วัตถุประสงค์ ในการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ต้องการศึกษาว่าการฝึกอบรมทางศาสนาสามารถ เปลี่ยนจิตลักษณะวินัยในตนเอง ทัศนคติต่อพุทธศาสนา ทัศนคติเชิงจริยธรรมและการรับรู้ต่อการละเมิดศีลห้าให้สูงขึ้น ได้หรือไม่นอกจากนี้มีลักษณะส่วนบุคคลใดบ้างที่มีส่วนช่วยส่งเสริมการฝีกอบรมทางศาสนาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยน จิตลักษณะดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษาเป็นนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 5 และ 6 ปีการศึกษา 2533 จากโรงเรียนวัดม่วง โรงเรียนเพชรเกษม และโรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์) จำนวน 100 คนโดยแบ่งเป็นผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม ทางศาสนาจำนวน 50 คน และผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนาจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยนี้ประกอบด้วยแบบวัดวินัยในตนเอง แบบวัดทัศนคติต่อพุทธศาสนาแบบวัดทัศนคติ เชิงจริยธรรม แบบวัดการรับรู้ต่อการละเมิดศีลห้า แบบวัดความสามารถในการปรับตัวแบบวัดปริมาณการได้รับการถ่ายทอด ทางศาสนาจากครอบครัว แบบวัดความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา และแบบวัดลักษณะทางชีวสังคม ซึ่งแบบวัด 4 ฉบับแรกใช้ วัดคัวแปรตามของการวิจัยนี้ โดยทำการวัดทั้งก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนา ส่วนแบบวัด 4 ฉบับหลัง ใช้วัด ตัวแปรอิสระโดยทำการวัดก่อนเข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนานำข้อมูลที่ได้จากการวัดก่อนและหลังการฝึกอบรมมาทำเป็น คะแนนความเปลี่ยนแปลงการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติค่าทีแบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระ และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบสองทาง แบบสามทางและใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยเชฟเฟ่เมื่อพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล 1. กลุ่มที่เข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนามีการเปลี่ยนแปลงวินัยในตนเอง ทัศนคติต่อพุทธศาสนาและการรับรู้ต่อ การละเมิดศีลห้าสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนา 2. ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความสามารถในการปรับตัวต่ำ มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อพุทธศาสนาด้านรวม และด้านบทบาทของวัดและพระสง?์สูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความสามารถในการปรับตัวต่ำ 3. ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อพุทธศาสนา สูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากโดยพบเฉพาะกลุ่มที่ครอบครัวมีฐานะ ทางเศรษฐกิจปานกลาง 4. ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่บิดามีระดับการศึกษาสูงมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อพุทธศาสนาด้านหลักธรรม ทางศาสนาสูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่บิดามีการศึกษาต่ำพบเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจาก ครอบครัวมาก 5. ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิง จริยธรรมสูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมและได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากเฉพาะกลุ่มที่ครอบครัว มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง 6.ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ คือ การละเมิดศีลห้าสูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวน้อยเฉพาะกลุ่มที่ครอบครัว มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง 7.ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อการ ละเมิดศีลห้าสูงกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่ได้รับการถ่ายทอดทางศาสนาจากครอบครัวมากเฉพาะกลุ่มที่ครอบครัว มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ 8. ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนาที่ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ต่อ การละเมิดศีลห้ามากกว่าผู้ที่ไม่เข้ารับการฝึกอบรมที่ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเฉพาะผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดทาง ศาสนาจากครอบครัวมาก