธรรม ที่เขียนขึ้นอย่างเป็นระบบตามมตรฐานของสารชักจูง จำนวน 3 บทความ โดยใช้เวลาในการอ่านประมาณ 125 นาที อ่านเสร็จแล้วจะทำการวัดความตั้งใจที่จะใช้นวัตกรรมทันที เครื่องมือที่ใช้ ในการวัดตัวแปรต่าง ๆ ในการวิจัยนี้มี 8 ชนิด คือ (1) แบบสอบลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลัง และ ประเภทโรงเรียน (2) แบบวัดพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมแต่เดิม (3) แบบวัดทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู (4) แบบวัดทัศนคติ ที่ดีต่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ (5) แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน (6) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (7) แบบวัดการรับรู้การ สนับสนุนทางสังคม และ (8) แบบวัดความตั้งใจที่จะใช้นวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยนี้ได้กระทำหลายวิธี คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน แฟคทอเรียล และการวิเคราะห์แบบ ถดถอยพหุคูณเป็นขั้น เป็นการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานทั้ง 6 ข้อ สำหรับการวิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ เป็นการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน เพื่อศึกษาผลการวิจัยให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นการวิเคราะห์กระทำ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่แบ่งตามลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลัง และประเภทโรงเรียนของครูผู้ตอบ สรุปผล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ประการหนึ่ง การใช้สารชักจูงทำให้ครูมีความตั้งใจที่จะใช้นวัตกรรมสูงขึ้นในครูบางประเภท คือ ก) ครูที่ไม่อยู่ ในโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรที่มีความพร้อมทางจิตมาก หรือมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครูมาก ประการที่สอง ครูที่มีความตั้งใจที่จะใช้ นวัตกรรมสูง เมื่อได้รับสารชักจูง คือ ครูที่อายุน้อย และมีพฤติกรรม การใช้นวัตกรรมมาแต่เดิมบ้าง ข) ครูที่มีความพร้อมทางจิตมากและอยู่ในโรงเรียนที่ไม่เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการ ใช้หลักสูตร ประการที่สาม จิตลักษณะ 5 ด้าน คือ ทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู ทัศนคติที่ดีต่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ความเชื่อ อำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมมาแต่เดิมร่วมกัน ทำนายความตั้งใจที่จะใช้นวัตกรรมในครูที่ได้รับสารชักจูงได้มากกว่าในครูที่ไม่ได้รับสารชักจูงโดยมีทัศนคติที่ดี ต่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมแต่เดิมเป็นตัวทำนาย ประการสุดท้าย ครูที่มีพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมมาแต่เดิมมาก คือ ครูอายุน้อยที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครูมาก และสอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ เฉพาะในกลุ่มควบคุม