วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มุ่งศึกษาตัวแปรทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับนวัตกรรมทางการสอนแบบ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนของครูมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตการศึกษา 1 โดยมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน และพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นที่สอนวิชาสังคมศึกษา (2) เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน กับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยนี้สุ่มเลือกจากครูสายงานปฎิบัติการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้นของเขตการศึกษา 1 จากโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัด ปทุมธานี จำนวน 200 คน เป็นครูชาย 101 คน ครูหญิง 99 คน เป็นครูอายุน้อย (23-37 ปี) จำนวน 103 คน ครูอายุมาก (38 - 57 ปี) จำนวน 97 คนอายุเฉลี่ยของครูกลุ่ม ตัวอย่างนี้เท่ากับ38 ปี เป็นครูที่ทำการสอนอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่จำนวน 136 คน โรงเรียนขนาดกลาง 50 คน และโรงเรียนขนาดเล็ก 14 คน ตัวตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้มี 3 กลุ่มคือ (1) การยอมรับนวัตกรรมทางการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็นการยอมรับนวัตถกรรมในระดับจิตใจ ได้แก่ ความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียน เป็นศูนย์กลางในการเรียน และการยอมรับนวัตกรรมในระดับพฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียน เป็นศูนย์กลางในการเรียน (2) ตัวแปรด้านจิตลักษณ์ ได้แก่ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน? การรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่ม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออำนาจภายในตน การรับรู้การสนับสนุนจากสังคม (3) ตัวแปรด้านชีวสังคม-ภูมิหลังของครู ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาที่ทำการสอน ขนาดโรงเรียนและปริมาณความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมทางการสอน? การวิเคราะห์ข้อมูล ในงานวิจัยนี้กระทำหลายวิธี ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (2) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (3) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สรุปผล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ครูหญิงอายุมากมีการยอมรับนวัตกรรมในระดับจิต คือ มีความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียน เป็นศูนย์กลางในการเรียนสูงกว่าครูกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูชายอายุมากครูชายที่ทำการสอนอยู่ในโรงเรียนขนาดกลาง มีการยอมรับนวัตกรรมในระดับพฤติกรรม คือ พฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนสูงกว่าครูกลุ่ม อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูชายที่ทำการสอนอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่นอกจากนี้ยังพบว่า ครูหญิงที่มีระยะเวลาที่ทำการ สอนมากมีพฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนสูงกว่าครูในกลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย 2. พบว่าปริมาณความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทางการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนมีความสัมพันธ์ กับการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน?ในระดับจิตและระดับพฤติกรรมกล่าวได้ว่าครูที่มีปริมาณความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมทาง การสอน? สูง จะมีการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน? ทั้งระดับจิตและระดับพฤติกรรมสูงด้วย 3. พบว่าตัวแปรทัศนคติต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน?และการรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่มสามารถ ร่วมกันทำนายความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนได้22%โดยตัวแปรการรับรู้ บรรทัดฐานของกลุ่มเป็นตัวแปรที่มีน้ำหนักในการทำนายความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนมากกว่าตัวแปรทัศนคติต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน? ในการทำนายพฤติกรรมการสอน แบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนพบว่า การรับรู้บรรทัดฐานของกลุ่มเป็นตัวแปรเพียงตัวเดียวที่ทำนายพฤติกรรม การสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนได้ 9% นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรความตั้งใจที่จะกระทำการสอน ด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางใน การเรียนในระดับที่เชื่อมั่นได้ ผลการวิจัยสองในสามส่วนสนับสนุนทฤษฏีการกระทำอย่างมีเหตุผล 4. เมื่อใช้ตัวแปรทางจิตลักษณ์อีก 3 ตัวแปร คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออำนาจภายในตนและการรับรู้การ สนับสนุนจากสังคม ร่วมกับตัวแปรทัศนคติต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน?และการรับรู้บรรทัดฐาน ของกลุ่มในการทำนายการยอมรับนวัตกรรมทางการสอน? ทั้ง 2 ระดับ ปรากฎว่า สามารถเพิ่มอำนาจในการทำนาย ความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนได้สูงขึ้นจาก 22% เป็น 45% และร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนได้สูงจาก 9% เป็น 26% นอกจากนี้ยังพบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรที่เข้าทำนายความตั้งใจที่จะกระทำการสอนด้วยวิธีเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนได้ เป็นอันดับแรกและทำนายได้ 21%การรับรู้การรับสนุนจากสังคมเข้าทำนายพฤติกรรมการสอนแบบเน้นนักเรียนเป็น ศูนย์กลางในการเรียนได้เป็นอันดับแรก และทำนายได้ 22 %